Page 22 - ลักษณะภาษาไทย
P. 22
4-12 ลักษณะภาษาไทย
ภาษาไทย (พรพิลาส เรืองโชตวิ ิทย,์ 2541, น. 11) อยา่ งไรก็ดีไวยากรณด์ ั้งเดมิ กไ็ ด้บัญญัตศิ ัพทใ์ ห้ทฤษฎี
อืน่ ๆ ใช้เปน็ จานวนมากรวมถงึ ไวยากรณโ์ ครงสร้างด้วย
ไวยากรณ์โครงสร้างเป็นทฤษฎีไวยากรณ์ท่ีพัฒนาขึ้นราวต้นคริสต์ศตวรรษท่ี 20 พร้อมๆ กับ
การศึกษาภาษาเชิงวิทยาศาสตร์หรือภาษาศาสตร์ (linguistics) ได้กาเนิดข้ึน ไวยากรณ์ดั้งเดิมได้มี
อิทธิพลในการวิเคราะห์หรือการเรียนการสอนภาษาอยู่หลายศตวรรษและได้แพร่กระจายมีอิทธิพลไป
แทบท่ัวโลก สาหรับประเทศไทย ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.วิจินตน์ ภาณุพงศ์ ถือเป็นบุคคลแรกท่ีนา
ไวยากรณ์โครงสร้างมาใช้วิเคราะห์ภาษาไทยและถือเป็น ผู้บุกเบิกวิชาภาษาศาสตร์สมัยใหม่ขึ้นใน
ประเทศไทยด้วย
ไวยากรณ์โครงสร้างเน้นการวิเคราะห์ภาษาอย่างเป็นวิทยาศาสตร์ เน้นภาษาพูด เน้นรูปภาษา
มากกว่าความหมาย ส่ิงสาคัญที่สุดในไวยากรณ์โครงสร้างก็คือ โครงสร้าง ซ่ึงหมายถึงวิธีท่ีส่วนต่างๆ
รวมกันเปน็ หนว่ ยสร้าง หรือการทห่ี น่วยเล็กรวมตวั กนั เป็นหน่วยทใี่ หญ่ขึ้น ดังน้ันไวยากรณ์โครงสรา้ งจงึ
เน้น ช้ัน (layer) หรือ ระดับ (level) ของหน่วยต่างๆ เรียงจากเล็กไปหาใหญ่หรือต่าไปหาสูง (อมรา
ประสทิ ธริ์ ฐั สินธุ์ ยุพาพรรณ หนุ่ จาลอง และสรัญญา เศวตมาลย์, 2544, น. 124) ดังภาพที่ 4.1
ภาพที่ 4.1 แผนภูมหิ น่วยของภาษา (Linguistic Units)
ทม่ี า: ดัดแปลงจาก สมทรง บุรษุ พัฒน์ (2536, น. 9).