Page 62 - การวิจัยและสถิติทางการศึกษา หน่วยที่ 4
P. 62

4-52 การวิจัยและสถิติทางการศึกษา

โดยใช้การวิเคราะห์การถดถอยแบบโลจิสติก (logistic regression) เช่น ถ้าต้องการเปรียบเทียบคุณภาพ
การศึกษาของโรงเรียนนอกเมืองและในเมือง โดยกำ�หนดให้กลุ่มที่สนใจ เช่น กลุ่มโรงเรียนในเมือง มีรหัส
เป็น 1 กลุ่มที่เป็นกลุ่มเปรียบเทียบ เช่น กลุ่มโรงเรียนนอกเมือง มีรหัสเป็น 0 การใช้วิธีการใช้จับคู่โดยใช้
ความน่าจะเป็น เริ่มต้นจากการนำ�ตัวแปรแทรกซ้อนซึ่งเป็นตัวแปรที่ส่งผลต่อคุณภาพการศึกษา เช่น ตัวแปร
ภูมิหลังของโรงเรียน ประกอบด้วย จำ�นวนงบประมาณที่ได้รับ จำ�นวนครูต่อนักเรียน จำ�นวนคอมพิวเตอร์
วุฒิการศึกษาของครูและผู้บริหาร และความสามารถในการบริหารการศึกษาของผู้บริหาร ไปทำ�นายตัวแปร
ดัมมี่ประเภทโรงเรียน (1 = โรงเรียนในเมือง 0 = โรงเรียนนอกเมือง) ดังสมการต่อไปนี้

                                  log  Pr(y = 1 | x  = α + βX
                                       Pr(y = 0 | x

       เมื่อวิเคราะห์ข้อมูลนี้ด้วยการถดถอยแบบโลจิสติกแล้ว กลุ่มตัวอย่างทุกคนจะมีค่าความน่าจะเป็น
(propensity) ของการเป็นสมาชิกของโรงเรียนในเมือง ถึงแม้ว่าโรงเรียนบางโรงเรียนจะอยู่นอกเมืองก็ตาม
แตก่ ม็ คี วามนา่ จะเปน็ ทีจ่ ะอยูใ่ นเมอื ง ซึง่ เปน็ คา่ ท�ำ นายทีไ่ ดม้ าจากการใชต้ วั แปรแทรกซอ้ นท�ำ นาย โรงเรยี นใด
ก็ตามที่มีตัวแปรแทรกซ้อนเหมือนกันก็น่าจะมีความน่าจะเป็นเท่ากัน จากหลักการนี้จึงนำ�ค่าความน่าจะเป็น
ไปเลือกโรงเรียนในเมืองและนอกเมืองที่เป็นโรงเรียนที่มีความน่าจะเป็นใกล้เคียงกันมาทำ�การเปรียบเทียบ
คุณภาพการศึกษา เช่น การเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยคะแนนโอเน็ต (O-NET) วิธีการเลือกกลุ่มที่นำ�มาเปรียบ
เทียบด้วยวิธีการเช่นนี้จะช่วยลดอิทธิพลของตัวแปรแทรกซ้อนได้ เพราะเป็นการเปรียบเทียบกลุ่มที่มี
ภูมิหลังใกล้เคียงกัน

       การใชว้ ธิ กี ารนีม้ ขี อ้ ดอี ยา่ งมากตรงทีส่ ามารถน�ำ ตวั แปรแทรกซอ้ นหลายๆ ตวั มาควบคมุ ซึง่ เปน็ ขอ้ ดี
ที่เด่นกว่าการจับคู่ที่เสนอโดยเคอร์ลิงเจอร์และลี แต่ทั้งนี้ การคัดเลือกตัวแปรแทรกซ้อนต้องเลือกตัวแปร
ที่สัมพันธ์กับตัวแปรตามจึงจะเกิดประโยชน์ด้านการลดความคลาดเคลื่อนจากตัวแปรแทรกซ้อน การใช้
ตัวแปรที่ไม่สัมพันธ์กับตัวแปรตามมาวิเคราะห์จะไม่ช่วยลดความคลาดเคลื่อนในการสรุปผล เทคนิคนี้มี
การนำ�ไปใช้กันมากทั้งด้านการวิจัยทางการศึกษา นิเทศศาสตร์ การสาธารณสุข เศรษฐศาสตร์ และรัฐศาสตร์
(Brookman, 2009)

       2.4 	การออกแบบโดยใช้ความไม่ต่อเนื่องของเส้นการถดถอย (regression-disconnutity design)
เป็นเทคนิคหนึ่งของการวิจัยกึ่งทดลองที่อยู่ในประเภทของการวิจัยแบบทดสอบก่อน-ทดสอบหลัง (pre-test
post-test design) โดยดำ�เนินการเริ่มจากการแบ่งกลุ่มตัวอย่างออกเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม โดย
ใช้คะแนนจากการวัดก่อนทดลอง เช่น คะแนนความรู้ก่อนทดลอง (pre-test) เป็นเกณฑ์ในการแบ่งกลุ่ม
ทดลองและกลุม่ ควบคมุ เชน่ การวจิ ยั เพือ่ แกไ้ ขปญั หาการอา่ นหนงั สอื ไมอ่ อกของนกั เรยี น อาจเลอื กนกั เรยี น
มาจ�ำ นวนหนึง่ แลว้ ทดสอบกอ่ นเรยี น นกั เรยี นทีไ่ ดค้ ะแนนนอ้ ยกวา่ 60% ก�ำ หนดใหเ้ ปน็ กลุม่ ทดลอง นกั เรยี น
ที่ได้คะแนนมากกว่า 60% ให้เป็นกลุ่มควบคุม โดยถือว่าคะแนน 60% เป็นจุดตัด (cut-off point) จากนั้น
จึงทำ�การทดลอง แล้ววัดคะแนนหลังทดลอง (post-test) ถ้าพล็อตกราฟคะแนนหลังทดลองระหว่างกลุ่ม
   57   58   59   60   61   62   63   64   65   66   67