Page 24 - หลักการและแนวคิดทางการปฐมวัยศึกษา หน่วยที่ 4
P. 24

4-14 หลักการและแนวคิดทางการปฐมวัยศึกษา

       ทองอยู่ แกว้ ไทรฮะ (2554: 14-16) ไดก้ ลา่ วถงึ ความส�ำ คญั ของรปู แบบการจดั การการศกึ ษาในระบบ
ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาปฐมวัย สรุปได้ดังนี้

       1. 	เป็นรูปแบบการศึกษาที่เป็นแกนหลักสำ�คัญในการพัฒนาเด็กปฐมวัย การศึกษาปฐมวัยในระบบ
โรงเรียนเปน็ การศึกษาที่จดั ไว้อย่างเป็นระบบระเบียบมากที่สุด เปน็ รูปแบบการศึกษาที่ใช้เปน็ หลักเปน็ แม่บท
ในการพัฒนากำ�ลังคนของชาติ เป็นการศึกษาที่จะกำ�หนดทิศทางและอนาคตของบ้านเมือง เป็นเครื่องมือของ
รัฐในการปลูกฝังค่านิยมของมโนทัศน์ที่พึงปรารถนาให้กับเด็กปฐมวัย เป็นเครื่องมือของรัฐในการสร้างความ
เปน็ อนั หนึง่ อนั เดยี วกนั ของพลเมอื ง การศกึ ษาปฐมวยั ในระบบเปน็ การศกึ ษาทีส่ งั คมและพอ่ แม่ ผูป้ กครองให้
ความไว้วางใจ และมอบภารกิจหน้าที่ให้ทำ�การอบรมสั่งสอน อบรม บ่มนิสัย ลูกหลานแทนตนเอง โรงเรียน
และครูเป็นที่เชื่อถือและศรัทธามาช้านาน

       2. 	รูปแบบการจัดการศึกษาปฐมวัยในระบบโรงเรียนเป็นการผลิตพลเมืองดีให้กับประเทศชาติใน
อนาคต เป็นการศึกษาที่รัฐเกือบจะผูกขาดการจัดเสียเองเป็นส่วนใหญ่ เอกชน ชุมชน และครอบครัวที่เข้า
มามีบทบาทในการจัดการศึกษาปฐมวัยในระบบนั้นถือว่าเป็นการมาช่วยรัฐจัดการศึกษามิใช่ภารกิจความ
รับผิดชอบโดยตรง ข้อกำ�หนด กฎเกณฑ์ต่างๆ รัฐจึงเป็นผู้กำ�หนดเป็นส่วนใหญ่ เช่น ปรัชญาและหลักการ
ของการศึกษาปฐมวัย หากจะมีการเรียนรู้จากระบบอื่นๆ บ้างก็เป็นไปเพื่อส่งเสริมให้กับการศึกษาในระบบ
เท่านั้น และเนื่องจาการศึกษาปฐมวัยในระบบมีวัตถุประสงค์เพื่อเตรียมพื้นฐานบุคคลสู่อนาคต การศึกษา
ปฐมวัยในระบบจึงมุ่งเตรียมความรู้พื้นฐานที่หลากหลายไปพร้อมๆ กันทุกด้าน เปิดโอกาสให้เด็กได้เรียนรู้
เพื่อพัฒนาตนเองได้อย่างเหมาะสมตามวัยและสอดคล้องกับขั้นตอนและพัฒนาการทางการเจริญเติบโตทาง
ร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคมและสติปัญญา

       3. 	รูปแบบการจัดการศึกษาปฐมวัยในระบบเป็นกระบวนการจัดการศึกษาเพื่อมวลชน เป็นการ
ศึกษาที่ต้องมีกิจกรรมเกี่ยวข้องกับหน่วยงานและบุคคลจำ�นวนมาก มีผู้รับผิดชอบลดหลั่นไปจากส่วนกลาง
ไปยังหน่วยงานท้องถิ่น สถานศึกษา ผู้บริหารและครูผู้สอน อีกทั้งยังมีความจำ�เป็นต้องรักษามาตรฐานของ
กิจกรรมทางการศึกษาให้อยู่ในระดับที่ใกล้เคียงกันทั่วประเทศ ส่วนใหญ่จะจัดกิจกรรมในห้องเรียนหรือ
ในโรงเรียนโดยมีครูเป็นผู้สอนหรือผู้อำ�นวยการเรียน และดำ�เนินการเรียนการสอนไปตามที่กำ�หนดไว้ใน
หลักสูตร แผนการสอนหรือคู่มือครู ทั้งนี้รวมถึงการใช้เครื่องมือ อุปกรณ์และเทคโนโลยีเข้ามาเป็นตัวช่วย

       4. 	รูปแบบการจัดการศึกษาปฐมวัยในระบบเป็นกระบวนการในการถ่ายทอดวัฒนธรรม ความรู้
ความชำ�นาญ ค่านิยมและประสบการณ์จากคนรุ่นหนึ่งไปสู่คนอีกรุ่นหนึ่งโดยผ่านโรงเรียนและสถานศึกษา
เป็นการหล่อหลอมเด็กให้เป็นไปในทิศทางที่สังคมเห็นว่าถูกต้องเหมาะสม มีการกำ�หนดแนวทางที่จะปลูก
สร้างเด็กให้เดินไปสู่จุดหมายปลายทางคือ การเป็นพลเมืองดีของสังคม ส่งเสริมให้เด็กดำ�รงชีวิตอยู่บน
พื้นฐานของคุณธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริต มีระเบียบวินัย มีนํ้าใจ มีสุขภาพสมบูรณ์ทั้งร่างกายและจิตใจ
ใฝ่รู้ใฝ่เรียน ทำ�งานเป็นหมู่คณะ เคารพสิทธิของผู้อื่น

       5. 	รูปแบบการจัดการศึกษาปฐมวัยในระบบให้ความสำ�คัญต่อการพัฒนาคุณภาพ โดยมีการ
กำ�หนดมาตรฐานหลักสตู ร และมาตรฐานการประกนั คุณภาพการจดั การศึกษาปฐมวยั อยา่ งชดั เจนเหมอื นกัน
ทั่วประเทศ หน่วยงานของรัฐที่รับผิดชอบการจัดการศึกษาปฐมวัยจะเป็นผู้กำ�กับดูแลและควบคุมมาตรฐาน
   19   20   21   22   23   24   25   26   27   28   29