Page 55 - การวิจัยและสถิติทางการศึกษา หน่วยที่ 4
P. 55

การออกแบบการวิจัย 4-45

วิจัยเชิงทดลอง แต่ถ้าไม่สามารถดำ�เนินการทดลองได้ก็ต้องออกแบบการวิจัยแบบอื่นๆ แต่ก็ต้องการสรุปผล
ในรูปเชิงสาเหตุ-ผลลัพธ์ได้ แต่ผลการวิจัยจะไม่ชัดเจนเท่ากับการวิจัยเชิงทดลอง

              หลังจากศกึ ษาเน้ือหาสาระเรอ่ื งที่ 4.3.1 แล้ว โปรดปฏบิ ัติกจิ กรรม 4.3.1
                      ในแนวการศึกษาหนว่ ยที่ 4 ตอนท่ี 4.3 เรอื่ งที่ 4.3.1

เรื่องที่ 4.3.2 หลกั การออกแบบการวิจัยเชิงทดลอง

       การออกแบบการทดลองเพื่อระบุความสัมพันธ์ในเชิงสาเหตุของตัวแปรต้องมีความมั่นใจว่าผลการ
ทดลองเป็นผลมาจากตัวแปรอิสระ ไม่ใช่ผลจากปัจจัยอื่นๆ ที่ผู้วิจัยไม่ได้ศึกษา การดำ�เนินการออกแบบการ
วิจัยเชิงทดลองที่เหมาะสมจะช่วยให้นักวิจัยสามารถควบคุมความแปรปรวน ซึ่งก็คือหลักของ max min
con ดังนี้

       1. 	การเพิม่ ความแปรปรวนเชงิ ระบบใหม้ ากทสี่ ดุ (maximization of systematic variance) เปน็ การ
ควบคมุ ใหเ้ กิดความแปรปรวนระหว่างกลุม่ ของการทดลอง อันเนื่องมาจากการจัดกระทำ�ตัวแปรอสิ ระใหม้ าก
ที่สุด กล่าวคือ ผู้วิจัยต้องจัดระดับของตัวแปรอิสระของกลุ่มการทดลองแต่ละกลุ่มให้มีความแตกต่างกัน
ให้มากที่สุด เพื่อให้มีความชัดเจนในการเปรียบเทียบผลของตัวแปรตาม เช่น การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์
ทางการเรียนจากวิธีการสอนสองวิธี วิธีสอนทั้งสองวิธีเป็นตัวแปรอิสระต้องมีความแตกต่างกันอย่างชัดเจน
เพื่อให้เกิดความแตกต่างในตัวแปรตามหรือผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ซึ่งถ้าปรากฏว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
จากการสอนทั้งสองวิธีแตกต่างกันก็อาจจะสรุปได้ว่าเป็นเพราะใช้วิธีการสอนแตกต่างกัน แต่ถ้าวิธีการสอนที่
นำ�มาเปรียบเทียบกันมีความคาบเกี่ยวกัน ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนอาจแตกต่างกันไม่ชัดเจน

       2. 	การลดความแปรปรวนที่เกิดขึ้นจากความคลาดเคลื่อนให้มีน้อยที่สุด (minimization of error
variance) ความคลาดเคลื่อนของการวิจัยเชิงทดลอง หมายถึง ความคลาดเคลื่อนจาการวัด ในการวิจัยต้อง
ลดความคลาดเคลื่อนเหล่านี้ให้เหลือน้อยที่สุด โดยใช้เครื่องมือวัดที่มีคุณภาพ และเก็บรวบรวมข้อมูลด้วย
วิธีการที่มีคุณภาพ

       3. 	การควบคุมให้ความแปรปรวนเนื่องจากตัวแปรแทรกซ้อนให้คงที่ (control of extraneous
variables) ในการทดลองที่ไม่สามารถทำ�การควบคุมตัวแปรแทรกซ้อนได้ ตัวแปรภายนอกอาจส่งผลต่อ
ตวั แปรตามเชน่ เดยี วกบั ตวั แปรทดลอง การสรปุ ผลวา่ การเปลีย่ นแปลงของตวั แปรตามเกดิ มาจากการทดลอง
จึงไม่ถูกต้องทั้งหมด เพราะเป็นผลของตัวแปรแทรกซ้อนได้ ดังนั้น จึงมีความสำ�คัญมากที่ต้องมีการควบคุม
ตัวแปรแทรกซ้อนให้หมดไป ซึ่งอาจทำ�ได้หลายวิธี เช่น การสุ่มกลุ่มตัวอย่างเข้าสู่การทดลอง (random
   50   51   52   53   54   55   56   57   58   59   60