Page 182 - อาหารและโภชนบำบัด
P. 182

10-52 อาหารและโภชนบำ�บัด
       การบริโภคนํ้าตาลมาก สัมพันธ์กับอุบัติการณ์ของการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดสูง และการบริโภค	

นํ้าตาลมากอาจเป็นเหตุให้ไขมันไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูง อันเป็นปัจจัยเสี่ยงอย่างหนึ่งของโรคหัวใจและหลอดเลือด
       ฉะนั้น จึงมีข้อแนะนำ�ในการจัดสรรแหล่งของคาร์โบไฮเดรตว่าให้เลือกแหล่งที่ให้คาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อนมาก

ลดพวกคาร์โบไฮเดรตที่ผ่านการแปรรูปแล้ว เพื่อป้องกันหรือบำ�บัดโรคหัวใจและหลอดเลือด
       เมื่องดหรือลดการกินนํ้าตาลก็ไม่ต้องเกรงว่าร่างกายหรือเนื้อเยื่อต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเนื้อเยื่อสมองจะ

ขาดนํ้าตาล หากกินอาหารที่ให้พลังงานคือ แป้ง ไขมัน และโปรตีนอย่างถูกส่วนและพอเพียง แป้งที่กินเข้าไปจะถูก
ย่อยเป็นนํ้าตาลชั้นเดียวก่อนถูกดูดซึมผ่านผนังลำ�ไส้เล็ก เข้าสู่กระแสเลือดเป็นนํ้าตาลในเลือดหรือกลูโคส ซึ่งนำ�ไป
ใช้เผาผลาญให้พลังงานได้ นอกจากนี้ส่วนหนึ่งของโปรตีนและไขมันที่ถูกย่อยและดูดซึมเข้าสู่ร่างกาย ถูกเปลี่ยนไป
เป็นนํ้าตาลกลูโคสได้ด้วย

       นํ้าตาลในเลือดนี้ส่วนหนึ่งใช้เผาผลาญให้พลังงาน อีกส่วนเก็บสะสมในรูปไกลโคเจน ซึ่งเป็นคาร์โบไฮเดรต
เชิงซ้อนเช่นเดียวกับแป้ง ซึ่งพร้อมจะสลายตัวมาเป็นนํ้าตาลในเลือด

       ในภาวะปกติและไม่ได้อดอยาก ในเลือดจึงมีนํ้าตาลในระดับเพียงพอที่เนื้อเยื่อต่างๆ นํ้าไปใช้เป็นพลังงาน
อยู่เสมอ

2. 	หลักปฏิบตั ใิ นเรื่องอาหาร 	

       เพื่อให้ได้รับแป้ง ซึ่งเป็นคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อนมากและได้รับนํ้าตาลน้อยควรปฏิบัติ ดังนี้
            - 	 งดหรือลดอาหารที่มีรสหวานจัดจากนํ้าตาล
            - 	 ควรได้รับนํ้าตาลจากอาหารธรรมชาติที่มิได้ปรุงแต่ง เช่น นมสด นมผงชนิดจืด หรือนมข้นจืดที่ไม่

ได้เติมนํ้าตาล นมชนิดมีนํ้าตาลแล็กโทสอยู่ตามธรรมชาติ
            - 	 ผลไม้สดบางชนิดอาจมีนํ้าตาลมาก เช่น ผลไม้สด ไม่ควรเลือกชนิดหวานจัด

       สรุปข้อปฏิบัติในการเลอื กอาหารคารโ์ บไฮเดรต
       2.1 	เลือกแหล่งของคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน ที่ให้แป้งและใยอาหารเป็นส่วนใหญ่ เช่น ข้าวอนามัย ข้าวโพด
ขนมปังโฮลวีท ถั่วเขียว ถั่วแดง ถั่วดำ� เป็นต้น
       2.2 	งดอาหารท่ปี รุงรสให้หวานดว้ ยนํ้าตาล เช่น

            - 	 งดเครื่องดื่มนํ้าหวาน นํ้าอัดลม ยกเว้นชนิดที่ใส่นํ้าตาลเทียม เช่น ทำ�สำ�หรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน
            - 	 งดชากาแฟและเครื่องดื่มอื่นๆ ที่เติมนํ้าตาลมาก ซึ่งจะช่วยลดทั้งคาเฟอีนและนํ้าตาลได้มาก
            - 	 งดนํ้ากลิ่นรสผลไม้ เพราะมีผลไม้น้อยมีนํ้าตาลส่วนใหญ่ ทั้งชนิดเข้มข้นต้องเติมนํ้าเวลาดื่ม หรือ
ชนิดดื่มได้ทันที
            - 	 งดของกินเล่น ลูกอม ลูกกวาดชนิดต่างๆ เช่น ทอฟฟี่ ลูกกวาดทุกชนิด ซึ่งมีรสหวานเป็นหลักและ
มีนํ้าตาลเป็นส่วนประกอบสำ�คัญ ช็อกโกแลต
       เครื่องดื่มและของกินเล่นดังที่กล่าวมาไม่มีคุณค่าทางโภชนาการเลยนอกจากนํ้าตาล
            - 	 งดขนมที่ใส่นํ้าตาลมากมีรสหวานจัด เช่น ของเชื่อมทุกชนิด เช่น กล้วยเชื่อม สาเกเชื่อม มัน
สำ�ปะหลังเชื่อม มะตูมเชื่อม ฯลฯ
            - 	 ของแช่อิ่ม เช่น สับปะรดแช่อิ่ม
            - 	 ขนมที่ทำ�โดยใช้นํ้าเชื่อมเข้มข้น เช่น ทองหยิบ ทองหยอด ฝอยทอง ฯลฯ
            - 	 ขนมที่กวนด้วยนํ้าตาลมาก เช่น กะละแม ข้าวเหนียวแดง ฯลฯ
            - 	 ไอศกรีมชนิดมีนํ้าเชื่อมโกโก้ราด
            - 	 ขนมเค้ก คุกกี้ชนิดต่างๆ ที่มีรสหวานจัด

                             ลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยสโุ ขทยั ธรรมาธิราช
   177   178   179   180   181   182   183   184   185   186   187