Page 49 - การวิจัยและสถิติทางการศึกษา หน่วยที่ 4
P. 49

การออกแบบการวิจัย 4-39

       ตัวแปรระดับโรงเรียน ที่ใช้ ประกอบด้วย
       1. 	ตัวแปรดัมมี่โรงเรียนในเขตตัวเมือง (URBAN) 1 = โรงเรียนในเขตเมือง และ 0 = โรงเรียน
นอกเมือง
       2. 	ตัวแปรดัมมี่ชั้นเรียนขนาดเล็ก (SCLASS) 1 = มีนักเรียนน้อยกว่าหรือเท่ากับ 30 คน และ
0 = มีนักเรียนตั้งแต่ 31 คน ขึ้นไป
       3. 	ขนาดโรงเรียน (SCZIZE) วัดได้จากจำ�นวนนักเรียนในโรงเรียน
       4. 	การประกันคุณภาพการศึกษา (ACCOUNT) เป็นตัวแปรเกี่ยวกับการเปิดเผยผลการทำ�งาน
ของโรงเรียนต่อสังคม การที่สังคมมีความคาดหวังและแรงผลักดันต่อการทำ�งานของโรงเรียน และโรงเรียน
มีการนำ�ผลการเรียนของนักเรียนมาปรับปรุงการปฏิบัติงานของโรงเรียน ค่าความเที่ยงเท่ากับ .50
       5. 	บรรยากาศการสง่ เสรมิ วทิ ยาศาสตรใ์ นโรงเรยี น (SCIENVI) เปน็ ตวั แปรทีเ่ กีย่ วกบั การมกี จิ กรรม
ประเภทต่างๆ ที่จัดขึ้นเพื่อส่งเสริมการเรียนวิทยาศาสตร์ในโรงเรียน ค่าความเที่ยงเท่ากับ .65
       6. 	อัตราส่วนของครูต่อนักเรียน (TSRATIO)
       7. 	จำ�นวนคอมพิวเตอร์สำ�หรับการเรียนการสอน (COMINST)
       8. 	จำ�นวนคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมอินเทอร์เน็ตได้ (COMINTER)
       9. 	ผลกระทบของขอ้ จ�ำ กดั ดา้ นทรพั ยากรทางการศกึ ษาตอ่ คณุ ภาพการสอนของโรงเรยี น (CAPAC)
ตัวแปรนี้ได้จากการประเมินตนเองของโรงเรียนเกี่ยวกับความสามารถของโรงเรียนในการจัดการเรียนการ
สอน เมอื่ วสั ดุ อปุ กรณ์ และสอื่ การเรยี นการสอนไมเ่ พยี งพอ รวมถงึ การทโี่ รงเรยี นมคี รแู ละบคุ ลากรไมเ่ พยี งพอ
ค่าความเที่ยงเท่ากับ .90

วิธีการวเิ คราะห์ข้อมูล

       การวิจัยนี้ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลหลากหลายวิธีเพื่อตอบคำ�ถามวิจัยข้างต้น รายละเอียดของการ
วัตถุประสงค์ของการวิเคราะห์ข้อมูลและวิธีการวิเคราะห์ข้อมูล มีดังต่อไปนี้

       วัตถุประสงค์การวิจัยที่ 1: การวิเคราะห์สถิติเชิงบรรยายของข้อมูลพื้นฐานของนักเรียนไทยที่เข้า
ร่วมโครงการประเมินในปี พ.ศ. 2549

       การวิเคราะห์ข้อมูลนี้ใช้การวิเคราะห์การแจกแจงความถี่และไคสแควร์ เพื่อศึกษาการแจกแจงของ
จำ�นวนนักเรียนที่มีความสามารถสูงกว่าค่าเฉลี่ยนานาชาติ และตํ่ากว่าค่าเฉลี่ยนานาชาติ จำ�แนกตามเพศ
ที่ตั้งของโรงเรียน และประเภทของโรงเรียน

       วัตถุประสงค์การวิจัยที่ 2: เพื่อเปรียบเทียบปัจจัยเอื้อต่อการเรียนวิทยาศาสตร์ปัจจัยต่างๆ ระหว่าง
กลุ่มนักเรียนที่มีผลการประเมินสูงกว่าค่าเฉลี่ยระดับนานาชาติ และกลุ่มนักเรียนที่มีผลการประเมินตํ่ากว่า
ค่าเฉลี่ยระดับนานาชาติ ปัจจัยที่นำ�มาเปรียบเทียบ ได้แก่ การเห็นคุณค่าของวิทยาศาสตร์ ความสนใจใน
วิทยาศาสตร์ ความสุขในการเรียนวิทยาศาสตร์ ความเชื่อมั่นเกี่ยวกับสมรรถภาพในการเรียนวิทยาศาสตร์
มโนทัศน์เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ และเวลาที่ใช้ในการศึกษาวิทยาศาสตร์
   44   45   46   47   48   49   50   51   52   53   54