Page 32 - หลักการและแนวคิดทางการปฐมวัยศึกษา หน่วยที่ 4
P. 32

4-22 หลักการและแนวคิดทางการปฐมวัยศึกษา

พร้อมทั้งทางร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ สังคม และบุคลิกภาพ เพื่อการเรียนรู้ในระดับที่สูงขึ้น ทางด้าน
ร่างกาย เด็กเรียนรู้ที่จะเดิน รับประทานอาหาร ควบคุมการขับถ่าย และเรียนรู้ความแตกต่างทางเพศ ด้าน
สติปัญญา เด็กเรียนรู้ความคิดรวบยอดและภาษาที่จะใช้อธิบายสิ่งแวดล้อมรอบตัว ด้านอารมณ์ สังคม เด็ก
เรียนรู้ที่จะสร้างความผูกพันทางจิตใจกับ พ่อ แม่ พี่น้องและผู้อื่น ด้านบุคลิกภาพ เด็กเรียนรู้ที่จะบังคับการ
เคลื่อนไหวและการทรงตัวได้ดี เรียนรู้ความแตกต่างระหว่าง “ถูก” “ผิด” และเริ่มมีมาตรฐานจริยธรรม การ
เรียนรู้ดังกล่าวเป็นการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ สำ�หรับเด็กอยู่ตลอดเวลา การเรียนรู้นี้เป็นการศึกษาตามอัธยาศัยที่ดู
เสมอื นเดก็ ไมไ่ ดเ้ รยี นรู้ เพราะเดก็ เรยี นรูเ้ กีย่ วกบั ตนเองจากการด�ำ เนนิ ชวี ติ ในแตล่ ะวนั ตามสภาพแวดลอ้ มที่
ผูใ้ หญจ่ ดั ใหโ้ ดยตัง้ ใจและไมไ่ ดต้ ัง้ ใจ จากสภาพแวดลอ้ มในครอบครวั จากวฒั นธรรมประเพณใี นชมุ ชนทีเ่ ดก็
เติบโตขึ้นตามธรรมชาติแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลง เช่น ฤดูกาลต่างๆ สิ่งแวดล้อมรอบตัวเหล่านี้ผสมกลมกลืน
กันไป เกิดเป็นการเรียนรู้ที่เด็กมีส่วนเป็นผู้กำ�หนดขึ้นเองตามความสนใจ ในบริบทที่เป็นอยู่ เป็นการศึกษา
ตามอัธยาศัยที่ไม่มีการกำ�หนดหลักสูตร ไม่กำ�หนดวัตถุประสงค์ กิจกรรมก่อนหลัง การวัดและประเมินผล
ไม่มีการสอบได้-ตก แต่เด็กจะเรียนรู้ ซึมซับสิ่งต่างๆ เป็นประสบการณ์ของตนเองเพื่อเป็นพื้นฐานต่อยอด
การเรียนรู้สิ่งต่างๆ รวมทั้งหล่อหลอมเป็นบุคลิกของแต่ละคนเมื่อเติบโตขึ้น

       เด็กเรียนรู้จากการศึกษาตามอัธยาศัยตั้งแต่เกิด โดยการเลี้ยงดูของพ่อแม่ผู้ปกครองตลอดจน
กระบวนการขัดเกลาทางสังคมในชุมชน รวมไปถึงการเรียนรู้จากสื่อต่างๆ และแหล่งเรียนรู้ตามความสนใจ
ศักยภาพ และโอกาสของเด็กด้วย การเรียนรู้ดังกล่าวจะเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตที่เกิดขึ้นตั้งแต่เกิดจนตาย
ความสำ�คัญของการศึกษาตามอัธยาศัยอีกอย่างหนึ่งที่เห็นชัดเจนคือ การเป็นตัวบูรณาการที่สำ�คัญของการ
ศึกษาตลอดชีวิตที่ขาดไม่ได้เพราะในบางช่วงของชีวิตการศึกษาในระบบและการศึกษานอกระบบไม่สามารถ
เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ การเรียนรู้ที่เกิดจากการศึกษาตามอัธยาศัยเท่านั้นที่จะเติมเต็มให้กับความต่อเนื่อง
ของการศึกษาตลอดชีวิตได้ (ทองอยู่ แก้วไทรฮะ 2554: 1-59)

       รูปแบบการจัดการศึกษาปฐมวัยตามอัธยาศัย เป็นการศึกษาที่เปิดโอกาสเด็กปฐมวัยได้เรียนรู้ด้วย
ตนเองตามความสนใจ ศักยภาพ ความพร้อม และโอกาส โดยสามารถเรียนรู้จากบุคคล ประสบการณ์ สังคม
สภาพแวดล้อม สื่อ หรือแหล่งความรู้อื่นๆ เป็นการเรียนรู้ตลอดเวลา และต่อเนื่องตลอดชีวิต ซึ่งจะเห็นได้
ว่า เป็นการศึกษาที่สนองตอบต่อแนวทางการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง (2552-2561) (สำ�นักงาน
เลขาธิการสภาการศึกษา 2552: 14) ที่กำ�หนดกรอบแนวทางการปฏิรูป เพื่อพัฒนาคุณภาพคนไทยยุคใหม่
ที่มีนิสัยใฝ่เรียนรู้ตั้งแต่ปฐมวัย สามารถเรียนรู้ด้วยตนเองและแสวงหาความรู้ต่อเนื่องตลอดชีวิต มีความ
สามารถในการสื่อสาร สามารถคิดวิเคราะห์ แก้ปัญหา คิดริเริ่มสร้างสรรค์ มีจิตสาธารณะ มีระเบียบวินัย
คำ�นึงถึงประโยชน์ส่วนรวม สามารถทำ�งานกลุ่มได้อย่างเป็นกัลยาณมิตร มีศีลธรรม คุณธรรม จริยธรรม
ค่านิยม มีจิตสำ�นึก และความภูมิใจในความเป็นไทย

       จะเห็นได้ว่า ทั้งรูปแบบการจัดการศึกษาปฐมวัยในระบบ นอกระบบ และตามอัธยาศัย มีความ
สัมพันธ์ เกี่ยวข้องต่อเนื่องกัน และเป็นไปเพื่อพัฒนาคุณภาพเด็กปฐมวัยเช่นเดียวกัน ดังที่ สุมาลี สังข์ศรี
และคณะ (2553: 15) ไดส้ รปุ ถงึ ความเชือ่ มโยงกนั ของการศกึ ษาทัง้ 3 รปู แบบวา่ เมือ่ พจิ ารณารายละเอยี ดของ
การศึกษาทั้ง 3 รูปแบบแล้ว การศึกษาทั้ง 3 รูปแบบนั้นมีความเชื่อมโยงกัน จะแยกจากกันโดยอิสระได้ยาก
   27   28   29   30   31   32   33   34   35   36   37