Page 29 - หลักการและแนวคิดทางการปฐมวัยศึกษา หน่วยที่ 4
P. 29

รูปแบบของการจัดการศึกษาปฐมวัย 4-19
       1. 	ครอบครัวมีทัศนคติที่แตกต่างไปจากการศึกษาในระบบปัจจุบัน โดยมีศรัทธาทางศาสนา ทัศนะ
เชิงอุดมคติ ทัศนะเชิงมนุษยนิยม เป็นรากฐานความคิดความเชื่อที่สำ�คัญ
       2. 	บุตรเคยประสบปัญหาในโรงเรียน จากระบบการเรียนการสอนที่กดดันเด็กจนเกินไป มีการ
ทำ�โทษใช้ความรุนแรงทั้งโดยการกระทำ�และด้วยวาจาของครูจนเด็กเกิดความหวาดกลัว จากการที่เคยเป็น
เด็กสนุกสนานร่าเริง ช่างซักถาม พอไปโรงเรียนกลับเปลี่ยนไปเป็นคนละคน
       3. 	บุตรมีลักษณะหรือความต้องการพิเศษ อาจเป็นความบกพร่องหรือมีมากกว่าเด็กทั่วไป โดยที่
การศึกษาในระบบของโรงเรียนไม่สามารถตอบสนองและช่วยพัฒนาศักยภาพตามความแตกต่างนี้ได้
       สรุปได้ว่า รูปแบบการจัดการศึกษาปฐมวัยนอกระบบมีความสำ�คัญ เพราะตอบสนองต่อความ
ต้องการของเด็กปฐมวัยและสอดคล้องกับสภาพสังคมและสิ่งแวดล้อม เด็กปฐมวัยสามารถรับบริการได้
ทันทีเมื่อมีความพร้อม และเมื่อมีความจำ�เป็นต้องหยุดพักไว้ก่อนและกลับเข้ามาเรียนใหม่ได้เมื่อต้องการ
โดยเฉพาะกับกลุ่มที่มีความจำ�เป็นต้องติดตามผู้ปกครองไปประกอบอาชีพในที่ต่างๆ และไม่ได้อยู่ในที่
ใดที่หนึ่งเป็นเวลานานๆ รวมทั้งกลุ่มเด็กที่มีผู้ปกครองไม่เห็นด้วยกับวิธีการจัดการศึกษาปฐมวัยในระบบ
ก็สามารถจัดการศึกษาให้กับบุตรหลานของตนได้

เรื่องท่ี 4.1.4 	แนวคิดเกี่ยวกับรปู แบบการจัดการศกึ ษาปฐมวัยตาม
          อัธยาศัย

       เพือ่ ทำ�ความเขา้ ใจกบั แนวคดิ ของรปู แบบการจดั การศกึ ษาปฐมวยั ตามอธั ยาศยั ในทีน่ ีจ้ ะขอกลา่ วถงึ
ความหมาย ลักษณะสำ�คัญ และความสำ�คัญของรูปแบบการจัดการศึกษาปฐมวัยตามอัธยาศัย ดังต่อไปนี้

ความหมายของรูปแบบการจดั การศึกษาปฐมวัยตามอัธยาศยั

       รปู แบบการจดั การศกึ ษาปฐมวยั ตามอธั ยาศยั เปน็ การจดั การศกึ ษาส�ำ หรบั เดก็ อายุ 3-6 ปี ทีใ่ หผ้ ูเ้ รยี น
ได้เรียนรู้ด้วยตนเอง ตามความสนใจ ศักยภาพ ความพร้อม และโอกาส โดยศึกษาจากบุคคล ประสบการณ์
สังคม สภาพแวดล้อม สื่อ หรือแหล่งความรู้อื่นๆ การศึกษาตามอัธยาศัย ตามพระราชบัญญัติส่งเสริม
การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย พ.ศ. 2551 (กลุ่มวิจัยพัฒนากฎหมายคดีความและนิติการ
2554) หมายความถึง กิจกรรมการเรียนรู้ในวิถีชีวิตประจำ�วันของบุคคลซึ่งบุคคลสามารถเลือกที่จะเรียนรู้
ได้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต ตามความสนใจ ความต้องการ โอกาส ความพร้อม และศักยภาพในการเรียน
รู้ของแต่ละบุคคล

       สุมาลี สังข์ศรี และคณะ (2553: 15) ให้ความหมายของรูปแบบการจัดการศึกษาตามอัธยาศัย ว่า
การศึกษาตามอัธยาศัยหรือการศึกษาที่ไม่เป็นทางการ (Informal Education) หมายถึงรูปแบบหนึ่งของ
   24   25   26   27   28   29   30   31   32   33   34