Page 246 - องค์การและการจัดการและการจัดการทรัพยากรมนุษย์
P. 246
6-18 องค์การและก ารจัดการและก ารจ ัดการท รัพยากรม นุษย์
จากภ าพท ี่ 6.5 สามารถอ ธิบายได้ว ่า ระบบก ารต ิดตามค วบคุมช นิดน ี้จ ะท ำการว ัดก ารเบี่ยงเบนจ ากส ิ่งน ำอ อก
และเปรียบเทียบกับมาตรฐาน หรือกล่าวอีกน ัยหนึ่งได้ว่า ผลิตภัณฑ์ที่ผ่านระบบก ารผ ลิตออกม าแล้วจ ะได้รับการว ัด
เพื่อดูว ่ามีก ารเบี่ยงเบนไปจากมาตรฐานท ี่ก ำหนดไว้ห รือไม่ ถ้าพบการเบี่ยงเบนก็อ าจท ี่จะด ำเนินการดังนี้ คือ
1. ปรับเปลี่ยนแ ผนใหม่ และ/หรือ
2. คงไว้ห รือป รับแต่งร ะบบเพื่อแ ก้ไขไม่ให้เกิดการเบี่ยงเบนขึ้นอีก
จะเห็นได้ว่าในระบบนี้จะมีการดำเนินการแก้ไขภายหลังจากที่เกิดเหตุการณ์การเบี่ยงเบนขึ้นแล้ว ระบบการ
ติดตามควบคุมชนิดนี้เป็นที่นิยมใช้กันอยู่ในองค์การทั่วไป เช่น การประเมินผลงานของพนักงานในตอนปลายปี ซึ่ง
จะมีการนำผลงานนั้นมาเปรียบเทียบกับมาตรฐานท ี่กำหนด ถ้าเกินมาตรฐานพนักงานผ ู้นั้นก็จะได้รับรางวัลเป็นการ
ตอบแทน แต่ถ ้าต่ำก ว่ามาตรฐานก็จ ะถูกท ำโทษหรือไม่ได้รับร างวัล เป็นต้น
นอกจากระบบการติดตามควบคุมพื้นฐานทั้งสองนี้แล้ว ยังมีระบบการติดตามควบคุมอีกระบบหนึ่ง
ซึ่งนักวิชาการหลายท่านได้เสนอไว้เป็นระบบการติดตามควบคุมพื้นฐานอีกระบบหนึ่ง คือ ระบบการติดตามควบคุม
ระหว่างการดำเนินการห รือระบบการติดตามควบคุมซ ึ่งต้องทำการต รวจสอบก ันเป็นร ะยะๆ
3. ระบบการติดตามควบคมุ ท ี่ตอ้ งไ ด้มกี ารผา่ นการต รวจสอบก ่อน (Yes - no หรอื Go - no - go
Controls)
ในก ารต ิดตามค วบคุมล ักษณะน ีจ้ ะม กี ารต รวจส อบด เูป็นเรื่องๆ หรือเป็นช ่วงห รือเป็นร ะยะ (สำหรับง านท ีเ่ป็น
กระบวนการ) ซึ่งหากงานมิได้ดำเนินตามเป้าหมายจะต้องแก้ไขก่อนที่จะสามารถดำเนินตามขั้นตอนต่อไป และการ
ดำเนินก ารใดๆ จะต้องข ออนุญาตแ ละได้ร ับการอนุมัติก่อนทุกครั้ง ตัวอย่างข องก ารติดตามค วบคุมลักษณะนี้ เช่น
- การตรวจสอบค ุณภาพของสินค้า
- การกำหนดมาตรฐานของคุณภาพ
- การใช้โทรศัพท์ในก ารดำเนินงานของห น่วยงานต่างๆ
- การจัดซ ื้อเครื่องจักรอ ุปกรณ์เพื่อก ารผลิต
- การเพิ่มเงินเดือนป ระจำปี
- การร ับพนักงานใหม่เข้าท ำงาน
ซึ่งจ ะเห็นได้ว ่า หากไม่มีการท ำการต ิดตามค วบคุมภารกิจเหล่าน ั้น ผลลัพธ์ที่ไม่พึงปรารถนาก็อาจเกิดข ึ้นได้
ทั้งนี้เพราะบุคคลจะมีความแตกต่างกันไปตามภูมิหลังและประสบการณ์ของแต่ละคน ดังนั้น การมองสิ่งต่างๆ ก็
ย่อมแตกต่างกันไปด้วย การติดตามควบคุมในลักษณะของการขออนุญาตก่อนจึงเป็นสิ่งจำเป็นที่จะต้องมีไว้ อนึ่ง
การติดตามค วบคุมลักษณะน ี้เป็นที่น ิยมและเป็นที่ย อมรับกันมากเพราะเป็นการส ร้างความม ั่นใจให้กับผ ู้บริหารได้ว ่า
งานจ ะด ำเนนิ ไปด ว้ ยด ี และเปน็ การส นบั สนนุ ค วามเชือ่ ข องผ บู้ รหิ ารท วี่ า่ เมือ่ ก า้ วส งู ข ึน้ ไปเรือ่ ยๆ ตามส ายก ารบ งั คบั บ ญั ชา
ของอ งค์การห นึ่งอ งค์การใด กจ็ ะพ บว ่าร ะดับส มองห รือค วามส ามารถในก ารต ัดสินใจจ ะม มี ากข ึ้นต ามล ำดับ อย่างไรก ด็ ี
ทฤษฎีนี้ยังมีผู้แย้งว่าไม่เป็นความจริงเสียทีเดียว เพราะบางครั้งอาจจะพบว่าความรู้เกี่ยวกับข้อเท็จจริงหรือสภาวะ
แวดล้อมของปัญหาจะมีแนวโน้มที่จะลดลงเมื่อการตัดสินใจในปัญหากระทำที่จุดที่ไม่ได้เกิดปัญหาจริงๆ ดังนั้น
การติดตามควบคุมในลักษณะนี้จะมีประสิทธิภาพก็ต่อเมื่อผู้ทำการตัดสินใจมีความรู้เกี่ยวกับสภาวะแวดล้อมของ
ปัญหานั้นจ ริงๆ
ลขิ สทิ ธิ์ของมหาวิทยาลัยสุโขทยั ธรรมาธิราช