Page 20 - หลักการและแนวคิดทางการปฐมวัยศึกษา หน่วยที่ 4
P. 20
4-10 หลักการและแนวคิดทางการปฐมวัยศึกษา
โอกาสที่จะเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพ ในปัจจุบันวัตถุประสงค์ของการพัฒนาเด็กและการจัดการศึกษา
ปฐมวัยมิได้มุ่งอยู่เฉพาะที่การเป็นผู้สืบทอดเผ่าพันธุ์ หรือการเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่มีค่าเท่านั้น แต่การ
พัฒนาเด็กและการให้การศึกษาปฐมวัยมุ่งอยู่ที่ตัวเด็กเป็นศูนย์กลาง ดังนั้น การจัดบริการในด้านนี้ให้ความ
ส�ำ คญั อยูท่ ีค่ วามมพี ลงั และศกั ยภาพในตนเองของเดก็ แตล่ ะคน แตล่ ะวยั ซึง่ สมควรทีจ่ ะไดร้ บั การสง่ เสรมิ ให้
มีพัฒนาการ เสริมศักยภาพของแต่ละคนอย่างเต็มที่ ไม่ว่าเด็กผู้นั้นจะเกิดในครอบครัว สังคม ชุมชน และ
ในภูมิภาคใดของประเทศ
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2545 (สำ�นักงาน
คณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ 2545: 9-10) ได้กำ�หนดรูปแบบในการจัดการศึกษาในทุกระดับการศึกษา
ตามมาตรา 15 ว่าการจัดการศึกษามีสามรูปแบบ คือ การศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษา
ตามอัธยาศัย การศึกษาในระบบ เป็นการศึกษาที่กำ�หนดจุดมุ่งหมาย วิธีการศึกษา หลักสูตร ระยะเวลาของ
การศึกษา การวัดและประเมินผล ซึ่งเป็นเงื่อนไขของการสำ�เร็จการศึกษาที่แน่นอน การศึกษานอกระบบ
เป็นการศึกษาที่มีความยืดหยุ่นในการกำ�หนดจุดมุ่งหมาย รูปแบบ วิธีการจัดการศึกษา ระยะเวลาของการ
ศึกษา การวัดและประเมินผล ซึ่งเป็นเงื่อนไขสำ�คัญของการสำ�เร็จการศึกษา โดยเนื้อหาและหลักสูตรจะต้อง
มีความเหมาะสมสอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการของบุคคลแต่ละกลุ่ม การศึกษาตามอัธยาศัย
เป็นการศึกษาที่ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเอง ตามความสนใจ ศักยภาพ ความพร้อม และโอกาส โดยศึกษา
จากบุคคล ประสบการณ์ สังคม สภาพแวดล้อม สื่อ หรือแหล่งความรู้อื่นๆ สถานศึกษาอาจจัดการศึกษาใน
รูปแบบใดรูปแบบหนึ่งหรือทั้งสามรูปแบบก็ได้ ซึ่งสำ�นักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (2550: 1-2) กล่าวถึง
การจัดการศึกษาปฐมวัยว่า สามารถจัดได้ทั้ง 3 รูปแบบ คือ การศึกษาปฐมวัยในระบบ การศึกษาปฐมวัย
นอกระบบ และการศึกษาปฐมวัยตามอัธยาศัย
ดังนั้น รูปแบบในการจัดการศึกษาปฐมวัย ตามนัยแห่งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.
2542 จึงประกอบด้วย 3 รูปแบบ คือ การศึกษาปฐมวัยในระบบ การศึกษาปฐมวัยนอกระบบ และการศึกษา
ปฐมวัยตามอัธยาศัย ซึ่งจะได้กล่าวถึงรายละเอียดของการจัดการศึกษาปฐมวัยในรูปแบบต่างๆ ดังที่กล่าว
มาในตอนต่อไป