Page 45 - การวิจัยและสถิติทางการศึกษา หน่วยที่ 4
P. 45

การออกแบบการวิจัย 4-35

            3.4.4 	เมื่อใชก้ ารเลอื กตัวอยา่ งแบบกลุม่ (cluster sampling) วธิ ีการกำ�หนดขนาดกลุ่มตัวอย่าง
แบบกลุ่มที่ทำ�ง่ายๆ คือ การเริ่มต้นขนาดกลุ่มตัวอย่างด้วยการสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย และปรับจำ�นวนด้วยผล
จากความแตกต่างของวิธีการสุ่ม (Design Effect: DEFF) หรือเป็นผลที่เกิดจากการสุ่มตัวอย่างที่ไม่ใช้การ
สุ่มแบบกลุ่มโดยตรง ซึ่ง DEFF เป็นสัดส่วนของความแปรปรวนของค่าเฉลี่ยเมื่อออกแบบการสุ่มที่ซับซ้อน
กว่าต่อความแปรปรวนของค่าเฉลี่ยที่ได้จากการสุ่มอย่างง่าย และคำ�นวณจาก DEFF = 1 + ICC (m — 1)
เมื่อ m คือ ค่าเฉลี่ยขนาดของกลุ่ม ICC คือ ค่าความสัมพันธ์ระหว่างชั้น (IntraClass Correlation) ซึ่ง ICC
บ่งชี้ความไม่เป็นอิสระต่อกันของกลุ่มตัวอย่าง และ ICC คำ�นวณได้จากผลการวิเคราะห์ความแปรปรวน ซึ่ง
มีค่าเท่ากับ SSB/SST สมมติถ้า DEFF มีค่าเท่ากับ 3 จะแปลความหมายได้ว่า ความแปรปรวนที่ได้จากกลุ่ม
ตัวอย่างจะมากกว่าค่าที่ควรจะเป็น 3 เท่า (หรือมากกว่าเมื่อใช้การสุ่มอย่างง่าย 3 เท่า) ดังนั้น เพื่อลดความ
แปรปรวนให้เทียบเท่ากับการสุ่มอย่างง่ายจึงต้องใช้กลุ่มตัวอย่างเพิ่มอีก 3 เท่า ซึ่งสูตรทั่วไป คือ

                                   n = nSRS.DEFF

       เมื่อ nSRS คือ กลุ่มตัวอย่างจากการคำ�นวณจากสูตรการสุ่มอย่างง่าย

4. 	การออกแบบพัฒนาเคร่อื งมอื และวิธีการเก็บรวบรวมขอ้ มูล

       เครื่องมือเกบ็ รวบรวมข้อมลู ส�ำ หรับการวจิ ยั เชงิ พรรณนามีมากมาย เช่น แบบทดสอบ แบบสอบถาม
แบบสัมภาษณ์ แบบสังเกต แบบตรวจสอบรายการ ฯลฯ การพัฒนาเครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูลต้องให้มี
ความตรงและความเที่ยง ซึ่งเป็นดัชนีวัดคุณภาพของเครื่องมือวิจัย กระบวนการพัฒนาเครื่องมือต้องใช้
กระบวนการที่มีมาตรฐานและเป็นที่ยอมรับ เพื่อให้เครื่องมือมีคุณภาพ ประเด็นสำ�คัญที่นักวิจัยต้องใส่ใจ
ในการพัฒนาเครื่องมือ คือ การใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย ตรงประเด็น สั้นและกระชับ เพื่อลดความคลาดเคลื่อน
ในการวัด และให้ผู้ตอบได้อย่างง่ายๆ ไม่ต้องเดาความหมายคำ� หรือประโยคที่ไม่ชัดเจน

       ในบางครั้งนักวิจัยสามารถนำ�เครื่องมือมาตรฐานหรือเครื่องมือที่ผู้อื่นสร้างไว้มาใช้ก็ได้ แต่นักวิจัย
ต้องพิจารณาว่าจะต้องลดหรือเพิ่มคำ�ถามบางคำ�ถามหรือไม่ เพราะคำ�ถามที่ผู้อื่นสร้างไว้อาจยังไม่ตรงกับ
บริบทที่นักวิจัยกำ�ลังศึกษา นอกจากนี้ ต้องมีการประเมินความคลาดเคลื่อนในการวัดอีกครั้ง เพราะความ
เที่ยงของเครื่องมือแปรเปลี่ยนไปตามกลุ่มตัวอย่าง

       นอกจากนี้ นักวิจัยต้องเลือกวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลว่าจะใช้วิธีการอะไรจึงจะได้ข้อมูลที่เหมาะสม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลมีมากมาย เช่น การทดสอบ การสัมภาษณ์ การส่งแบบสอบถามทางไปรษณีย์ การ
ประชมุ กลุม่ (focus group) การสำ�รวจทางอินเทอร์เนต็ เปน็ ตน้ นกั วจิ ยั ต้องพิจารณาเลือกวิธกี ารทีเ่ หมาะสม
และสอดคล้องกับทรัพยากรของการวิจัย

              หลงั จากศึกษาเนื้อหาสาระเร่อื งท่ี 4.2.2 แล้ว โปรดปฏบิ ตั กิ ิจกรรม 4.2.2
                      ในแนวการศึกษาหนว่ ยท่ี 4 ตอนที่ 4.2 เร่อื งที่ 4.2.2
   40   41   42   43   44   45   46   47   48   49   50