Page 51 - การวิจัยการบริหารการศึกษา หน่วยที่ 10
P. 51
เทคนิควิธีและเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล 10-41
(6) การเจริญเติบโต: จำ�นวนข้าราชการในกรม และจำ�นวนกองที่เพิ่มขึ้นในช่วง พ.ศ. 2521
ถึง พ.ศ. 2531
5. วิธีการและเครื่องมือที่ใช้ ใช้วิธีการสัมภาษณ์และแบบสอบถามรวมทั้งการวิเคราะห์เอกสารของ
หน่วยงาน การรวบรวมข้อมูลจากแหล่งปฐมภูมิใช้การวิจัยเชิงสำ�รวจภาคตัดขวาง (ใช้แบบสอบถามและการ
สัมภาษณ์) ส่วนการรวบรวมข้อมูลทุติยภูมิใช้การวิเคราะห์แผนปฏิบัติการประจำ�ปี รายงานผลการปฏิบัติงาน
ของกรม บันทึกเอกสาร ข้อมูลสถิติของกรมต่าง ๆ ตลอดจนแผนภูมิโครงสร้างองค์การ เป็นต้น
6. ประเภทเครื่องมือและตัวแปรที่วัด
ตัวแปร ประเภทเครื่องมือ (มาตรวัด)
6.1 ประสิทธิผลขององค์การ มาตรวัด 28 ข้อ ประกอบด้วย
ก. มาตรวดั ประสทิ ธผิ ลภายในหนว่ ยงานราชการ 8 ขอ้
ข. มาตรวัดประสิทธิผลการใช้งบประมาณของ
หน่วยงานราชการ 20 ข้อ
6.2 ปัจจัยลักษณะองค์การ
6.2.1 โครงสร้างองค์การ มาตรวัดโครงสร้างองค์การหน่วยงานราชการไทย 15 ข้อ
ประกอบด้วย
ก. ความซับซ้อน 6 ข้อ
ข. ความเป็นทางการ 4 ข้อ
ค. การรวมอำ�นาจ 5 ข้อ
6.2.2 การจัดรูปแบบองค์การ มาตรวัดลักษณะการจัดรูปแบบองค์การ 5 ข้อ
6.2.3 กลยุทธ์ทางการบริหาร มาตรวัดกลยุทธ์ทางการบริหาร 19 ข้อ ประกอบด้วย
ก. เทคโนโลยีในการตัดสินใจ 2 ข้อ
ข. การบริหารความไม่แน่นอน 8 ข้อ
ค. การบริหารการเปลี่ยนแปลง 2 ข้อ
ง. การบริหารความขัดแย้ง 3 ข้อ
จ. วัฒนธรรมองค์การ 2 ข้อ
ฉ. ความเจริญเติบโต 2 ข้อ
7. การตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือ (มาตรวัด)
7.1 ความตรงของเครื่องมือ (validity) เครื่องมือทุกฉบับใช้การวิเคราะห์ความตรง ตามเนื้อหา และ
ตามโครงสร้าง ในการวิเคราะห์ความตรงตามเนื้อหานักวิจัยได้ทบทวนทฤษฎีที่เกี่ยวข้องแล้วกำ�หนดเกณฑ์
ที่จะวัดแนวคิดแต่ละเรื่อง แล้วจึงตรวจสอบความตรงตามโครงสร้างของเครื่องมือโดยให้ผู้ทรงคุณวุฒิด้าน
ทฤษฎีองค์การสองท่านเป็นผู้ประเมินเกณฑ์ แล้วจึงเลือกเฉพาะเกณฑ์ที่ผู้เชี่ยวชาญเลือกตรงกันมาเป็นแนว
ในการสร้างข้อคำ�ถาม หลังจากนั้นจึงให้ผู้เชี่ยวชาญอีกคณะหนึ่งเป็นผู้ประเมินเครื่องมือทุกฉบับที่สร้างเสร็จ
เรียบร้อยอีกครั้งก่อนการทดลองใช้
7.2 ความเที่ยงของเครื่องมือ (reliability) เครื่องมือทุกฉบับวิเคราะห์ค่าความเที่ยงโดยวิธี
สัมประสิทธิ์แอลฟ่า ได้ผลดังนี้