Page 27 - ลักษณะภาษาไทย
P. 27
วลแี ละอนุประโยคในภาษาไทย 4-17
สรปุ ว่าลกั ษณะสาคัญท่ที าให้วลีตา่ งจากคาประสมก็คอื วลสี ามารถเปลย่ี นแปลงส่วนประกอบได้
แต่คาประสมเปลี่ยนแปลงส่วนประกอบไม่ได้ มีข้อพึงสังเกตว่า คาประสมทุกคาเป็ นวลี แต่ไม่ใช่ทุกวลีจะ
เป็ นคาประสม เช่น ประโยคที่ว่า ลูกหาบกาลังหยุดพักรับประทานอาหาร คาว่า ลูกหาบ เป็น
คาประสมท่ีมีความหมายว่า “ผู้รับจ้างหาบหามสัมภาระเดินทางในท่ีทุรกันดาร” และขณะเดียวกัน
ลูกหาบ ก็เปน็ นามวลีท่ที าหนา้ ทีเ่ ปน็ ประธานของประโยคดว้ ย
กจิ กรรม 4.1.1
1. วิธีการศึกษาวลีของทฤษฎีไวยากรณ์ด้ังเดิมและไวยากรณ์โครงสร้างมีความแตกต่างกัน
อย่างไรบ้าง
2. ความหมายวลีในทฤษฎีไวยากรณ์ดั้งเดิมต่างจากความหมายของวลีในไวยากรณ์โครงสร้าง
ในประเด็นใด
3. ทฤษฎีไวยากรณ์โครงสร้างซึ่งศึกษาภาษาตามวิธกี ารทางภาษาศาสตร์ให้ความหมายของวลี
ว่าอย่างไร
4. วลตี า่ งจากคาประสมอย่างไร จงยกตวั อยา่ งประกอบ
แนวตอบกจิ กรรม 4.1.1
1. วิธีการศึกษาวลีตามแนวคิดของทฤษฎีไวยากรณ์ดั้งเดิมและไวยากรณ์โครงสร้างมีความ
แตกต่างกนั ดงั น้ี
1) ทฤษฎีไวยากรณ์ดงั้ เดมิ เน้นข้อมลู ทเ่ี ป็นภาษาเขียน สว่ นทฤษฎีไวยากรณโ์ ครงสร้างเน้น
ข้อมลู ท่ีเปน็ ภาษาพูด
2) ทฤษฎไี วยากรณ์ดั้งเดมิ ให้ความสาคัญเรอ่ื งความหมาย สว่ นทฤษฎไี วยากรณ์โครงสรา้ ง
ให้ความสาคัญเร่อื งหนา้ ที่
2. ต่างกันในเร่ืองของจานวนคา กล่าวคือ ทฤษฎีไวยากรณ์ด้ังเดิมให้ความหมายของวลีไว้ว่า
วลีเปน็ กลุ่มคาตั้งแต่ 2 คาขนึ้ ไป สว่ นทฤษฎีไวยากรณโ์ ครงสร้างให้ความหมายไว้ว่า วลีเปน็ คาคาเดียวก็
ได้ เป็นกลุ่มคากไ็ ด้ แตต่ ้องทาหน้าที่ในประโยค
3. ทฤษฎีไวยากรณ์โครงสร้างให้ความหมายของวลีว่า วลี หมายถึง หน่วยทางภาษาที่อยู่
ระหวา่ งคา (word) กบั อนุประโยค (clause) ใชเ้ ปน็ สว่ นประกอบของประโยค อาจจะเป็นคาคาเดียวหรือ
เป็นกลมุ่ คาก็ได้