Page 275 - องค์การและการจัดการและการจัดการทรัพยากรมนุษย์
P. 275
การติดตามค วบคุม 6-47
การค ำนวณหาจ ดุ ส ัง่ ซ อ้ื
การคำนวณหาจุดสั่งซื้อเป็นเทคนิคของระบบการติดตามควบคุมสินค้าที่จะบอกให้เราทราบได้ว่าจะต้องสั่ง
ซื้อค รั้งต่อไปเมื่อใด ในก ารค ำนวณห าจ ุดส ั่งซื้อน ี้ นอกจากจะต้องทราบจำนวนสั่งซ ื้อท ี่ประหยัดที่สุดด ังที่ได้อธิบายไว้
ก่อนหน้าแล้ว ยังจะต้องทราบช่วงระยะเวลาระหว่างเวลาที่จะต้องใช้ในการสั่งซื้อจนถึงเวลาที่จะได้รับสินค้าคงเหลือ
เข้ามาเก็บในสต็อกด้วยว่าจะใช้ระยะเวลาเท่าใด เราเรียกระยะเวลานี้ว่า Lead Time หรือระยะเวลาส่งของ และจะ
ต้องแน่ใจด้วยว่าความต้องการในการใช้สินค้าคงเหลือจะไม่เปลี่ยนแปลงแต่อย่างใด นั่นก็คือ จะมีความต้องการ
ในการใช้สินค้าคงเหลือในอัตราที่คงที่โดยสม่ำเสมอ ซึ่งถ้ากรณีเป็นเช่นที่กล่าวมานี้ก็อาจจะคำนวณหาจุดสั่งซื้อได้
ดังต ัวอย่างต่อไปนี้
สมมติให้ EOQ = 200 หน่วย
Lead Time = 10 วัน
ความต้องการในการใช้ = 100 หน่วยต่อ 10 วัน
ก็จะหาจ ุดส ั่งซ ื้อได้ ดังภ าพท ี่ 6.10
200 ได้ร ับมาใหม่ ได้ร ับม าใหม่
ปริมาณสินค้าคงเหลือ จุดส ั่งซื้อ จุดส ั่งซื้อ
100
0 5 10 15 20 25 30 35 40
Lead Time เวลา
ภาพท่ี 6.10 จุดส ง่ั ซอื้ ค ร้ังใหม่อยทู่ ่ีระดบั 100 หนว่ ย
จากภ าพท ี่ 6.10 จะเห็นได้ว ่าส ินค้าค งเหลือ 200 หน่วยท ี่ม ีอ ยู่จ ะถ ูกใช้ห มดไปภ ายใน 20 วัน ดังน ั้นเมื่อจ ำนวน
สินค้าคงเหลือล ดลงเหลือที่ระดับ 100 หน่วย จะต้องเริ่มส ั่งซ ื้อเป็นจ ำนวน 200 หน่วยใหม่ เพื่อให้มีสินค้าคงเหลือไว้
ใช้ส นองค วามต้องการได้อ ย่างสม่ำเสมอ เพราะจะต้องใช้เวลา 10 วันกว่าท ี่จะได้ร ับส ินค้าค งเหลือเพิ่มม าใหม่ ในกรณี
ที่ปล่อยให้สินค้าคงเหลือลดต ่ำลงไปจาก 100 หน่วย โดยที่ความต้องการในการใช้ยังมีอ ยู่ในอัตราเดิมก ็จะทำให้เกิด
การขาดส ต็อก (Stock out) หรือไม่มีส ินค้าคงเหลือพอที่จะส นองความต ้องการได้ทัน ซึ่งก็จะเป็นผลเสียต ่อองค์การ
ดังน ั้น เมื่อส ินค้าค งเหลือถ ูกใช้ไปจนล ดลงถ ึงจ ุด 100 หน่วย ก็จะต ้องส ั่งซื้อใหม่ท ันที จะเห็นได้ว่า ถ้าส ั่งซ ื้อที่จุดน ี้ใน
อีก 10 วัน เราก็จะได้รับสินค้าเข้ามาใหม่เป็นจำนวน 200 หน่วย ซึ่งก ็เป็นร ะยะเวลาท ี่สินค้าค งเหลือที่มีอ ยู่เก่าถูกใช้
หมดล งไปพ อดี
ลิขสทิ ธ์ขิ องมหาวทิ ยาลยั สุโขทยั ธรรมาธิราช