Page 46 - การวิจัยและสถิติทางการศึกษา หน่วยที่ 4
P. 46
4-36 การวิจัยและสถิติทางการศึกษา
เร่อื งที่ 4.2.3 ตวั อย่างการออกแบบการวจิ ัยเชงิ พรรณนา
ตวั อยา่ งการออกแบบการวจิ ยั เชงิ พรรณนาทีน่ �ำ มาเสนอ คอื งานวจิ ยั ของ สงั วรณ์ งดั กระโทก (2552)
เรื่อง คุณภาพการสอนวิทยาศาสตร์และความสามารถทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนไทย: ข้อค้นพบและ
ข้อเสนอทางนโยบายจากการประเมินนักเรียนระดับนานาชาติ ซึ่งเป็นงานวิจัยที่ได้รับรางวัลงานวิจัยระดับดี
จากสำ�นักงานคณะกรรมการการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ประจำ�ปี พ.ศ. 2552 ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้
วัตถปุ ระสงคข์ องการวิจัย
1. เพื่อเปรียบเทียบปัจจัยต่างๆ ของนักเรียนที่มีผลการประเมินสูงกว่าค่าเฉลี่ยระดับนานาชาติ
และนักเรียนที่มีผลการประเมินตํ่ากว่าค่าเฉลี่ยระดับนานาชาติ ปัจจัยที่นำ�มาเปรียบเทียบ ได้แก่ จำ�นวนเวลา
ที่ใช้ศึกษาวิทยาศาสตร์ การเห็นคุณค่าของวิทยาศาสตร์ ความสนใจในวิทยาศาสตร์ ความสุขในการเรียน
วิทยาศาสตร์ ความเชื่อมั่นเกี่ยวกับสมรรถภาพในการเรียนวิทยาศาสตร์ มโนทัศน์เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ของ
นักเรียน ความมั่งคั่งและปัจจัยทางเศรษกิจ สังคม และวัฒนธรรมของครอบครัว
2. เพือ่ เปรยี บเทยี บจำ�นวนเวลาที่ใชศ้ ึกษาวิทยาศาสตรข์ องนกั เรียน ความสามารถทางวทิ ยาศาสตร์
การให้คุณค่ากับวิทยาศาสตร์ ความสนใจในวิทยาศาสตร์ ความสนุกสนานในการเรียนวิทยาศาสตร์ ความ
เชื่อมั่นเกี่ยวกับสมรรถภาพในการเรียนวิทยาศาสตร์ และมโนทัศน์เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนไทย
ตามตำ�แหน่งที่ตั้งของโรงเรียน ขนาดโรงเรียน ความมั่งคั่งของครอบครัว และปัจจัยทางเศรษกิจ สังคม และ
วัฒนธรรมของครอบครัว
3. เพือ่ หาองคป์ ระกอบขอ้ จ�ำ กดั ดา้ นทรพั ยากรทางการศกึ ษาของโรงเรยี นทีท่ �ำ ใหค้ ณุ ภาพการจดั การ
ศึกษาของโรงเรียนลดลง
4. เพื่อประเมินผลขององค์ประกอบของการจัดการเรียนการสอนของครูและองค์ประกอบเกี่ยวกับ
ข้อจำ�กัดด้านทรัพยากรทางการศึกษาของโรงเรียน ต่อความสามารถทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียน
5. เพอื่ ศกึ ษาวา่ การประกนั คณุ ภาพการศกึ ษา เทคโนโลยกี ารศกึ ษา ปจั จยั โรงเรยี น และองคป์ ระกอบ
ข้อจำ�กัดด้านทรัพยากรทางการศึกษาของโรงเรียนส่งผลต่อคุณภาพการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ของครูใน
องค์ประกอบใดบ้าง อย่างไร
วิธีดำ�เนินการวจิ ยั
ข้อมูลที่ใช้ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสำ�รวจเพื่อศึกษาคุณภาพการสอนวิทยาศาสตร์ของครู และ
ปัจจัยที่สัมพันธ์และส่งเสริมการสอนและเรียนวิทยาศาสตร์ของไทย การวิจัยครั้งนี้ใช้ข้อมูลทุติยภูมิ
(secondary data) ข้อมูลที่ใช้คือ ผลการประเมินความสามารถทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนจากโครงการ
PISA ที่ได้ดำ�เนินการเก็บรวบรวมข้อมูลประเมินในปี พ.ศ. 2549 โครงการประเมินนี้เป็นโครงการประเมิน