Page 54 - การวิจัยและสถิติทางการศึกษา หน่วยที่ 4
P. 54
4-44 การวิจัยและสถิติทางการศึกษา
เรอ่ื งท่ี 4.3.1 ค�ำ ถามวิจัยเชิงทดลอง
การวิจัยเชิงทดลอง (experimental research) เป็นการวิจัยที่มุ่งศึกษาความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ
(causal effect) ของตัวแปรสองตัว หรือมากกว่าสองตัว ตัวแปรสำ�คัญในการวิจัยเชิงทดลอง ประกอบด้วย
ตัวแปรทดลอง (x) หรือตัวแปรอิสระ (independent variable) และตัวแปรตาม (dependent variable)
หรือตัวแปร y ตัวแปรทดลองเป็นตัวแปรที่นักวิจัยทำ�การเปลี่ยนแปลงหรือจัดกระทำ� (manipulate) เพื่อ
ศึกษาว่าการจัดกระทำ�นั้นทำ�ให้ตัวแปรตามเปลี่ยนแปลงหรือไม่ อย่างไร การวิจัยเชิงทดลองถือว่าเป็นวิธีการ
ที่สามารถช่วยให้นักวิจัยสรุปผลการวิจัยในรูปของสาเหตุ-ผลลัพธ์ได้ดีกว่าการวิจัยรูปแบบอื่นๆ และถือเป็น
มาตรฐานของการบอกความเป็นสาเหตุ (golden standard for causal inference)
ดังนั้น คำ�ถามวิจัยเชิงทดลองจึงเป็นคำ�ถามที่ต้องการศึกษาผลของตัวแปรอิสระต่อตัวแปรตาม
Meltzolf (1998) กล่าวว่า คำ�ถามวิจัยที่เป็นการวิจัยทดลอง แบ่งออกเป็นสามประเภท ดังนี้
1. คำ�ถามวิจัยเกี่ยวสาเหตุ-ผลลัพธ์ (causal question) เป็นคำ�ถามที่ต้องการศึกษาว่าตัวแปร x ส่ง
ผลต่อ y หรือไม่ เช่น การดรู ายการโทรทศั น์ทีม่ ีเนื้อหารุนแรงส่งผลทำ�ให้เดก็ มพี ฤตกิ รรมก้าวรา้ วหรอื ไม่ หรอื
การปฏิรูปการศึกษาส่งผลให้คุณภาพการศึกษาดีขึ้นหรือไม่ การตั้งคำ�ถามวิจัยเกี่ยวกับสาเหตุ-ผลลัพธ์เช่นนี้
ต้องใช้การวิจัยที่เป็นการวิจัยทดลองเพื่อทำ�การศึกษาผลของตัวแปรอิสระ เพื่อให้สามารถสรุปผลการวิจัยใน
เชิงสาเหตุของตัวแปรต่างๆ ได้ถูกต้อง
2. ค�ำ ถามวจิ ยั เกีย่ วกบั การเปรยี บเทยี บขนาดของสาเหต-ุ ผลลพั ธ์ (causal-comparative questions)
เป็นคำ�ถามวิจัยที่มุ่งศึกษาว่าวิธีการหรือทรีตเมนต์ตั้งแต่สองวิธีขึ้นไปส่งผลต่อตัวแปรตามต่างกันหรือไม่
เช่น การทำ�การทดลองเพื่อเปรียบเทียบวิธีการสอนสองวิธีว่าวิธีใดดีกว่ากัน จะเห็นว่าการวิจัยในลักษณะนี้
จะทำ�การเปรียบเทียบทรีตเมนต์สองอย่างขึ้นไป ไม่ใช่เพียงแค่การเปรียบเทียบกับกลุ่มที่ไม่ได้รับทรีตเมนต์
เท่านั้น เพื่อให้มีข้อมูลว่าทรีตเมนต์มีประสิทธิภาพจริงหรือไม่
3. คำ�ถามวิจัยเกี่ยวกับการเปรียบเทียบเชิงสาเหตุ-ผลลัพธ์ที่มีปฏิสัมพันธ์ (causal-comparative
interaction questions) เป็นค�ำ ถามวิจยั ที่ศกึ ษาว่าผลของตวั แปรตัง้ แต่สองตัวขึ้นไปต่อตวั แปรตามตา่ งกนั ใน
บางเงื่อนไขหรือไม่ เช่น การสอนด้วยเกมดีกว่าการสอนแบบบรรยายในกลุ่มนักเรียนชาย ไม่ใช่กลุ่มนักเรียน
หญงิ หรอื ไม่ การศกึ ษาแบบนีม้ ตี วั แปรอสิ ระมากกวา่ หนึง่ ตวั ท�ำ ใหส้ ามารถศกึ ษาปฏสิ มั พนั ธข์ องตวั แปรอสิ ระ
ได้ ทำ�ให้การอธิบายความเป็นสาเหตุละเอียดและลึกซึ้งมากขึ้น
การทีน่ กั วจิ ยั ตัง้ ค�ำ ถามเกีย่ วกบั ความสมั พนั ธข์ องตวั แปรในรปู ความสมั พนั ธเ์ ชงิ สาเหตเุ หลา่ นี้ จะน�ำ
สู่การออกแบบการวิจัยที่สามารถทำ�การเปรียบเทียบให้เห็นผลของตัวแปรอิสระต่อตัวแปรตาม และสามารถ
ตอบคำ�ถามของความสัมพันธ์เชิงสาเหตุได้ ซึ่งถ้านักวิจัยสามารถทำ�การทดลองได้ก็จะเป็นการออกแบบการ