Page 267 - สังคมโลก
P. 267
ขบวนการเคลื่อนไหวภาคประชาสังคมในสังคมโลก 10-27
เรื่องท ี่ 10.2.1
สถานะแ ละบ ทบาทข องขบวนการเคลอ่ื นไหวภ าคประชาส งั คม
กบั ความเปลย่ี นแปลงข องส งั คมโลก
โลกาภิวัตน์เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นในสังคมโลกปัจจุบัน และได้เป็นตัวเร่งให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่าง
รวดเร็วในช่วงเวลาห้าสิบปีที่ผ่านมา ไม่ว่าจะเป็นการก่อตั้งองค์การสหประชาชาติ การรับรองปฏิญญาสากลว่าด้วย
สิทธิมนุษยช นแ ห่งก รุงเจนีว า รวมท ั้งส นธิสัญญาอ ื่นๆ การพ ัฒนาขององค์การระหว่างป ระเทศอ ย่างศาลอ าญาระหว่าง
ประเทศ (International Criminal Court: ICC) กองทุนการเงินร ะหว่างป ระเทศ (International Monetary Funds:
IMF) ธนาคารโลก (World Bank) และองค์การการค้าโลก (World Trade Organization: WTO) กระบวนการ
โลกาภิวัตน์ทำให้การติดต่อสื่อสารกันภายในโลกกลายเป็นเรื่องไร้พรมแดน เทคโนโลยีอย่างเครื่องบิน โทรทัศน์
ดาวเทียม และอินเทอร์เน็ตได้ขยายการรับรู้ด้านวัฒนธรรมและเหตุการณ์ข้ามโลกได้อย่างรวดเร็ว ในปัจจุบันนี้
เรารับรู้ถึงปัญหาความสูญเสียจากภัยเฮอริเคน แผ่นดินไหว คลื่นสึนามิ การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ ความยากจน และ
โรคติดต่อร ้ายแรงจ ากทั่วท ุกม ุมโลก ซึ่งอ าจจ ะพูดได้ว่า โลกข องเราหดแ คบลง
รชิ ารด์ ฟอล์ค (Richard Falk)44 ไดต้ ั้งข อ้ ส งั เกตว ่า บทบาทข องข บวนการเคลือ่ นไหวภ าคป ระชาส งั คมร ูปแ บบ
ใหม่ (New Social Movements) ในย คุ โลกาภ วิ ตั น ์ เปน็ บ ทบาทท ตี่ อ้ งการเสนอท างเลอื กใหมใ่ นก ารป ฏริ ปู เปลีย่ นแปลง
การเมือง เศรษฐกิจ สังคม ในร ะดับโลก ไม่ใช่แ ค่เพียงในร ะดับประเทศอ ีกต ่อไป ลักษณะเด่นข องข บวนการเคลื่อนไหว
ภาคประชาสังคมใหม่ในสังคมโลกอ ยู่ที่ความส ามารถในการป ระสาน เชื่อมโยงช ีวิตประจำวันเข้ากับการเปลี่ยนแปลง
ทางการเมืองทั้งในระดับประเทศและในระดับโลก มีลักษณะของการปฏิรูปเปลี่ยนแปลงในวงกว้างโดยนำเอาเรื่อง
ส ่วนต ัว เช่น ความส ัมพันธ์ร ะหว่างเพศ ความย ากจน หรือร าคาผ ลผลิตก ารเกษตรท ี่ต กต่ำกับเรื่องส ่วนร วม เช่น ปัญหา
สิ่งแวดล้อมเข้าไ ว้ด้วยกันในการเคลื่อนไหวเรียกร้อง
ขบวนการเคลื่อนไหวภาคประชาสังคมในสังคมโลกจะมีสถานะเป็นกลุ่มที่ทำหน้าที่ในการสร้างวัฒนธรรม
การต่อต้านหรือขัดขืน โดยมีวัตถุประสงค์ที่หลากหลายมาก เช่น เพื่อระดมคน เพื่อยกระดับจิตสำนึก การรับรู้ของ
ประชาชนในเรื่องที่ต่อต้านหรือขัดขืน หรือเพื่อสร้างคุณค่าความเชื่อชุดใหม่ ขณะเดียวกันก็เพื่อลดความชอบธรรม
ของร ะบบท ี่ด ำรงอ ยู่ โดยเฉพาะอ ย่างย ิ่งก ารล ดค วามช อบธ รรมข องอ ำนาจร ัฐในร ูปข องก ารใชส้ ิทธทิ ีจ่ ะไมเ่ชื่อฟ ังร ัฐห รือ
อารยะข ัดขืน (Civil Disobedience) เป็นต้น แตท่ ีส่ ำคัญย ิ่งก ว่าน ั้นก ค็ ือว ่า วัฒนธรรมต ่อต ้านห รือข ัดขืนข องข บวนการ
เคลื่อนไหวภ าคป ระชาส ังคมร ูปแ บบใหม่พ ุ่งเป้าไปท ี่ก ารเรียกร ้องให้ห น่วยง านข องร ัฐต ้องร ับผ ิดช อบต ่อก ารกร ะท ำข อง
ตนท ี่ม ีผ ลกร ะท บต ่อประชาชนหรือสังคมในวงกว้าง (Accountability) มิใช่ทำตามที่ต นเองต ้องการได้ทุกอย่าง หรือ
ใช้อ ำนาจเกินข อบเขตท ี่ม ี เป็นการเคลื่อนไหวท ี่ต ้องการจ ะอ ุดช ่องว ่างในส ่วนท ี่ร ัฐแ ละอ งค์การระหว่างป ระเทศทำไม่ได้
หรือไม่มคี วามต ้องการจ ะท ำ หรือก ารเรียกร ้องใหป้ ระชาชนเข้าไปม บี ทบาทในร ะดับข องก ารต ัดสินใจในอ งค์กร สถาบัน
ที่จัดระบบร ะเบียบเศรษฐกิจโลก เป็นต้น
44 Richard, Falk, The global promise of social movements: Explorations at the edge of time. Alternatives 12/2,
(1987)
ลขิ สทิ ธขิ์ องมหาวิทยาลยั สโุ ขทยั ธรรมาธริ าช