Page 26 - หลักการและแนวคิดทางการปฐมวัยศึกษา หน่วยที่ 4
P. 26

4-16 หลักการและแนวคิดทางการปฐมวัยศึกษา

จะศึกษาหาความรู้ได้ การศึกษานอกระบบเป็นการศึกษาที่สามารถจัดขึ้นได้อย่างกว้างขวาง สามารถจัดได้ใน
ทุกรูปแบบ การศึกษานอกระบบได้ปรากฏในวงการศึกษาของไทยมาเป็นเวลาช้านาน เป็นการศึกษาที่เกิดขึ้น
มาจากสภาพการเรียนรู้ในทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดขึ้นจากการตั้งใจ หรือไม่ตั้งใจก็ตาม เป็นต้นว่า การเรียนรู้ที่ได้
รับจากพ่อแม่ที่ได้สั่งสอนลูกให้รู้เรื่องต่างๆ ตั้งแต่เรื่องการครองตน การครองเรือน จนถึงการประกอบอาชีพ
ที่พ่อแม่มีกิจการอยู่ หรืออาชีพในท้องถิ่นที่พ่อแม่จะแนะนำ�ให้ นอกจากนั้นการศึกษานอกระบบยังเกิดขึ้นมา
จากสิ่งที่อยู่ล้อมรอบตัวที่ผู้เรียนสามารถเรียนและเห็นเป็นแบบอย่างที่ผู้อื่นได้กระทำ� ผู้เรียนอาจเรียนรู้จาก
พระภิกษุสงฆ์ที่ได้ชี้แนะแนวทางในการดำ�เนินชีวิตที่ถูกต้อง ผู้เรียนอาจเรียนจากการไปฝึกฝนอบรมอาชีพ
จากบุคลากรต่างๆ ในท้องถิ่นนั้น หรือแม้กระทั่งการเข้าเรียนในเมื่อมีเวลาว่างจากวิทยากรต่างๆ ตามสาขา
ที่ตนเองให้ความสนใจ เช่น การเข้าเรียนภาษาต่างประเทศจากสถาบันต่างๆ

       สุมาลี สังข์ศรี และคณะ (2553: 14) กล่าวถึงความหมายของการศึกษานอกระบบว่าการศึกษานอก
ระบบหรือการศึกษานอกโรงเรียน หรือแต่เดิมนิยมเรียกว่าการศึกษาผู้ใหญ่ (Adult Education) หมาย
ถึงประสบการณ์และกิจกรรมทางการศึกษาทุกรูปแบบที่จัดให้แก่ผู้เรียนที่อยู่นอกระบบโรงเรียนทั้งหมด
ซึ่งครอบคลุมตั้งแต่ประชากรก่อนวัยเรียน ประชากรที่อยู่ในวัยเรียนแต่พลาดโอกาสเข้าศึกษาในระดับต่างๆ
และประชากรทีม่ อี ายพุ น้ วยั เรยี นในระบบโรงเรยี นแลว้ ประชากรวยั แรงงานและวยั อืน่ ๆ โดยไมจ่ �ำ กดั วยั เพศ
พื้นฐานการศึกษา อาชีพ ประสบการณ์ ความสนใจ โดยมุ่งหวังให้ผู้เรียนได้รับความรู้ทั้งในด้านความรู้ที่เป็น
พื้นฐานแก่การดำ�รงชีวิต การอ่านการเขียน ความรู้ทางด้านทักษะอาชีพ และข้อมูลข่าวสารที่เป็นปัจจุบันใน
เรือ่ งตา่ งๆ เพือ่ เปน็ พืน้ ฐานในการด�ำ รงชวี ติ และปรบั ตวั เขา้ กบั สภาพสงั คมและสิง่ แวดลอ้ มอยา่ งเหมาะสม การ
ศึกษาประเภทนี้มีความยืดหยุ่นในเรื่องระบบ ระเบียบ กฎเกณฑ์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านอายุของผู้เรียน ระยะ
เวลาเรียน หลักสูตร วิธีการเรียนการสอน การวัด ประเมินผล สถานที่เรียน ผู้เรียนสามารถเข้าเรียนได้เมื่อ
มีความพร้อม หยุดเรียนได้เมื่อมีภาระความจำ�เป็นและกลับมาเรียนใหม่ได้เมื่อต้องการ เป็นการศึกษาที่จัด
ขึน้ เพือ่ ตอบสนองความตอ้ งการของผูเ้ รยี นและสอดคลอ้ งกับสภาพทอ้ งถิ่นและสงั คม หน่วยงานที่รบั ผดิ ชอบ
จัดการศึกษาประเภทนี้ไม่จำ�กัดเฉพาะสถาบันการศึกษา อาจจะเป็นหน่วยงานอื่นๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน

       สำ�นักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (2553: 19) สรุปความหมายของการศึกษานอกระบบว่า หมายถึง
การจัดกิจกรรมการศึกษาเพื่อให้บริการแก่กลุ่มเป้าหมายที่เป็นประชากรนอกโรงเรียน มีกระบวนการจัดการ
เรยี นการสอนทีย่ ดื หยนุ่ และสอดคลอ้ งกบั สภาพความตอ้ งการของกลุม่ เปา้ หมายทีห่ ลากหลาย มคี วามยดื หยนุ่
ในเรื่องหลักสูตร เวลาเรียน สถานที่เรียน วิธีเรียน ผู้เรียนไม่มีข้อจำ�กัดในเรื่องอายุ อาชีพ พื้นฐานการศึกษา
เน้นการเรียนเรื่องที่เป็นสภาพปัจจุบัน เพื่อแก้ปัญหาในชีวิตประจำ�วัน หน่วยงานที่จัดมีหลากหลายทั้งหน่วย
งานภาครัฐ หน่วยงานภาคเอกชน องค์กรและสถานประกอบการต่างๆ ซึ่งอาจจะจัดในรูปแบบอิสระหรือร่วม
จัดในลักษณะภาคีเครือข่าย

       จากความหมายของการศึกษานอกระบบที่ได้นำ�เสนอมาข้างต้น สามารถสรุปเป็นความหมายของ
รปู แบบการจดั การศกึ ษาปฐมวยั นอกระบบไดว้ า่ คอื การจดั การศกึ ษาทีส่ นองความตอ้ งการของผูเ้ รยี นทีม่ อี ายุ
3-6 ปี ที่อยู่นอกระบบโรงเรียน มีความยืดหยุ่นในเรื่องระบบ ระเบียบกฎเกณฑ์ต่างๆ ทั้งด้านอายุ ระยะเวลา
   21   22   23   24   25   26   27   28   29   30   31