Page 268 - สังคมโลก
P. 268
10-28 สังคมโลก
ในฐานะที่เป็นผู้กระทำ ขบวนการเคลื่อนไหวภาคประชาสังคมในยุคโลกาภิวัตน์ไม่เน้นการต่อสู้กับรัฐบาล
แต่เป็นการต่อสู้ในระดับโลก คือเน้นเรื่องการเปิดพื้นที่เสรีภาพของประชาชนให้มากขึ้น ลดช่องว่างระหว่างรัฐกับ
ประชาชนล ง เรียกร ้องค วามเป็นมนุษย์ม ากข ึ้น เน้นการเคารพในสิทธิมนุษยชน ใช้ก ารศ ึกษาอ ย่างม ีเหตุผล ไม่มีการ
เลือกปฏิบัติบนฐานของเชื้อชาติ ศาสนา วัฒนธรรม เคารพในความเป็นส่วนบุคคล ส่งเสริมความอดทนอดกลั้นต่อ
ความแตกต ่าง การเปลี่ยนแปลงในอนาคตไม่ว ่าจ ะเป็นด ้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม หรือว ัฒนธรรม ไม่อาจผูกขาด
โดยรัฐและรัฐบาลอีกต่อไป แต่จะต้องเปิดพื้นที่ให้กับบทบาทของขบวนการเคลื่อนไหวภาคประชาสังคมรูปแบบใหม่
ต่อก ารเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ด ้วย
ฟอล์ค ชี้ให้เห็นว ่า แม้ว่าเราจะป ฏิเสธไม่ได้ว่าม ีสิ่งท ี่เรียกว่า “ปัญหาโลก” และเราต่างต้องเผชิญชะตาก รรม
ร่วมกัน แต่เราก็ปฏิเสธไม่ได้อีกเช่นกันว่าขบวนการเคลื่อนไหวภาคประชาสังคมรูปแบบใหม่ในแต่ละประเทศ ต่าง
ก ็ถ ูกกระทบด้วยปัญหาเฉพาะของต ัวเองท ี่แ ตกต่างก ันไป แต่ข บวนการเคลื่อนไหวภาคป ระชาส ังคมเหล่าน ี้ ก็ส ามารถ
ประสานเชื่อมโยงก ันได้ เนื่องจากมีเป้าห มายค ล้ายๆ กัน นั่นค ือ การสร้างส ถานีให้ก ับตนเองให้ไปไกลกว่าเรื่องของร ัฐ
อำนาจรัฐ รัฐบาล การเมือง ฯลฯ แต่รวมเอาชีวิตป ระจำว ันและเรื่องของโลกในปัจจุบันเข้าไว้ด ้วยกัน
กล่าวโดยสรปุ แลว้ สถานะและบทบาทของขบวนการเคล่อื นไหวภาคประชาสงั คมในสังคมโลกยุคโลกาภิวตั น์
จึงม ีบ ทบาทในก ารเคลื่อนไหวเรียกร ้องท ี่ต ้องการส ร้างน ิยามห รือค วามห มายใหม่ให้ก ับส ังคมโลกให้ก ว้างไปก ว่าท ี่เคย
เป็นในอ ดีต ด้วยก ารชี้ให้เห็นว่าช ีวิตประจำวัน อัตลักษณ์ของบุคคล ปัญหาส ิ่งแวดล้อมนั้นเป็นเรื่องของการเมืองแ ละ
โลกด้วย ขบวนการเคลื่อนไหวภาคประชาสังคมรูปแบบใหม่ คือ ตัวอย่างรูปธรรมหนึ่งของการเมืองภาคประชาชน
ในฐ านะที่เป็นผ ู้ก ระทำทางการเมือง
ในปัจจุบันได้มีการกล่าวถึง “การเมืองใหม่” (new politics) ในฐานะที่เป็นการมีส่วนร่วมที่ชอบธรรมอีก
ประเภทห นึ่งข องป ระชาชนในประเทศประชาธิปไตยต ะวันตกด้วย ซึ่งได้แก่ การเดินข บวนและก ารป ระท้วงในรูปแบบ
ต่างๆ ซึ่งส่วนใหญ่ม ีวัตถุประสงค์ท ี่กว้างม ากข ึ้น เช่น การต ่อต้านอาวุธน ิวเคลียร์ การต ่อสู้เพื่อสิทธิสตรี การอ นุรักษ์
ทรัพยากรธรรมชาติ เป็นต้น สิ่งเหล่าน ีส้ ะท้อนค ่าน ิยมบ างอ ย่างท ีเ่ปลี่ยนไปจ ากก ารเมืองแ บบเก่า เช่น เรื่องข องท ัศนคติ
จากเดิมที่คอยสนับสนุนระบบการเมืองแต่เพียงอย่างเดียวก็เปลี่ยนมาเป็นการวิพากษ์ (critical) ระบบการเมืองที่
เป็นอ ยู่บ้าง ประเด็นเรื่องท ี่อ ยู่ในค วามสนใจห รือเป็นห ่วงก ็เปลี่ยนจากเรื่องที่ต นมีผลประโยชน์ไปเป็นเรื่องของคุณค่า
ที่สังคมจะได้รับ45 เป็นต้น ไชยรัตน์ เจริญสินโอฬาร ได้กล่าวถึงปรากฏการณ์ที่นักสังคมศาสตร์กระแสหนึ่งเริ่มให้
ความส นใจม ากข ึ้น นั่นคือกระแสท ี่เรียกว ่า “การเมืองแบบใหม่” (the new/postmodern politics) และ “ขบวนการ
เคลื่อนไหวภาคประชาสังคมรูปแบบใหม่” (the new social movements) ที่มองขบวนการเคลื่อนไหวและการ
เรียกร ้องของป ระชาชนธรรมดาว่าเป็นการโต้ตอบต่อปัญหาแ ละความข ัดแย้งชนิดใหม่ท ี่เกิดขึ้นในสังคม ซึ่งเป็นความ
ขัดแย้งชนิดใหม่ที่มีลักษณะหลากหลายกว่าเรื่องของชนชั้นหรืออุดมการณ์ทางการเมืองในอดีต แต่รวมเอาเรื่องเพศ
เชื้อช าติ ศาสนา และวัฒนธรรมเข้าไปด้วย
ความขัดแ ย้งดังก ล่าวน ี้มักม ีค วามส ลับซ ับซ้อนเกินก ว่าสถาบันห ลักท างการเมืองและส ังคมท ี่ม ีอ ยู่ในปัจจุบัน
จะสามารถแก้ไขได้ และมีผลทำให้ประชาชนเริ่มเสื่อมศรัทธาในรัฐและสถาบันหรือกลไกของรัฐ ประชาชนเหล่านี้จึง
เคลื่อนไหวด้วยตนเอง นั่นคือการหันกลับไปสร้าง ”ประชาสังคม” ให้เข้มแข็งขึ้นมานั่นเอง46 การเคลื่อนไหวเหล่านี้
45 Rod Hague, Martin Harrop, and Shaun Breslin, Comparative government and politics: An introduction. 3rd ed.
(London: Macmillan, 1992), p. 161.
46 ไชยรัตน์ เจริญสินโอฬาร ขบวนการเคลื่อนไหวภาคประชาสังคมรูปแบบใหม่ ขวนการเคลื่อนไหวประชาสังคมในต่างประเทศ:
บทส ำรวจพ ัฒนาการ สถานภาพและนัยยะเชิงค วามค ิด/ทฤษฎีต่อการพ ัฒนาป ระชาธิปไตย กรุงเทพมหานคร สำนักพิมพ์วิภาษา 2540 หน้า 3-4
ลขิ สทิ ธ์ขิ องมหาวทิ ยาลัยสุโขทัยธรรมาธริ าช