Page 42 - การวิจัยและสถิติทางการศึกษา หน่วยที่ 4
P. 42

4-32 การวิจัยและสถิติทางการศึกษา

       2.2 การสุ่มกลุ่มตัวอย่างโดยไม่ใช้ความน่าจะเป็น
            2.2.1	 การเลอื กตวั อยา่ งตามสะดวก (convenient sampling) เปน็ การเลอื กกลมุ่ ตวั อยา่ งทนี่ กั วจิ ยั

หาได้สะดวก ณ เวลาหนึ่ง เช่น ครูบรรณารักษ์ต้องการทราบความคิดเห็นของนักเรียนเกี่ยวกับคุณภาพการ
ให้บริการของห้องสมุด จึงเลือกนักเรียนที่เข้ามาห้องสมุด 50 คนแรก ในเดือนที่สองนับตั้งแต่วันเปิดเทอม
เพื่อสอบถามเกี่ยวกับคุณภาพการบริการของห้องสมุด อีกตัวอย่างหนึ่งคือ ครูวิทยาศาสตร์เลือกนักเรียนใน
ชมรมวิทยาศาสตร์ให้ตอบแบบสอบถามเกี่ยวกับทัศนคติต่อวิชาวิทยาศาสตร์ การสุ่มตัวอย่างตามสะดวก
มีความสะดวกต่อนักวิจัย แต่มีความลำ�เอียง (bias) เพราะได้กลุ่มตัวอย่างที่ไม่เป็นตัวแทนของประชากรที่
ต้องการศึกษา

            2.2.2 	การเลอื กตวั อยา่ งแบบเจาะจง (purposive sampling) เปน็ การใชว้ จิ ารณญานของนกั วจิ ยั
ในการเลอื กผูท้ ีจ่ ะใหข้ อ้ มลู ทีต่ อ้ งการ ซึง่ นกั วจิ ยั ตอ้ งอาศยั ขอ้ มลู จากแหลง่ ตา่ งๆ แลว้ พจิ ารณาวา่ ผูใ้ ดควรเปน็
ตวั อยา่ งในการวจิ ยั นนั้ แตไ่ มใ่ ชค่ ดิ เพยี งแคว่ า่ กลมุ่ ตวั อยา่ งนัน้ หาไดส้ ะดวก แตต่ อ้ งพจิ ารณาใหร้ อบคอบวา่ คน
ทีถ่ กู เลอื กจะใหข้ อ้ มลู ทีต่ อ้ งการไดห้ รอื ไม่ เชน่ ถา้ นกั วจิ ยั ตอ้ งการทราบวา่ การจดั การเรยี นการสอนดว้ ยการใช้
อีเลิร์นนิ่ง (e-learning) มีปัญหาและอุปสรรคอะไรบ้าง และกลุ่มตัวอย่างที่ต้องการควรเป็นครูที่จัดการเรียน
การสอนดว้ ยการใชอ้ เี ลริ น์ นิง่ และนกั วจิ ยั ไมม่ ขี อ้ มลู วา่ ครคู นใดบา้ งจดั การเรยี นการสอนแบบนี้ แตถ่ า้ นกั วจิ ยั
ได้สืบค้นและข้อมูลจากครูคนหนึ่งว่ามีกลุ่มครูที่รวมตัวกันด้านการจัดเรียนการสอนด้วยสื่ออิเล็กทรอนิกส์
อยู่กลุ่มหนึ่ง ดังนั้น นักวิจัยจะพิจารณาว่าครูกลุ่มนี้ควรเป็นผู้ให้ข้อมูลได้หรือไม่ ถ้าพิจารณาแล้วเห็นว่า
เหมาะสมก็จะเลือกครูกลุ่มนี้มาสอบถามปัญหา การเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบนี้ใช้มากในการวิจัยเชิงคุณภาพ

            2.2.3 การเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบโควตา (quota sampling) เป็นการเลือกกลุ่มตัวอย่างจาก
กลุ่มต่างๆ ที่คิดว่าเป็นกลุ่มที่เป็นตัวแทนในประชากร เช่น การเลือกจากกลุ่มนักเรียนชายและกลุ่มนักเรียน
หญิงให้สอดคล้องกับสัดส่วนในประชากรชายและหญิง การเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบนี้คล้ายกับการเลือกกลุ่ม
ตวั อยา่ งแบบแบง่ ชัน้ เชน่ การใชเ้ พศเปน็ เกณฑใ์ นการแบง่ กลุม่ แตม่ คี วามแตกตา่ งทีส่ �ำ คญั คอื การเลอื กกลุม่
ตัวอย่างแบบโควตา เลือกกลุ่มตัวอย่างโดยไม่ใช้การสุ่ม เช่น การเลือกอย่างง่าย หรือแบบเจาะจงให้ได้ครบ
ตามสัดส่วน แต่การเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น ใช้หลักของการสุ่มเลือกกลุ่มตัวอย่างให้ครบตามสัดส่วน

            2.2.4 การเลือกตัวอย่างแบบลูกโซ่ (snowball sampling) เป็นการเลือกตัวอย่างในสถานการณ์
ที่ผู้วิจัยไม่ทราบรายชื่อและจำ�นวนของประชากร โดยเฉพาะกลุ่มผู้ให้ข้อมูลเป็นกลุ่มที่ค่อนข้างปิดตัว เช่น
กลุ่มผู้ติดยาเสพติด กลุ่มนักพนัน เป็นต้น การเลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยเทคนิคนี้คือ เริ่มต้นด้วยกลุ่มตัวอย่าง
จำ�นวนเล็กๆ ก่อน แล้วจึงให้กลุ่มตัวอย่างกลุ่มเล็กนั้นช่วยกันระบุตัวอย่างคนอื่นๆ ที่พวกเขารู้จัก หรือ
คุ้นเคย เพิ่มเติมจนได้กลุ่มตัวอย่างที่ใหญ่ขึ้น
   37   38   39   40   41   42   43   44   45   46   47