Page 62 - การส่งเสริมสุขภาพและการป้องกันโรค
P. 62
3-8 การส ่งเสริมสุขภ าพแ ละก ารป้องกันโรค
กจิ กรรม 3.1.1
จงอธบิ ายการเจ็บป ่วยของประชากรในย คุ แ ห่งโรคเกี่ยวกับระบบอวยั วะแ ละโรคท ี่คนสร้างขน้ึ
แนวต อบกิจกรรม 3.1.1
ยุคแห่งโรคเก่ียวกับระบบอวัยวะและโรคท่ีคนสร้างขึ้น (The Age of Degenerative and Man-Made
Disease) เป็นย คุ ทปี่ ระชากรตายด ว้ ยโรคท่ีเกิดจากความเส่อื มของร ่างกาย เช่น ระบบอ วยั วะ อาทิ ตับ ไต หัวใจ
เป็นต้น ทรุดโทรม และพฤติกรรมท่ีไม่เหมาะสม อย่างไรก็ตาม การตายในช่วงนี้ยังคงลดลงอย่างต่อเน่ืองและ
อาจจ ะค งท่ีในท ีส่ ุด อัตราก ารเกิดลดต่ำมาก การแพร่ระบาดของโรคล ดล ง อายุขยั เฉล่ยี เมือ่ แ รกเกดิ จ ะค อ่ ยๆ เพิ่ม
สูงขึ้น ประชากรมีอายุขัยเฉล่ียมากกว่า 50 ปีในยุคนี้จะมีโรคอุบัติใหม่และโรคอุบัติซ้ำ เช่น ไข้หวัดใหญ่ 2009
ซาร์ส เป็นต้น ซึ่งการเปลี่ยนผ่านครั้งน้ีเกิดข้ึนในบริบทของโลกาภิวัตน์ ท่ีมีการเชื่อมโยงกันของข้อมูลข่าวสาร
และวถิ ีช วี ิตของผ ู้คนในระดับโลก
เรื่องท่ี 3.1.2
การเปลี่ยนผ่านท างโภชนาการ
การเปลี่ยนผ่านทางโภชนาการเป็นผลสืบเนื่องจากโลกาภิวัตน์ ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับการเพิ่มขึ้นของโรค
อ้วนและโรคเรื้อรังที่มีผลจากอาหาร และผลกระทบของธรรมชาติต่อระบบการผลิตอาหารจากการเกษตร ส่งผลให้
ประเภท ราคา และค วามต ้องการอ าหารเปลี่ยนแปลงไป ดังน ั้น จึงเป็นส ิ่งจ ำเป็นท ีจ่ ะต ้องเข้าใจถ ึงค วามเชื่อมโยงร ะหว่าง
กระบวนการโลกาภิวัตน์และการเปลี่ยนผ่านทางโภชนาการ แนวคิดเกี่ยวกับการเปลี่ยนผ่านทางโภชนาการมุ่งไปที่
การเปลี่ยนแปลงอย่างมากในแบบแผนการบริโภคและพฤติกรรมทางกาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งโครงสร้างและ
องค์ประกอบโดยรวม ผลลัพธ์ของการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวปรากฏให้เห็นในรูปของการเปลี่ยนแปลงความสูงโดย
เฉลี่ย และองค์ประกอบของร่างกาย ในสังคมสมัยใหม่จะเห็นได้ชัดเจนในเรื่องของการบริโภคอาหารที่นิยมบริโภค
อาหารที่มีไขมัน สารปรุงแต่งรสหวาน และเส้นใยต่ำ หรือที่เรียกว่า อาหารแบบตะวันตก (Western Diet) ความ
เชื่อมโยงระหว่างการเปลี่ยนผ่านประชากร การเปลี่ยนผ่านทางวิทยาการระบาด และการเปลี่ยนผ่านทางโภชนาการ
ดังแสดงในภาพที่ 3.1
ลิขสทิ ธ์ขิ องมหาวทิ ยาลัยสุโขทยั ธรรมาธริ าช