Page 36 - หลักการและแนวคิดทางการปฐมวัยศึกษา หน่วยที่ 4
P. 36
4-26 หลักการและแนวคิดทางการปฐมวัยศึกษา
เร่ืองที่ 4.2.1 หลกั การจดั การศกึ ษาปฐมวัยในระบบ
การจัดการศึกษาปฐมวัยในระบบ มีการจัดได้ในหลายรูปแบบ เช่น การจัดชั้นเด็กเล็ก สถานที่
รับเลี้ยงเด็กกลางวัน ศูนย์เด็กปฐมวัย ศูนย์โภชนาการ ศูนย์อบรมเด็กในวัดและในมัสยิด โรงเรียนอนุบาล
และในสถานศึกษาระดับอื่นๆ ที่เปิดสอนชั้นอนุบาล รวมทั้งจัดในรูปแบบโรงเรียน ทั้งที่เป็นโรงเรียนที่เปิด
สอนระดับปฐมวัยศึกษาโดยเฉพาะ และในโรงเรียนที่เปิดสอนระดับการศึกษาอื่นๆ เป็นการจัดการเรียนการ
สอนอยู่ภายในโรงเรียนหรือสถานศึกษาเป็นหลัก มีโครงสร้างของระบบที่แน่นอน เป็นไปตามลำ�ดับขั้น ตาม
ลำ�ดับพัฒนาการของเด็ก เมื่อศึกษาถึงหลักการในการจัดการศึกษาปฐมวัยในระบบ มีหน่วยงานและบุคคล
ได้เสนอหลักการในการจัดการศึกษาปฐมวัยในระบบไว้ดังนี้
พระราชบญั ญตั กิ ารศกึ ษาแหง่ ชาติ พ.ศ. 2542 และทีแ่ กไ้ ขเพิม่ เตมิ (ฉบบั ที่ 2) พ.ศ. 2545 ไดก้ �ำ หนด
หลักการกว้างๆ ในการจัดการศึกษาในทุกรูปแบบและทุกระดับการศึกษาไว้ในมาตรา 22 ว่าการจัดการศึกษา
ต้องยึดหลักว่าผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ และถือว่าผู้เรียนมีความสำ�คัญที่สุด
กระบวนการจัดการศึกษาต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ
นโยบายและยุทธศาสตร์การพัฒนาเด็กปฐมวัยระยะยาว พ.ศ. 2550-2559 (สำ�นักงานเลขาธิการ
สภาการศึกษา 2550: 7-9) ได้เสนอข้อมูลสำ�คัญเกี่ยวกับแนวคิดและหลักการในการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนา
เด็กปฐมวัย สรุปได้ดังนี้
1) การพัฒนามนุษย์อย่างมีประสิทธิภาพจำ�เป็นต้องเริ่มตั้งแต่ปฏิสนธิ โดยเฉพาะในช่วงปฐมวัยซึ่ง
เป็นรากฐานของการพัฒนาทั้งปวง ซึ่งเป็นการพัฒนาคุณภาพมนุษย์ที่ยั่งยืนและป้องกันปัญหาสังคมในระยะ
ยาว โดยเน้นให้ครอบครัวเป็นแกนหลักในการพัฒนาเด็กและให้ชุมชนและสังคมเป็นฐานที่มีส่วนร่วมอย่าง
แท้จริงในการพัฒนาเลี้ยงดูเด็กทุกขั้นตอน
2) ปัจจัยแวดล้อมและการเลี้ยงดูที่เหมาะสมสามารถปรับเปลี่ยนลักษณะการพัฒนาและเพิ่ม
ประสิทธิภาพการทำ�งานของสมองมนุษย์ได้ ช่วงปฐมวัยเป็นเวลาที่สำ�คัญและจำ�เป็นที่สุดในการพัฒนาสมอง
3) โอกาสแห่งการเรียนรู้และอัตราการเรียนรู้สูงสุดอยู่ในช่วงวัยเด็กปฐมวัย การเติบโตและ
พัฒนาการของสมองเป็นรากฐานของการเรียนรู้ การเติบโตของสมองสูงสุดในช่วงอายุ 0-6 ปี
4) เด็กวัย 3-6 ปี ควรได้รับการพัฒนาคุณลักษณะให้มีความรู้ถูก รู้ผิด
5) การพัฒนาเด็กปฐมวัยต้องถือเป็นการลงทุนที่คุ้มค่า การลงทุนเพื่อพัฒนาเด็กตั้งแต่ช่วงชีวิต
วัยเยาว์ เป็นการลงทุนที่น้อยกว่าค่าใช้จ่ายในการตามแก้ปัญหาของสังคมที่เกิดขึ้นเพราะความไม่มีคุณภาพ
ของประชากรในสังคม
กรมวิชาการ (2546: 3-5) ได้กำ�หนดแนวคิดหลักและหลักการในการจัดการศึกษาปฐมวัยในระบบ
ว่าการศึกษาปฐมวัยเป็นการพัฒนาเด็ก ตั้งแต่แรกเกิดถึง 6 ปี บนพื้นฐาน การอบรมเลี้ยงดูและการส่งเสริม
กระบวนการเรียนรู้ที่สนองต่อธรรมชาติ และพัฒนาการของเด็กแต่ละคนตามศักยภาพ ภายใต้บริบท