Page 24 - สังคมโลก
P. 24
3-22 สังคมโลก
แนวคดิ ท ห่ี ลากหลายของอ งคป์ ระกอบข องร ฐั
แนวคิดเรื่องร ัฐมีน ักคิดท างการเมืองได้ให้องค์ประกอบไว้หลากห ลาย เราส ามารถย กตัวอย่างได้ดังนี้
โจเซฟ อาร์ สเตเยอร ์ (Joseph R. Stayer) ได้ให้สัญญาณ (sign) หรือตัวช ี้ถึงสิ่งที่เป็นรัฐไว้ด ังนี้ 1. จะเป็น
รัฐได้ก็ต่อเมื่อเป็นกลุ่มคนที่รวมตัวเป็นชุมชนมีกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง 2. ต้องเป็นสถาบันการเมืองที่ค่อนข้างมั่นคง
และ 3. สมาชกิ ท อี่ ยใู่ นช มุ ชนต อ้ งม คี วามภ กั ดตี อ่ ส ถาบนั ก ารเมืองน ั้นๆ บนพ ื้นฐ านข องอ ำนาจห นา้ ทที่ างศ ีลธ รรม (moral
authority) ความภักดีต ้องข้ามพ ้นครอบครัว ชุมชนท้องถิ่น ชุมชนศาสนาม าสู่รัฐ25
ตัวชี้ถึงความเป็นรัฐของสเตเยอร์ในข้อที่หนึ่งแสดงถึงรัฐในฐานะที่เป็นองค์การที่มีกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง
หมายถึงการไม่ได้เป็นองค์การเฉพาะกิจ เช่น การร วมก ลุ่มชุมนุมประท้วง หรือกลุ่มเดินวิ่งเพื่อการก ุศล ซึ่งเมื่อบรรลุ
เป้าห มายแ ล้ว กลุม่ ก จ็ ะส ลายต วั ไป กิจกรรมท ีด่ ำเนนิ ก ารไดอ้ ย่างต อ่ เนือ่ งต ้องเป็นก จิ การท ีย่ าวนานก ว่าน ัน้ และในก รณี
ที่เป็นร ัฐน ั้นต ้องม ีช ่วงเวลาแ ทบไม่ส ิ้นส ุด ในต ัวช ีท้ ีส่ องน ั้น ความม ั่นคงข องอ งค์การส ามารถพ ิจารณาได้ห ลายด ้าน ด้าน
ที่ชัดเจนที่สุดด้านหนึ่งคือความคงทนขององค์การเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงผู้นำ กล่าวคือองค์การที่มีความมั่นคงต้อง
สามารถด ำรงอ ยูต่ ่อไปไดแ้ มผ้ ู้นำห รือผ ูก้ ่อต ั้งจ ะเปลี่ยนต ัวไป ตัวช ีท้ ีส่ ามไดใ้หค้ วามส ำคัญก ับก ารย อมรับข องส มาชิกใน
ชุมชนท เี่กิดข ึ้น การย อมรบั ข องส มาชกิ ในช ุมชนห รอื ค วามภ ักดที เี่กิดข ึ้นต ้องเป็นค วามส มั พนั ธท์ างศ ลี ธ รรมเท่านัน้ จ งึ จ ะ
ทำให้ร ัฐด ังก ล่าวด ำรงอ ยู่ได้ ไม่ส ลายต ัวล งเมื่อพ บก ับว ิกฤตกาล ความส ัมพันธ์ท างศ ีลธ รรมน ี้เป็นค ุณค่าท างน ามธรรม
พ้นไปจ ากค วามสัมพันธ์ท างก ายภาพ เช่น ความส ัมพันธ์ของค รอบครัวหรือก ลุ่มผลป ระโยชน์ ด้วยเหตุน ี้สถาบันท าง
การเมืองที่เกิดขึ้นจ ึงม ีเอกลักษณ์ท ี่แ ตกต ่างอ อกไปจ ากค รอบครัว กลุ่มผลประโยชน์ และช ุมชนแบบ อื่นๆ
คร ิส โตเฟอร์ ดับเบิลยู มอร ิส (Christopher W. Morris) ได้แบ่งอ งค์ประกอบของรัฐเป็น 5 ด้าน คือ26
1. การด ำเนินอยู่อ ย่างต ่อเนื่องในเวลาและส ถานที่
2. อุตรภ าพ (transcendence)27
3. อำนาจหน้าที่ (authority)
4. องค์การท างการเมือง
5. ความจงรักภ ักดี (allegiance)
โดยในองค์ประกอบในแต่ละด้าน มอริสได้ขยายความไว้ดังนี้ ด้านแ รก การดำเนินอยู่อย่างต่อเนื่องในเวลา
และสถานท ี่ห มายถ ึง รัฐจ ะต ้องเป็นอ งค์ทางการเมืองท ี่ทนต ่อการเปลี่ยนแปลงแ ละมีขอบเขตพ ื้นที่ชัดเจน ด้านท่ีสอง
อุตรภาพในแง่นี้ไม่ได้หมายถึงสิ่งที่อยู่เหนือโลกที่ปรากฏ แต่หมายถึงกฎระเบียบสาธารณะของรัฐต้องอยู่เหนือ
ผู้ปกครองแ ละผู้ถูกปกครอง และทั้งสองฝ ่ายยอมรับ ด้านท่ีสาม อำนาจหน้าที่ องค์การท างการเมืองใดจะเป็นรัฐได้
ก็ต่อเมื่อมีอำนาจอธิปไตย หรือการเป็นผู้ชี้ขาดสุดท้ายในทุกกรณีพิพาท ไม่มีอำนาจใดเหนืออำนาจรัฐได้ ด้านที่ส่ี
องค์การทางการเมืองที่เกิดขึ้นต้องมีความเชื่อมโยงต่อกัน มีลำดับชั้น และมีการรวมอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลาง และด ้าน
สุดท้าย ความจงรักภักดีคือรัฐคาดหวังและมุ่งจะได้ความภักดีจากสมาชิกของรัฐ และการแสดงออกถึงความภักดี
คือก ารที่ส มาชิกข องร ัฐต ้องม ีพันธะแ ละหน้าที่ท างศ ีลธรรมต่อรัฐ และพันธะดังก ล่าวอยู่เหนือพันธะอื่นๆ ไม่ว่าจ ะเป็น
ครอบครัว ศาสนา กลุ่มผ ลป ระโยชน์ ฯลฯ
25 โปรดดู Joseph R. Stayer, On the Medieval Origins of the Modern State. Princeton, New Jersey: Princeton Uni-
versity Press, 1970, pp. 5-9.
26 Christopher W. Morris. “The Modern State,” pp. 199-200.
27 ใช้ศ ัพท์บ ัญญัติจาก พจนานุกรมศ ัพท์ปรัชญา อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พิมพ์ครั้งที่ 2 แก้ไขเพิ่มเติม กรุงเทพมหานคร
ราชบัณฑิตยสถาน 2540 หน้า 98
ลขิ สิทธขิ์ องมหาวิทยาลยั สุโขทยั ธรรมาธริ าช