Page 107 - การผลิตสัตว์
P. 107

การผลิตสัตว์ปีก 10-15

เรื่องท​ ่ี 10.2.1
การ​เลีย้ งไ​ ก​เ่ นอ้ื

       ไก่​เนื้อ​เป็น​สัตว์​ปีก​ที่​มี​การ​พัฒนา​พันธุ์​และ​สาย​พันธุ์​ที่​ล้ำ​หน้า​กว่า​สัตว์​ชนิด​อื่น​มาก ทำให้​ไก่​เนื้อ​ใน​ปัจจุบัน​
มี​อัตรา​การ​เจริญ​เติบโต​ที่​ดี มี​ประสิทธิภาพ​การ​เปลี่ยน​อาหาร​ดี และ​มี​ระยะ​เวลา​ใน​การ​เลี้ยง​สั้น การ​ที่​จะ​ทำให้​ไก่​เนื้อ
​ได้​แสดงออก​ตาม​ศักยภาพ​ของ​พันธุ์​นั้น ผู้​เลี้ยง​จำเป็น​ต้อง​มี​การ​จัดการ​ใน​การ​เลี้ยง​เป็น​อย่าง​ดี​ตลอด​ชั่ว​อายุ​ของ
​ไก่​เนื้อ ทั้ง​ใน​ด้าน​การ​จัดการ​เลี้ยง​ดู อาหาร รวม​ทั้ง​สภาพ​แวดล้อม​ใน​การ​เลี้ยง การ​จัดการ​เลี้ยง​ดู​ไก่​เนื้อ​แบ่ง​เป็น 2
ระยะ คือ ระยะแ​ รกเ​กิด​ถึง​อายุ 2 สัปดาห์ และร​ ะยะ​รุ่น​จนถึงส​ ่ง​ตลาด (2 สัปดาห์ข​ ึ้นไ​ป) โดย​มี​รายล​ ะเอียด​ดังนี้

1.	 การ​เลี้ยงลูกไ​ ก​เ่ น้อื ​ระยะ​แรก​เกิด​ถงึ อ​ ายุ 2 สปั ดาห์

       การ​เลี้ยง​ไก่​เนื้อ​ระยะ​นี้​ต้อง​ให้การด​ ูแล​เอาใจ​ใส่​เป็น​อย่าง​ดี เนื่อง​จากไก่ย​ ัง​มี​ขนาด​เล็ก สิ่ง​สำคัญ​ใน​ด้าน​การ​
จัดการ​การ​เลี้ยงส​ ำหรับ​ไก่เ​นื้อ​ระยะน​ ี้ ได้แก่

       1.1 		การเต​รี​ยม​โรง​เรือน​เล้ียง​ไก่​เนื้อ การเต​รี​ยม​โรง​เรือน​นับ​ว่า​เป็น​ขั้น​ตอน​ที่​สำคัญ​ของ​การ​เลี้ยง​ไก่​เนื้อ เป็น
​ขั้น​ตอน​ที่​ต้อง​ให้​ความ​สำคัญ เอาใจ​ใส่​และ​ต้อง​ปฏิบัติ​อย่าง​เคร่งครัด เพื่อ​ให้​โรง​เรือน​และ​อุปกรณ์​ที่​ใช้​เลี้ยง​ไก่​เนื้อ​
มี​ความ​สะอาด และ​ปลอด​จาก​เชื้อ​โรค​ต่างๆ มาก​ที่สุด จัด​เป็น​ขั้น​ตอน​ที่​มี​ผลก​ระ​ทบ​โดยตรง​ต่อ​สุขภาพ​ของ​ไก่​เนื้อ
ถ้า​ผู้​เลี้ยง​มี​การเต​รี​ยม​โรง​เรือน​ไม่​ดี​อาจ​เป็น​สาเหตุ​ให้​เกิด​โรค​ระบาด​ขึ้น​ใน​ฟาร์ม​ได้ การเต​รี​ยม​โรง​เรือน​เลี้ยง​ไก่​เนื้อ​
มีข​ ั้น​ตอนต​ ่างๆ ดังนี้

            1.1.1 	 นำ​วสั ด​ุอุปกรณ​์และ​วัสด​ุรอง​พื้น​ออก​จาก​โรง​เรือน กวาด​ภายใน​โรง​เรือน​ให้​สะอาด รวม​ทั้ง​ปรับ​
ระดับพ​ ื้นใ​ห้เ​สมอ​กัน​และ​แน่น

            1.1.2 	 ทำความ​สะอาด​โรง​เรือน​และ​บริเวณ​รอบๆ โรง​เรือน​ ด้วย​น้ำ​ผสม​คลอรีน​ความ​เข้ม​ข้น 60
เปอร์เซ็นต์ โดย​ล้าง​ตั้งแต่​หลังคา​ลง​มา​ตาม​ตาข่าย​หรือ​ฝา​ผนัง​ด้าน​ข้าง โครง​โรง​เรือน อุปกรณ์​ต่างๆ พื้น​โรง​เรือน
รวม​ทั้งบ​ ริเวณ​รอบๆ โรงเ​รือน จาก​นั้นพ​ ่นน​ ้ำยาฆ​ ่าเ​ชื้อโ​รคใ​ห้ท​ ั่ว​ทุกซ​ อก​มุม​ใน​โรงเ​รือน

            1.1.3		 หลัง​จาก​การ​พ่น​น้ำยา​ฆ่า​เชื้อ​โรค​แล้ว​ประมาณ 4 ชั่วโมง ทำการ​ราด​พื้น​รวม​ทั้ง​บริเวณ​ทาง​เดิน​
รอบๆ โรง​เรือนใ​ห้ท​ ั่วด​ ้วย​โซดาไฟ ปล่อย​ทิ้งไ​ว้จ​ น​แห้ง เพื่อ​ทำลายเ​ชื้อ​โรค มดแ​ ละ​แมลง​ต่างๆ

            1.1.4 	 พน่ ส​ าร​ฆ่าแ​ มลง เช่น สาร​ฆ่าแ​ มลง​กลุ่ม​ไซเ​พอ​ ร์​เมทร​ ิน (Cypermetrin) ตาม​พื้น ซอก​มุม​และ​
เพดาน​ให้​ทั่ว​ถึง รวม​ทั้ง​บริเวณ​รอบๆ โรง​เรือน และ​ควร​มี​วิธี​การ​กำจัด​หนู แมลง​สาป และ​แมลงวัน​อย่าง​ต่อ​เนื่อง
​และ​สม่ำเสมอ

            1.1.5 	 การล​ า้ งท​ ำความส​ ะอาดอ​ ปุ กรณต​์ า่ งๆ ด้วยน​ ้ำใ​หส้​ ะอาด แล้วจ​ ุม่ ใ​นน​ ้ำยาฆ​ า่ เ​ชือ้ โ​รค วางผ​ ึ่งใ​หแ้​ หง้ ​
ใน​โรง​เรือน

            1.1.6 	 การนำ​วัสดุ​รอง​พ้ืน​และ​อุปกรณ์​ต่างๆ ติด​ต้ัง​ใน​โรง​เรือน นำ​วัสดุ​รอง​พื้น เช่น แกลบ ปู​พื้น​ให้​
เสมอ​กัน​ทั่ว​บริเวณ​โรง​เรือน ควร​ปู​พื้น​หนา​ประมาณ 2-3 นิ้ว หลัง​จาก​นั้น​นำ​อุปกรณ์​ต่างๆ ​เข้า​ติด​ตั้ง​ให้​เรียบร้อย
โดย​เฉพาะ​อุปกรณ์​กก​ลูกไก่ อุปกรณ์​ให้​อาหาร​และ​น้ำ โดย​ติด​ตั้ง​ให้​อยู่​ใน​สภาพ​พร้อม​ใช้​งาน หลัง​จาก​นั้น​พ่น​ยา​ฆ่า​
เชื้อ​โรค​ใน​โรง​เรือน​ครั้ง​สุดท้าย​โดย​ใช้​ฟอร์มาลิน​เข้ม​ข้น 5 ลิตร​ต่อ​น้ำ 100 ลิตร พ่น​ให้​ทั่ว​โรง​เรือน​ตั้งแต่​หลังคา
ผ้าม​ ่าน ฝาผนัง อุปกรณ์​ต่างๆ และว​ ัสดุ​รอง​พื้น จาก​นั้น​ปิดโ​รงเ​รือนใ​ห้ม​ ิดชิด​จนกว่า​ลูกไก่​จะ​เข้า ควร​ปิด​โรง​เรือน​ไว้​
อย่างน้อย 2 วัน​ก่อนท​ ำการ​รับ​ลูกไก่ร​ ุ่น​ต่อ​ไป

                         ลิขสทิ ธขิ์ องมหาวทิ ยาลยั สุโขทัยธรรมาธริ าช
   102   103   104   105   106   107   108   109   110   111   112