Page 111 - การผลิตสัตว์
P. 111

การผลิตสัตว์ปีก 10-19

       2.5		การ​ระบาย​อากาศ​ภายใน​โรง​เรือน​เลี้ยง​ไก่​เน้ือ ใน​โรง​เรือน​เลี้ยง​ไก่​เนื้อ​ควร​มี​การ​ระบาย​อากาศ​ที่​ดี และ​
เพียง​พอ เพื่อใ​ห้​ไก่เ​นื้อ​อยู่อ​ ย่างส​ บาย การร​ ะบาย​อากาศ​จะ​ช่วย​นำ​แก๊ส​ต่างๆ ที่​เกิดข​ ึ้น​ภายใน​โรง​เรือน​ที่เ​ป็นอ​ ันตราย​
ต่อ​ไก่ เช่น แก๊ส​แอมโมเนีย แก๊ส​คาร์บอนมอนอกไซด์ และ​แก๊ส​คาร์บอนไดออกไซด์​ออก​จาก​โรง​เรือน​เลี้ยง​ไก่ รวม
​ทั้ง​นำเอา​อากาศ​ร้อน​และ​ความชื้น​ออก​จาก​โรง​เรือน และ​ช่วย​นำ​อากาศ​บริสุทธิ์​ที่​มี​ปริมาณ​แก๊ส​ออกซิเจน​จำนวน​มาก
​เข้าส​ ู่​โรงเ​รือน

       2.6 		ความชนื้ ​ภายใน​โรง​เรือนเ​ลยี้ ง​ไกเ่​น้ือ ความชื้น​ในโ​รงเ​รือน​เลี้ยงไ​ก่​มี​ผล​ต่อ​สุขภาพข​ องไ​ก่​โดยตรง ดังน​ ั้น
ผู้เ​ลี้ยง​จะ​ต้อง​ควบคุม​ความชื้น​สัมพันธ์ภ​ ายใน​โรง​เรือนใ​ห้​อยู่​ใน​ช่วง 50-80 เปอร์เซ็นต์

       2.7 		แสง​สว่าง​ภายใน​โรง​เรือน​เล้ียง​ไก่​เน้ือ แสง​สว่าง​มี​ความ​สำคัญ​ต่อ​การ​เจริญ​เติบโต​ของ​ไก่ เนื่องจาก​เป็น​
สิ่ง​กระตุ้น​ให้​ไก่​กิน​น้ำ​และ​อาหาร​ตาม​ปกติ ดัง​นั้น​ใน​โรง​เรือน​เลี้ยง​ไก่​เนื้อ ควร​มี​แสง​สว่าง​อย่าง​เพียง​พอ เพื่อ​ให้​ไก่​
มอง​เห็น​อาหาร​อย่าง​ชัดเจน ปกติ​ใน​ไก่​เนื้อ​จะ​ให้​แสง​สว่าง​วัน​ละ​ประมาณ 23 ชั่วโมง​และ​ปิด​ไฟ​เพื่อ​ให้​มี​ช่วง​เวลา
​มืด​วัน​ละ 1 ชั่วโมง สำหรับ​ความ​เข้ม​ของ​แสงส​ ว่าง​ใน​โรงเ​รือน​เลี้ยง​ไก่ จะ​ต้อง​มีค​ วาม​เข้ม​ของ​แสง​เฉลี่ย​ที่ร​ ะดับ​ตัว​ไก่
ไม่น​ ้อยก​ ว่า 10 ลักซ​ ์ (Lux)

       2.8 		การ​ให้​วคั ซนี ​ไก่​เนื้อ เพื่อเ​ป็นการป​ ้องกัน​โรค​ระบาด​ต่างๆ ที่จ​ ะเ​กิดข​ ึ้น​กับไ​ก่​เนื้อที่​เลี้ยง ผู้​เลี้ยง​ควรม​ ี​การ​
ให้​วัคซีน​ไก่​เนื้อ​ตาม​ช่วง​อายุ​อย่าง​เคร่งครัด ซึ่ง​ชนิด​ของ​วัคซีน ประเภท​ของ​วัคซีน และ​อายุ​ไก่​เนื้อที่​จะ​ให้​วัคซีน​ที่​
กำหนด​ไว้​ใน​โปรแกรม​วัคซีน​จะ​แตก​ต่าง​กัน ขึ้น​กับ​ฟาร์ม​เลี้ยง​ไก่​เนื้อ​แต่ละ​แห่ง และ​สภาพ​ความ​ชุก​ของ​โรค​ระบาด​
ชนิดน​ ั้นๆ

       2.9		การ​จัดการ​เก่ียว​กับ​ไก่​ตาย ใน​ระหว่าง​การ​เลี้ยง หาก​มี​ไก่​ตาย​หรือ​ไก่​คัด​ทิ้ง ควร​กำจัด​โดย​การ​เผา​หรือ
​การ​ฝัง เพื่อ​เป็นการ​ป้องกันก​ าร​แพร่​กระจาย​ของ​เชื้อ​โรค

       2.10		 การ​จด​บันทึก​ข้อมูล​การ​เลี้ยง​ไก่​เนื้อ การ​เลี้ยง​ไก่​เนื้อ​ตั้งแต่​รับ​ลูกไก่​จน​กระทั่ง​จับ​ขาย ผู้​เลี้ยง​ควร​จด​
บันทึก​ข้อมูล​ต่างๆ ที่​เกี่ยวข้อง ได้แก่ วัน​รับ​ลูกไก่​เนื้อ พันธุ์​ไก่​เนื้อที่​เลี้ยง จำนวน​ไก่​เนื้อ​ทั้งหมด​ที่​เริ่ม​ต้น​เลี้ยง
จำนวน​ไก่​เนื้อที่​ตาย​และ​คัด​ทิ้ง​ใน​แต่ละ​วัน น้ำ​หนัก​เฉลี่ย​เมื่อ​เริ่ม​ต้น​เลี้ยง ปริมาณ​อาหาร​ที่​กิน​ใน​แต่ละ​วัน วิตามิน
​และ​ยา​ต่างๆ ที่​ใช้ การ​ทำ​วัคซีน น้ำ​หนัก​ไก่​เนื้อ​ทั้งหมด​ที่​ขาย จำนวน​ไก่​เนื้อ​ทั้งหมด​ที่​ขาย ความ​ยาว​แสง​ที่​ใช้​และ
​เวลา​ให้​แสง​ใน​แต่ละ​วัน อุณหภูมิ​สูงสุด​ต่ำ​สุด​ใน​แต่ละ​วัน และ​ความชื้นสัมพัทธ์​ใน​แต่ละ​วัน ราคา​ลูกไก่ ราคา​อาหาร
ราคา​ยา​และ​วัคซีนท​ ี่​ใช้ และราคา​ไก่​เนื้อที่ข​ าย​ได้

       2.11		 การ​จับ​และ​การ​ขนส่ง​ไก่​เนื้อ​สู่​ตลาด ใน​ขั้น​ตอน​การ​จับ​ไก่​และ​ขนส่ง ผู้​เลี้ยง​ต้อง​ให้​ความ​เอาใจ​ใส่​และ​
ระมัดระวัง​เป็นอ​ ย่างด​ ี เพื่อใ​ห้เ​กิดก​ าร​สูญเ​สีย​หรือ​การต​ ายข​ อง​ไก่​เนื้อ​เหล่าน​ ี้​น้อย​ที่สุด โดย​ต้อง​อดอ​ าหารไ​ก่​เนื้อ​อย่าง​
น้อย 6-10 ชั่วโมง​ก่อนถ​ ึงเ​วลา​เชือดไ​ก่ ควร​จับไ​ก่เ​นื้อ​และ​บรรทุก​ไก่​เนื้อใ​น​เวลา​กลางค​ ืน

       2.12		 การ​จัดการ​เก่ียว​กับ​มูล​ไก่​เน้ือ หลัง​จาก​จับ​ไก่​เนื้อ​ออก​จาก​โรง​เรือน​หมด​แล้ว ผู้​เลี้ยง​ต้อง​นำ​อุปกรณ์​
ต่างๆ ออก​จาก​โรง​เรือน​ให้​หมด​หรือ​แขวน​ไว้​ภายใน​โรง​เรือน และ​ขน​วัสดุ​รอง​พื้น​และ​มูล​ไก่​ออก​จาก​โรง​เรือน​ให้​หมด
ควร​ขน​มูล​ไก่​ออก​นอก​ฟาร์ม​ทันที​ไม่​ควร​กอง​ทิ้ง​ไว้​ภายใน​ฟาร์ม เพราะ​จะ​เป็น​แหล่ง​เพาะ​และ​แพร่​กระจาย​เชื้อ​โรค​
สู่​ไก่​ฝูง​อื่นๆ ในฟ​ าร์ม​ได้

                              ลขิ สิทธข์ิ องมหาวิทยาลยั สุโขทยั ธรรมาธริ าช
   106   107   108   109   110   111   112   113   114   115   116