Page 39 - การวิจัยและสถิติทางการศึกษา หน่วยที่ 4
P. 39

การออกแบบการวิจัย 4-29

จะหารายชื่อได้ไม่ครบ แต่บางคนอาจนำ�รายชื่ออื่นๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องมารวมกัน ซึ่งล้วนทำ�ให้การสุ่มตัวอย่างได้
ตัวอย่างไม่เป็นตัวแทนประชากรที่แท้จริง เมื่อได้กรอบการสุ่มแล้ว นักวิจัยจึงเลือกกลุ่มตัวอย่างจากกรอบ
การสุ่มต่อไป วิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างที่นิยมใช้ มีดังต่อไปนี้

       2.1 การสุ่มกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ความน่าจะเป็น
            2.1.1 	การสุ่มตัวอย่างโดยใช้การสุ่มอย่างง่าย (simple random sampling) หมายถึง การเลือก

ตัวอย่างจำ�นวน n จากประชากรที่ต้องการศึกษา ในการสุ่มตัวอย่างอย่างง่ายนั้น ทุกหน่วยมีโอกาสในการถูก
เลอื กเทา่ กนั การเลอื กวธิ กี ารสุม่ ตวั อยา่ งแบบนีต้ อ้ งมรี ายชือ่ ของสมาชกิ ของประชากร (sampling frame) แลว้
เลอื กตวั อย่างโดยการสุม่ ให้มีจำ�นวนที่ต้องการ วธิ กี ารที่ใช้มาก เชน่ การจับฉลาก การสุ่มโดยใหค้ อมพวิ เตอร์
ช่วยเลือกแบบสุ่ม และการสุ่มตัวอย่างจากตารางเลขสุ่ม

            2.1.2 	การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น (stratified sampling) ประชากรจะถูกแบ่งออกเป็นชั้น
(strata) หลายๆ ชั้นจากนั้นจึงเลือกตัวอย่างอย่างสุ่มจากชั้นต่างๆ ให้ได้จำ�นวนที่ต้องการ ตัวอย่างเช่น ถ้า
เลือกโรงเรียนมาทำ�การศึกษาวิจัย โดยใช้โรงเรียนเป็นหน่วยในการวิเคราะห์ ตัวแปรที่ใช้ในการแบ่งชั้นอาจ
เปน็ ขนาดโรงเรยี น (เลก็ กลาง ใหญ)่ และทีต่ ัง้ ของโรงเรยี น (นอกเมอื ง และในเมอื ง) ดงั นัน้ ประชากรโรงเรยี น
จะแบ่งออกเป็น 6 ชั้น ดังกรอบที่เป็นสีเทาในตารางที่ 4.4 ต่อไปนี้ จากนั้นจึงสุ่มเลือกกลุ่มตัวอย่างให้ได้ครบ
จำ�นวน

         ตารางที่ 4.4 ตวั อย่างการออกแบบการเลือกตัวอยา่ งด้วยการสมุ่ ตวั อย่างแบบแบ่งชน้ั

     ทตี่ งั้               ขนาดโรงเรยี น  รวม
               เล็ก กลาง ใหญ่
นอกเมือง
ในเมือง
รวม

            2.1.3 การสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (cluster sampling) ประชากรของการวิจัยแต่ละหน่วยจะถูก
ยุบรวมกันให้เป็นหน่วยการสุ่มหลายๆ หน่วย (clusters) โดยส่วนใหญ่การสุ่มแบบนี้ใช้เมื่อนักวิจัยไม่มี
รายชื่อสมาชิกของประชากรทุกหน่วย จึงไม่สามารถใช้การสุ่มอย่างง่ายได้ เช่น นักวิจัยต้องการสอบถาม
ปริมาณเวลาที่ครูในกรุงเทพมหานครใช้เตรียมการสอน แต่นักวิจัยไม่ทราบรายชื่อของครูทุกคน แต่มีรายชื่อ
ของโรงเรียนในทุกเขต นักวิจัยอาจเลือกเขตในกรุงเทพฯ มาจำ�นวน 10 เขต แล้วให้ครูทุกคนใน 10 เขต
ตอบแบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่างที่ได้เรียกว่า กลุ่มตัวอย่างที่ได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม นอกจากนี้ การสุ่ม
ตัวอย่างแบบนี้จะใช้เมื่อนักวิจัยมีงบประมาณจำ�กัด หรือต้องการศึกษาทั้งอิทธิพลของหน่วยการสุ่มแรก
(primary unit) เช่น เขต และหน่วยการสุ่มที่สอง (secondary unit) เช่น ครู
   34   35   36   37   38   39   40   41   42   43   44