Page 19 - ลักษณะภาษาไทย
P. 19
วลีและอนปุ ระโยคในภาษาไทย 4-9
เร่ืองท่ี 4.1.1
ความหมายของวลี
ในเรื่องน้ีจะกล่าวถึงความหมายของวลีตามไวยากรณ์ดั้งเดิมและไวยากรณ์โครงสร้าง เพ่ือให้
เห็นถงึ การใหค้ วามหมายของ วลี ตัง้ แต่อดตี จนถงึ ปจั จบุ นั
1. ความหมายของวลตี ามไวยากรณ์ด้งั เดมิ
ตาราเรียนภาษาไทยในสมัยโบราณหรือยุคก่อนปฏิรูปการศึกษาไม่ได้กล่าวถึงวลี อนุประโยค
หรือประโยคมาก่อน การศึกษาภาษาไทยสมัยนั้นมักเน้นการสอนเรื่องอักขรวิธีและฉันทลักษณ์เสียเป็น
ส่วนมาก (สุนันท์ อัญชลีนุกูล, 2548, น. 312) ภายหลังเมื่อมีการปฏิรูปการศึกษาไทยในสมัย
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลท่ี 5 ตั้งแต่ พ.ศ. 2414 เป็นต้นมา จึงเร่ิมมีการกล่าวถึง
เรอื่ งวลี อนุประโยค และประโยคในตาราหลกั ภาษาไทย
วลี เป็นศัพท์บัญญัติแทนคาว่า phrase ในภาษาอังกฤษ มาจากภาษาบาลีและสันสกฤตว่า วลิ
หรือ วลี ในภาษาบาลี วลิ แปลว่า “สาย, เส้น, สายสร้อย” ส่วนภาษาสันสกฤต วลิ หรือ วลี แปลว่า
“รอยเป็นแนวยาวเหนือท้องส่วนบนซึ่งเป็นสัญลักษณ์ความงามของสตรี” (วิจินตน์ ภาณุพงศ์ และ
อนันต์ เหล่าเลิศวรกุล, 2561, น. 3) เหตุที่แปล phrase ว่า วลี น่าจะเป็นเพราะนักไวยากรณ์ดั้งเดิม มี
ความเห็นว่าวลีจะต้องเป็นกลุ่มคาต้ังแต่ 2 คาข้ึนไปเรียงร้อยต่อเน่ืองกันเป็นเส้น สาย หรือเป็น
ดงั สายสรอ้ ยน่ันเอง
แบบเรียนภาษาไทยท่ีปรากฏคาว่า วลี เป็นครั้งแรกน่าจะได้แก่หนังสือสยามไวยากรณ์
ตอนท่ี 2 วจวี ภิ าค ของกรมศึกษาธกิ าร พิมพเ์ ผยแพร่เมอ่ื พ.ศ. 2444 มีคาอธบิ ายของวลไี วว้ ่า
วลี หมายถึง คาท่ีเรียบเรียงกล่าวแต่ความเป็นกลาง ไม่ปรากฏว่าผู้ใดทา ไม่ลงความ
ชัดว่าเพียงใด เช่น หนาวลมจะห่มผ้า หนาวฟ้าจะผิงไฟ วรรคแต่ละวรรคเรียกว่า วลี เพราะ
ไม่ได้ความชัดเจนว่า ใครหนาว ใครผิงไฟ เป็นต้น ส่วนประโยค คือ คาเรียบเรียงกัน ได้
ความว่า ใครทาอะไร เชน่ กล่าววา่ ม้ากินหญา้ ท่านไปไหนมา ฉนั หนาวลมจะหม่ ผ้า เป็นต้น
(กรมศึกษาธิการ, 2444 น. 4 อา้ งถงึ ใน สนุ ันท์ อญั ชลนี ุกูล, 2548, น. 157)