Page 18 - สังคมโลก
P. 18
3-16 สังคมโลก
ภาพที่ 3.4 ประเทศท ่ีอย่ใู นภูมิภาคเอเชียต ะวันอ อกเฉยี งใต้ใน ค.ศ. 2010
ทมี่ า: http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/a/a9/Map_of_the_Association_of_Southeast_ Asian_Nations-2.svg
เหตุการณก์ ่อนการมาถ ึงของช าตติ ะวนั ตก
ดินแดนเหล่านี้ในบางครั้งก็อยู่ร่วมกันอย่างสันติ บางครั้งก็ทำสงครามระหว่างกัน การติดต่อการค้ากัน
ได้กระทำโดยผ่านพ่อค้าต่างชาติ ไม่ว่าจะเป็นพ่อค้าจีน อินเดีย หรืออาหรับ หรือการค้าในรูปบรรณาการที่ทำกับ
จักรพรรดิจีน13 กษัตริย์และผู้ปกครองในดินแดนเหล่านี้ไม่ได้มีสำนึกเรื่องอำนาจเหนือพื้นที่เหมือนกับในยุโรปใน
ช่วงเวลาเดียวกัน เนื่องจากพ ื้นที่บ ริเวณน ี้มีพื้นที่กว้างแ ต่มีประชากรอ ยู่อย่างเบาบาง ความส ำคัญจึงอยู่ที่อำนาจเหนือ
การควบคุมก ำลังคนมากกว่าอำนาจเหนือก ารค รอบค รองพ ื้นที่ สงครามระหว่างกันถ้าไม่ใช่เป็นเรื่องประเพณีการเป็น
จักรพรรดิร าชที่เกิดในภ าคพื้นทวีป เช่นในกรณีของสงครามระหว่างอ ยุธยาและห งสาวด ีแล้ว ก็จ ะเป็นส งครามแ ย่งช ิง
ผู้คนห รือผลประโยชน์ท างการค้า
การมาถึงของชาติตะวันตก แต่เดิมนั้นพ่อค้าหรือนักเผชิญโชคจากตะวันตกที่มุ่งมายังภูมิภาคเอเชีย
ตะวันออกเฉียงใต้ก็เพื่อการแลกเปลี่ยนสินค้าที่หายาก ไม่ว่าจะเป็นการขายอาวุธปืนให้กับคนพื้นเมืองเพื่อแลก
กับสินค้าของป่าและของพื้นเมืองส่งกลับไปยังยุโรป แต่การเดินทางดังกล่าวก็มีข้อจำกัดจากการเดินเรือซึ่งต้อง
อ าศัยลมมรสุม จึงท ำให้ปีหนึ่งส ามารถเดินท างได้เพียงครั้งเดียว หากไม่ทันล มมรสุมก็จำเป็นต ้องพักอาศัยอยู่ในเขต
พื้นเมือง การเดินท างในล ักษณะน ี้ท ำให้ห ากช าติต ะวันต กค ิดจ ะค รอบค รองด ินแ ดนในภ ูมิภาคน ี้ก ็เป็นอ ย่างย ากล ำบาก
เพราะไม่สามารถจะส่งกำลังบำรุงมาให้ได้อย่างเพียงพอ สิ่งที่ทำได้อย่างมากที่สุดจึงเป็นเพียงการตั้งสถานีทางการค้า
ซึ่งอยู่ภายใต้การยินยอมข องผู้ป กครองในพ ื้นที่14
13 โปรดดูมุมมองต่อความสัมพันธ์ในระบบบรรณาการที่มีลักษณะพิเศษที่ไม่ได้อยู่ในลักษณะของเมืองขึ้นหรือเมืองออกในกรณีของ
ไทยต ่อจ ีนได้ใน สืบแสง พรหมบ ุญ ความสัมพันธ์ในร ะบบบรรณาการร ะหว่างจีนก ับไทย แปลโดย กาญจนา ละอองศรี กรุงเทพมหานคร มูลนิธิ
โครงการต ำราส ังคมศาสตร์แ ละม นุษยศาสตร์ 2525
14 โปรดด ู จอห์น แบส ติน และ แฮร ี่ เจ เบ็นดา ประวัติศาสตร์เอเชียต ะวันออกเฉียงใต้ส มัยใหม่ แปลโดย ภรณี กาญจ นัษฐิติ ชื่นจ ิตต ์
อำไพพ รรณ กรุงเทพมหานคร มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์แ ละมนุษยศาสตร์ 2521 หน้า 25
ลขิ สิทธ์ิของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธริ าช