Page 24 - ลักษณะภาษาไทย
P. 24
4-14 ลกั ษณะภาษาไทย
วลีเป็นหน่วยสร้างที่เป็นส่วนของประโยค ประกอบด้วยคา 1 คาหรือมากกว่า 1 คา ใน
หน่วยสร้างเข้าศูนย์ (endocentric construction) วลีต้องมีส่วนหลักเสมอ อาจมีส่วนรอง/
ส่วนขยายหรือไม่ก็ได้ นามวลีมีส่วนหลักเป็นคานาม เช่น หนังสือ ใน หนังสือในตู้ กริยาวลีมี
ส่วนหลักเป็นคากริยา เช่น ว่ิง ใน วิ่งในสนาม ในหน่วยสร้างไร้ศูนย์ (exocentric
construction) เช่น บุพบทวลี ซึ่งประกอบด้วยบุพบทและนามวลี ท้ัง 2 ส่วนถือเป็นส่วนหลกั
เชน่ ใน และ สนาม ใน วิ่งในสนาม ถอื เปน็ ส่วนหลักทัง้ คู่
(ราชบณั ฑติ ยสภา, 2560, น. 336)
จากความหมายของวลีตามแนวไวยากรณ์โครงสร้างซ่ึงเป็นการศึกษาตามแนวภาษาศาสตร์ท่ี
ยกมาข้างตน้ พอจะสรุปไดด้ ังนี้
1. ด้านโครงสร้าง วลีสามารถประกอบดว้ ยคา 1 คาหรอื มากกวา่ 1 คาก็ได้
2. ด้านหน้าที่ วลีทาหน้าที่เป็นส่วนใดส่วนหน่ึงของประโยค ได้แก่ ทาหน้าที่เป็นภาคประธาน
ภาคแสดง และส่วนขยาย
3. ด้านความหมาย แม้ว่าไวยากรณ์โครงสร้างจะมองว่าภาษาประกอบดว้ ยส่วนประกอบ 2 ส่วน
คือ รูปภาษา (ตาแหนง่ และหนา้ ที่) และความหมายก็จริง แตส่ ่วนทจี่ ะศกึ ษาอยา่ งเปน็ วทิ ยาศาสตร์ไดน้ ้ัน
ได้แก่ รูปภาษา และต้องเป็นรูปภาษาท่ีปรากฏเท่านั้น เพราะเป็นรูปธรรมสังเกตได้โดยตรง ส่วนเรื่อง
ความหมายนั้นถือว่าเรายงั ศกึ ษาโดยตรงไมไ่ ดแ้ ละเรายังมคี วามรูไ้ ม่เพยี งพอ จงึ ยงั ไม่ควรนามาเปน็ หลัก
ในการพิจารณาวเิ คราะห์ภาษา (วิจินตน์ ภาณุพงษ์, 2525, น. 111) วิจินตน์ ภาณุพงศ์ ยังได้ขยายความ
เร่ืองนีอ้ กี ว่า
ในเรือ่ งความหมายนั้นเนอ่ื งจากเป็นเร่อื งทเี่ กย่ี วขอ้ งกบั ความรู้สกึ นึกคิด ประสบการณ์
และอ่นื ๆ อกี หลายอยา่ งของผู้พดู และผูฟ้ งั โดยเฉพาะเรือ่ งความคดิ ของคนน้ันเปน็ เรอื่ งท่ศี กึ ษา
โดยตรงไม่ได้ ยังต้องศึกษาโดยทางอ้อม เช่น การศึกษาจากการแสดงออกเป็นพฤติกรรม
เป็นต้น เมื่อความหมายเป็นเร่ืองที่สลับซับซ้อนและศึกษาโดยตรงไม่ได้ ความรู้เร่ือง
ความหมายจงึ ยงั มไี ม่มากนัก โดยเฉพาะเรอื่ งความหมายของคาท่ีเปน็ นามธรรม เช่น รกั ชอบ
โกรธ สุข ทุกข์ ซึ่งมีเป็นจานวนมากในภาษา ซึ่งเรายังมีความรู้เร่ืองความหมายน้อย เราก็ยัง
ไมค่ วรจะยดึ ความหมายเป็นหลักในการวิเคราะห์ภาษา เชน่ ในการแบง่ ชนดิ ของคา เปน็ ตน้
(วจิ นิ ตน์ ภาณพุ งศ,์ 2525, น. 4)