Page 22 - สังคมโลก
P. 22
3-20 สังคมโลก
เรือ่ งท ่ี 3.2.1
ความห ลากห ลายว่าดว้ ยแ นวคิดอ งคป์ ระกอบข องรฐั
หลังจ ากท ี่ได้เห็นภ าพข องก ารก ำเนิดข ึ้นข องร ัฐส มัยใหม่จ ากเหตุการณท์ างป ระวัติศาสตรแ์ ล้ว ในเรื่องน ี้จ ะเข้า
สูค่ ำถามท ีเ่รียกว ่า รฐั ส มยั ใหมค่ อื อ ะไร ภาพร ัฐส มัยใหมท่ ีไ่ดเ้ห็นในป ระวัติศาสตรน์ ั้นค ืออ งค์การท างการเมืองช นิดห นึ่ง
ที่มีอำนาจครอบคลุมพื้นที่ แล้วคำถามที่จะควรถามต่อไปก็คือ องค์การทางการเมืองนี้มีความแตกต่างจากองค์การ
ทางการเมืองอื่นอ ย่างไรๆ แล้วเราจ ะอ าศัยสิ่งใดในการจ ำแนก
คำถามว่า “รัฐ” คืออะไรนั้นเป็นคำถามที่เก่าแก่และมีความสำคัญเป็นอย่างมากในทางรัฐศาสตร์และใน
ความค ิดท างการเมือง เช่นเดียวกับค ำที่ม ีความสำคัญในทางร ัฐศาสตร์อ ื่นๆ เช่น คำว ่า “ความยุติธรรม” “การเมือง”
“สัญญาประชาคม” ฯลฯ มีก ารให้ค วามหมายข องคำว ่า “รัฐ” ไว้แตกต ่างกันเป็นจำนวนม าก22 ซึ่งเกิดจากม ุมมองร ัฐ
ที่แ ตกต ่างกัน เพื่อแสดงให้เห็นถ ึงค วามแ ตกต ่างดังก ล่าวและผ ลข องความแตกต ่างนี้ ในส่วนน ี้จ ึงจ ะก ล่าวถ ึงค วามคิด
ว่าด้วยร ัฐ
ความค ิดว่าด ว้ ยรัฐ
สิ่งที่ทำให้ความหมายของรัฐมีความแตกต่างกันมากที่สุดเกิดขึ้นจากความคิดว่าด้วยรัฐที่แตกต่างกัน ทั้ง
ในช ่วงเวลาและบริบททางสังคมท ี่ต ่างกัน ทั้งๆ ที่ค ำว่า “รัฐ” เป็นคำท ี่ใช้แทนคำว่า State ในภาษาอ ังกฤษ คำท ั้งส อง
ดังกล่าวก็มีที่มาและบริบทที่แตกต่างกันทั้งแง่ช่วงเวลาและพื้นที่ แต่กลับสามารถใช้ชี้ถึงองค์การทางการเมืองที่มี
รูปแ บบเฉพาะ ดังน ั้น เพื่อให้เห็นถ ึงความส ลับซ ับซ ้อนของ “รัฐ” และ State จึงจ ะก ล่าวถึงใน 2 ประเด็น คือ ประเด็น
ที่หนึ่ง จะกล่าวถึงที่มาของคำ ความแตกต่างของความหมายและในที่สุดจะแสดงให้เห็นว่าคำที่มาจากบริบทที่
แตกต ่างกันรวมกันเป็นคำเดียวว่า “รัฐ” ได้อย่างไร ประเด็นที่ 2 แนวคิดที่หลากห ลายข องอ งค์ป ระกอบของรัฐ
“State” และ “รัฐ”
หากสิ่งที่ศึกษาอยู่คือแนวคิดที่หลากหลายเกี่ยวกับรัฐ และคำว่า “รัฐ” แปลมาจากคำว่า State เพื่อให้
เกิดความเข้าใจคำว่า “รัฐ” ควรทำความเข้าใจที่มาและความหมายของคำว่า State ที่ใช้ในปัจจุบัน และรวมถึง
ความแ ตกต ่างด้านประวัติความเป็นมาข อง State กับ “รัฐ” ในภ าษาไทย
หากพิจารณาที่มาและรากศัพท์ของคำว่า State แล้วจะพบว่าคำนี้มีที่มาจากภาษาละตินว่า stare แปลว่า
“การยืน” และ status แปลว่า “ตำแหน่ง” หรือ “สถานะ” Status มีนัยถึงความมั่นคงหรือถาวร ที่สืบทอดมาจาก
คำว่า estate แปลว่า “ฐานันดร” หรือ “ทรัพย์สมบัติ” ซึ่งเป็นที่มาของคำว่า state อีกทีหนึ่ง23 หากพิจารณาจาก
ข ้อเท็จจ ริงท างป ระวัติศาสตร์ การค รอบค รองท รัพยส์ มบัตกิ ับฐ านันดรเป็นส ิ่งท ีส่ อดคล้องก ัน ดังจ ะเห็นไดจ้ ากในย ุโรป
ตะวันต กสมัยกลาง มีการก ำหนดฐานันดรออกเป็น 4 ประเภท คือ กษัตริย์ ขุนนาง พระ และส ามัญช น โดยพ ิจารณา
22 โปรดด ู Peter J. Steinberger, The Idea of the State, Cambridge: Cambridge University Press, 2004, pp. 8-13.
23 Christophe W. Morris, “The Modern State,” p. 197. โปรดด คู วามเห็นในล ักษณะเดียวกันน ีใ้น Andrew Vincent, “Concep-
tions of the State,” in Encyclopedia of Government and Politics, vol. 1, eds. Mary Hawkesworth and Maurice Kogan. London:
Routledge, 2002, p. 43. และใน Michael Oakeshott, Lectures in the History of Political Thought. Exeter: Imprint Academic,
2007, pp. 361-362.
ลขิ สทิ ธข์ิ องมหาวทิ ยาลยั สโุ ขทยั ธรรมาธริ าช