Page 13 - สังคมโลก
P. 13
แนวคิดและพัฒนาการของร ัฐ 3-11
เนือ่ งจากห ากส ง่ ค นแ ละเสบยี งไปม ากๆ ยอ่ มท ำใหพ้ ืน้ ทีเ่ พาะป ลกู ร กรา้ ง ขนุ นางผ เู้ ปน็ เจา้ ของท ีด่ นิ ย อ่ มส ญู เสยี ร ายไดไ้ ป
ยิง่ ส งครามเกดิ ข ึน้ ม ากเทา่ ใด ขนุ นางก ย็ ิง่ บ ดิ พลิว้ ไมส่ ง่ ค นแ ละอ าหารไปเรือ่ ยๆ จงึ จ ำเปน็ อ ยเู่ องท เี่ จา้ ของท ีด่ นิ ข นาดใหญ่
หรือกษัตริย์จะต้องหาวิธีการแบบอื่นที่จะนำมาซึ่งรายได้และกำลังคนเพื่อใช้ในการทำสงคราม ความจำเป็นเหล่านี้
จงึ น ำม าซ ึง่ ก ารเกดิ ข ึน้ ข องร ะบบร าชการ การเกดิ ข ึน้ ข องกองท พั ป ระจำก าร และก ารเกบ็ ภ าษเี ปน็ ร ายห วั โดยไมส่ นใจค วาม
สัมพันธ์ในร ะบบฟิวดัล ปรากฏการณ์เช่นนี้สามารถก ล่าวอ ีกนัยหนึ่งได้ว่า “สงครามส ร้างร ัฐ และรัฐส ร้างส งคราม”7
การเกดิ ข ึ้นข องร ัฐส มยั ใหม่
จากส าเหตทุ ีก่ ล่าวม าแ ล้วข า้ งต น้ เรือ่ งก ารล ดอ ิทธิพลล งข องโบสถ์ และก ารส ลายต วั ข องร ะบบฟ วิ ดลั จ นในท ี่สุด
ไดเ้กิดเหตุการณท์ ี่น ำไปส ู่ก ารเกิดข ึ้นข องร ัฐส มัยใหม่ คือ สงครามส ามสิบป ี (ค.ศ. 1618-1638) และก ารต กลงส ันติภ าพ
แห่งเวสต์ฟาเลีย (Peace of Westphalia, ค.ศ. 1648) ที่เป็นการตกลงยอมรับการมีอำนาจเหนือดินแดนของรัฐ
ซึ่งเป็นพ ื้นฐานท ี่ส ำคัญที่สุดข องร ัฐสมัยใหม่ในปัจจุบัน
สงครามสามสิบปีที่เกิดขึ้นในดินแดนที่เป็นประเทศเยอรมนีในปัจจุบันนั้น เกิดขึ้นเมื่อบรรดาเจ้าผู้ครอง
นครรัฐเล็กรัฐน้อยในดินแดนที่เป็นประเทศเยอรมนีบางรัฐ* ไม่ว่าจะเป็นเจ้าผู้ครองรัฐบรรพชิต (clergy) หรือ
ฆราวาส (secular) เปลี่ยนศาสนาจากนิกายคาทอลิกเป็นนิกายโปรเตสแตนท์** บางรัฐเหล่านี้มีความสำคัญทาง
ยทุ ธศาสตรแ์ ละบ างร ฐั ม สี ถานะเปน็ ผ เู้ ลอื กต ัง้ จ กั รพรรดแิ หง่ จ กั รวรรดโิ รมนั อ นั ศ กั ดิส์ ทิ ธิ*์ ** ซึง่ จ ะท ำใหเ้ กดิ ก ารค กุ คาม
ต่อจักรวรรดิ โดยเฉพาะทางด้านการทหาร และกลายเป็นว่าผู้นับถือศาสนาคริสต์นิกายโปรเตสแตนท์มีสิทธิเลือก
จักรพรรดิ ในข ณะท ี่เจ้าผู้ค รองนครรัฐที่เปลี่ยนศ าสนาก็ต้องการเป็นอ ิสระจากจ ักรวรรดิที่นำโดยออสเตรียด ้วย
สงครามท ี่เกิดข ึ้นย าวนานถ ึง 30 ปีม ีค วามเกี่ยวข้องก ับก ษัตริย์ห รือผ ู้ป กครองเกือบท ั้งหมดในย ุโรปต ะวันต ก
ไม่ว ่าจะเป็นฝ่ายค าทอลิกที่นำโดยจักรวรรดิโรมันอ ันศักดิ์สิทธิ์ สเปน ฝรั่งเศส หรือฝ ่ายโปรเตสแตนท์ เช่น เดนมาร์ก
สวเี ดน และบ รรดาร ฐั ต า่ งๆ ในด นิ แ ดนเยอรมนั ฝา่ ยโปรเตสแตนตเ์ ขา้ ส สู่ งครามเพือ่ ป กปอ้ งผ ลป ระโยชนแ์ ละก ารค กุ คาม
จากจ กั รพรรดิ บรรดาเจา้ ผ คู้ รองน ครในเยอรมนที เี่ ปน็ โปรเตสแตนทไ์ ดเ้รยี กร อ้ งใหก้ ษตั รยิ ส์ วีเดนเขา้ ไปย งั ด นิ แ ดนข อง
พวกตนเพื่อต ่อสู้ก ับจ ักรพรรดิแ ละกษัตริย์ฝ รั่งเศส โดยออกทุนให้กษัตริย์ส วีเดนมาท ำการร บเพื่อลดก ารค ุกคามจ าก
ราชสำนักฮับสบวร์กของจักรพรรดิ กษัตริย์สวีเดนซึ่งต้องการมีอิทธิพลในภาคพื้นยุโรปตะวันตกก็ยินดีที่จะเข้าร่วม
7 Charles Tilly, “Reflection on the History of European State-Making,” in The Formation of National States in Western
Europe, ed. Charles Tilly. Princeton, New Jersey: Princeton University Press, 1975, p. 42.
*ในอดีตเยอรมนีไม่ได้ร วมก ันเป็นประเทศเดียวเหมือนในปัจจุบัน ดินแดนท ี่เป็นป ระเทศเยอรมันป ระกอบไปด ้วยแ คว้น และร าชอาณา
จักรเล็กๆ ตัวอย่างของแคว้นและราชาอาณาจักรเหล่านี้ ได้แก่ บาวาเรีย (Bavaria) ปรัสเซีย (Prussia) แซกโซนี (Saxony) บาเดน (Baden)
เป็นต้น
**รัฐบรรพชิตค ือร ัฐที่พ ระน ักบวชเป็นเจ้าที่ดิน โดยพันธะท ี่มีต่อโบสถ์คาทอลิกคือการส่งร ายได้ไปให้กับพระสันตะปาปาท ี่กรุงโรม การ
เปลี่ยนเป็นโปรเตสแตนท์ทำใหส้ ามารถน ำร ายไดท้ ั้งหมดม าเป็นข องส ่วนต ัวไมจ่ ำเป็นต ้องส ่งไปย ังโรมอ ีกต ่อไป กรณกี ารเปลี่ยนศ าสนาท ีม่ ผี ลร ุนแรง
ต่อการเมืองในยุโรปต ะวันตกคือ กรณีของพ ระสังฆราชแ ห่งโคโลญ (Cologne) โปรดดู เจ เอ็ม ทอมป ์สัน ประวัติศาสตร์ย ุโรป ค.ศ. 1494-1789
หน้า 127
***ตำแหน่งจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิโรมันอ ันศ ักดิ์สิทธิ์ (Holy Roman Empire) เป็นตำแหน่งที่เป็นป ระหนึ่งประธานข องป วงกษัตริย์
คริสเตียนทั้งหมด ตำแหน่งดังกล่าวได้มาด้วยการเลือกตั้ง และสวมมงกุฏโดยพระสันตะปาปา โดยจุดเริ่มต้นเกิดขึ้นในสมัยพระเจ้าชาร์เลอมาญ
(Charlemagne, ค.ศ. 768-814) แหง่ อาณาจ กั รฟ ร งั ก ์ (Franks) ผูม้ สี ทิ ธเิ์ ลอื กต ัง้ พ ระจ กั รพรรดปิ ระกอบด ว้ ยเพร ะส งั ฆราชท เี่ ปน็ เจา้ ท ีด่ นิ ร ฐั บ รรพชติ
3 รูป และกษัตริย์หรือเจ้าที่ดินที่เป็นฆราวาสอีก 4 องค์ โดยคณะผู้เลือกตั้งที่เกิดขึ้นตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 16 เป็นต้นมาจะทำตามธรรมเนียม
ที่จะเลือกกษัตริย์ในราชวงศ์ฮับสบวร์ก (Habsburg) แห่งราชอาณาจักรออสเตรียเป็นพระจักรพรรดิ ตำแหน่งดังกล่าวถูกยกเลิกโดยจักรพรรดิ
นโปเลียน โบน าป าร์ต (Napolèon Bonaparte) แห่งจักรวรรดิฝรั่งเศสในต้นคริสต์ศตวรรษท ี่ 19
ลิขสทิ ธ์ขิ องมหาวทิ ยาลัยสุโขทยั ธรรมาธิราช