Page 53 - การวิจัยการบริหารการศึกษา หน่วยที่ 10
P. 53
เทคนิควิธีและเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล 10-43
ตัวอยา่ งเครื่องมือการวจิ ยั ทางการบรหิ ารการศึกษา
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้มาจากหลายแหล่ง เช่น จากการแปลเครื่องมือที่มีผู้สร้างและนำ�ไปใช้ใน
งานวิจัยทั้งของในประเทศและต่างประเทศ บางกรณีเมื่อมีการแปลแล้ว ได้มีการนำ�มาทดลองใช้แล้วปรับแก้
เพื่อให้สอดคล้องกับวัฒนธรรมไทย นอกจากนี้ยังมีเครื่องมือที่ได้จากการสร้างใหม่โดยนักวิจัยเองซึ่งพบได้
จากงานวิจัยทางการบริหารการศึกษาส่วนใหญ่ (นิตยา ภัสสรศิริ และนรา สมประสงค์. 2551: 37)
สำ�หรับตัวอย่างเครื่องมือที่ได้จากการแปลในแขนงวิชาการบริหารการศึกษา มีอยู่เป็นจำ�นวนมาก
- Least Preferred Co-worker (LPC) Scale ของฟีดเลอร์ (Fiedler)
- แบบสอบถามของเซเลนนี (Zeleny) ใช้สำ�หรับสอบถามการตัดสินใจของผู้บริหาร
- แบบสอบถามของโอเรลลีและโรเบิร์ต (O’Reilly & Roberts) ใช้สำ�หรับสอบถามวิธีการ
ติดต่อสื่อสารของผู้บริหาร
- Self-Assessment Questionnaire for Prospective School Administrators ของ
กอร์ตอน (Gorton)
- Group Atmosphere Scale (GAS) ของ ฟีดเลอร์ (Fiedler) ใช้วัดบรรยากาศของกลุ่ม
- แบบสอบถามวัดภาวะผู้นำ�พหุองค์ประกอบ ฉบับ 5x (Multifactor Leadership Ques-
tionnaire Rater Form 5x-Short: MLQ) ของแบสส์ และอโวลิโอ (Bernard M. Bass and Bruce
J. Avolio. 1995)
- แบบวินิจฉัยวิธีการบริหารจัดการของผู้นำ� (The Management Style Diagnosis Test,
MSDT) ซึ่งสร้างโดย วิลเลียม เจ เรดดิน (William J. Reddin)
เครื่องมือเหล่านี้ บางฉบับได้รับการพัฒนาและทดลองใช้หลายครั้งจนมีคุณภาพ และได้มาตรฐาน
โดยเฉพาะบางฉบับได้นำ�ไปใช้ในงานวิจัยในหลายประเทศ เครื่องมือประเภทนี้เหมาะในการตรวจสอบทฤษฎี
ทางการบริหารทฤษฎีใดทฤษฎีหนึ่งในบริบทต่าง ๆ บางประเภทใช้ในการศึกษาคุณลักษณะบางประการของ
พฤติกรรมองค์การในบริบทต่าง ๆ อย่างไรก็ตามเมื่อจะนำ�เครื่องมือเหล่านี้มาใช้ในบริบทของไทย ผู้วิจัย
ควรได้มีการนำ�ไปทดลองใช้ก่อนเพื่อให้มั่นใจว่า มีความเหมาะสมหรือไม่ โดยศึกษาคุณภาพจากความตรง
และความเที่ยงของเครื่องมือ