Page 110 - การผลิตสัตว์
P. 110
10-18 การผลิตสัตว์
2) การจดบันทึกข้อมูล ในระยะกกลูกไก่ ควรมีการจดบันทึกข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง
เช่น จำนวนลูกไก่ตายและคัดทิ้งในแต่ละวัน ปริมาณอาหารที่กิน วิตามินและยาต่างๆ ที่ใช้ การทำวัคซีน อุณหภูมิ
และความชื้นภ ายในโรงเรือน รวมทั้งต ้นทุนค ่าพันธุ์ อาหาร ยาแ ละวัคซีน เป็นต้น
2. การเลยี้ งไกเ่ นอ้ื ระยะรุน่ ถึงส ่งตลาด
การจัดการการเลี้ยงไก่เนื้อในช ่วงระยะรุ่นจนถึงส่งตลาด (2 สัปดาห์ข ึ้นไป) ถือว่ามีความส ำคัญเช่นเดียวกับ
ในระยะกก เนื่องจากไก่เนื้อมีอัตราการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว มีความสามารถในการเปลี่ยนอาหารเป็นเนื้อสูง
จึงเป็นส ัตว์ที่เกิดค วามเครียดได้ง ่าย การจ ัดการไก่เนื้อระยะร ุ่นถ ึงส่งตลาด ได้แก่
2.1 พื้นท่ีเล้ียงไก่เน้ือ พื้นที่ในการเลี้ยงไก่เนื้อควรมีอย่างเพียงพอให้สัตว์อยู่อย่างสบาย มีอิสระในการ
เคลื่อนไหวและไม่ได้รับบาดเจ็บ ขนาดพื้นที่ที่เหมาะสมในการเลี้ยงไก่จะแตกต่างกันตามประเภทของโรงเรือน
ชนิดข องพ ื้นโรงเรือน รวมทั้งขนาดต ัวไก่ในแ ต่ละพันธุ์ ในก ารเลี้ยงไก่เนื้อแ บบป ล่อยพื้น โดยพื้นโรงเรือนปูด้วยว ัสดุ
รองพื้นจำพวกแกลบหรือขี้เลื่อย ถ้าเลี้ยงในโรงเรือนระบบเปิดจะใช้พื้นที่การเลี้ยงไก่เนื้อ 8-10 ตัวต่อพื้นที่ 1
ตารางเมตร หรือคิดเป็นน้ำหนักไก่มีชีวิตรวมไม่เกิน 20 กิโลกรัมต่อพื้นที่ 1 ตารางเมตร แต่ถ้าเลี้ยงในโรงเรือน
ระบบปิดจะเลี้ยงไก่เนื้อ 14-16 ตัวต่อพื้นที่ 1 ตารางเมตร หรือคิดเป็นน้ำหนักไก่มีชีวิตรวมไม่เกิน 34 กิโลกรัมต่อ
พื้นที่ 1 ตารางเมตร
2.2 การให้อาหารไก่เนื้อ อาหารที่ใช้เลี้ยงไก่เนื้อระยะนี้คือ อาหารไก่เนื้อระยะที่ 2 (Grower) ที่ใช้เลี้ยง
ไก่เนื้ออายุ 21-35 วัน และอาหารไก่เนื้อระยะที่ 3 (Finisher) ที่ใช้เลี้ยงไก่เนื้ออายุ 35 วันจนถึงส่งขาย ซึ่งอาหาร
ระยะที่ 2 และ 3 เป็นอาหารอัดเม็ด (Pellets) เพื่อให้ไก่กินได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่เลือกกิน และป้องกันการ
สูญเสียจากการหกหล่น ในการเปลี่ยนอาหารแต่ละระยะจะขึ้นกับอายุและขนาดของไก่ อาหารที่ให้ต้องมีคุณภาพ
ตรงตามความต้องการของไก่เนื้อแต่ละช่วงอายุ และตรงตามสายพันธุ์ไก่เนื้อนั้นๆ เพื่อให้ไก่มีการเจริญเติบโตที่ดี
และให้ผลต อบแทนส ูงสุด สิ่งสำคัญท ี่ต้องคำนึงถ ึง ในการให้อาหารไก่เนื้อคือ ต้องม ีอาหารให้ไก่กินตลอดเวลา และ
ควรมีการปรับค วามสูงข องภ าชนะให้อาหารให้มีระดับความสูงเหมาะส มกับข นาดต ัวไก่ โดยให้ขอบบ นข องรางอาหาร
หรือถ าดอาหารอ ยู่ส ูงกว่าร ะดับหลังไก่เพศเมียประมาณ 1 นิ้ว (2.5 เซนติเมตร)
2.3 การให้น ้ำไก่เนอื้ น้ำที่ใช้เลี้ยงไก่เนื้อ ควรเป็นน ้ำที่ส ะอาด มีค ุณภาพดี ปราศจากส ิ่งเจือปนที่เป็นอันตราย
ต่อสุขภาพของไก่ ควรมีน้ำให้ไก่กินอย่างเพียงพอและตลอดเวลา การจัดอุปกรณ์ให้น้ำควรจัดในปริมาณที่พอเพียง
กับจำนวนไก่ที่เลี้ยง มีการล้างทำความสะอาดอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง อุปกรณ์ให้น้ำควรวางในตำแหน่งที่เหมาะสม
โดยให้ขอบบนของอุปกรณ์ให้น้ำอยู่สูงกว่าระดับหลังไก่เพศเมียประมาณ 1 นิ้ว (2.5 เซนติเมตร) เพื่อป้องกันการ
ปนเปื้อนข องเศษวัสดุร องพ ื้นล งในน้ำ
2.4 อุณหภูมิภายในโรงเรือนเล้ียงไก่เนื้อ เนื่องจากไก่เนื้อเป็นสัตว์ที่มีอุณหภูมิร่างกายสูง การระบายความ
ร้อนออกจากร่างกายจะใช้วิธีการหายใจออกหรือการหอบ และระบายความร้อนออกมากับมูลที่ขับถ่ายออก ถ้า
อุณหภูมิภายในโรงเรือนสูงมากๆ จะทำให้การระบายความร้อนออกจากตัวไก่ได้น้อย ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการ
เลี้ยงไก่เนื้อ โดยทำให้มีอัตราการตายสูงขึ้น การเจริญเติบโตและการให้ผลผลิตลดลง รวมทั้งอาจทำให้เกิดโรค
ระบาดภายในฝูงได้ง่าย ดังนั้นผู้เลี้ยงจะต้องพยายามควบคุมอุณหภูมิภายในโรงเรือนให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม
อุณหภูมิโรงเรือนที่เหมาะสมสำหรับไก่เนื้อในระยะรุ่นถึงจับขาย จะอยู่ในช่วงอุณหภูมิ 20-30 องศาเซลเซียส ที่
อุณหภูมิช ่วงนี้ท ำให้ไก่ม ีการเจริญเติบโตดี ให้ผ ลผลิตท ี่ดี และไม่เกิดค วามเครียด
ลิขสทิ ธิ์ของมหาวทิ ยาลยั สุโขทัยธรรมาธริ าช