Page 18 - หลักการและแนวคิดทางการปฐมวัยศึกษา หน่วยที่ 4
P. 18

4-8 หลักการและแนวคิดทางการปฐมวัยศึกษา

เป็นสำ�คัญ โดยคำ�นึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล และวิถีชีวิตของเด็กตามบริบทของชุมชน สังคม และ
วัฒนธรรมไทยพัฒนาเด็กโดยองค์รวมผ่านการเล่นและกิจกรรมที่เหมาะสมกับวัย เป็นการจัดประสบการณ์
การเรียนรู้ให้สามารถดำ�รงชีวิตประจำ�วันได้อย่างมีคุณภาพและมีความสุข โดยประสานความร่วมมือระหว่าง
ครอบครัว ชุมชน และสถานศึกษาในการพัฒนาเด็ก

       จากที่กล่าวมาสามารถสรุปได้ว่า รูปแบบการจัดการศึกษาปฐมวัยเป็นลักษณะหรือแนวทางในการ
จัดการศึกษาสำ�หรับเด็กอายุ 3-6 ปี เพื่อวางรากฐานชีวิตและพัฒนาเด็กทั้งร่างกายและจิตใจ สติปัญญา
อารมณ์ บุคลิกภาพ และการอยู่ร่วมในสังคม เป็นการศึกษาที่จัดขึ้นอย่างเป็นระบบระเบียบตามปรัชญา
ทฤษฎี หลักการ หรือความเชื่อต่างๆ โดยครอบคลุมองค์ประกอบที่สำ�คัญๆ ของการศึกษาปฐมวัย ซึ่งได้รับ
การยอมรับหรือพิสูจน์ ทดสอบถึงประสิทธิภาพแล้ว

รูปแบบการจดั การศึกษาปฐมวยั

       การศึกษาปฐมวัยมีรูปแบบในการจัดการศึกษาที่มีวิวัฒนาการตามลักษณะของการจัดการศึกษา
ดังที่ กล้า สมตระกูล (2554: 8-6-8-7) กล่าวว่า ในสมัยดึกดำ�บรรพ์ มนุษย์รู้จักการสื่อสาร ถ่ายทอดความรู้
สู่กันอย่างไม่เป็นระบบ หรือที่จัดอยู่ในลักษณะของการเรียนรู้จากปรากฏการณ์ของธรรมชาติ ฝนตกฟ้าร้อง
นํ้าขึ้น นํ้าลง ส่วนการเรียนรู้ด้านทักษะการดำ�รงชีวิต มักเป็นการเรียนรู้จากพ่อแม่พี่น้อง หรือทดลองด้วย
ตนเอง เช่น การล่าสัตว์ การจับปลา การปลูกพืช การสร้างที่อยู่อาศัย การกินอยู่และการรักษาโรคภัยไข้เจ็บ
ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับความสามารถในการคิดแก้ปัญหา และหาวิธีการสิ่งที่ใกล้ตัวมาใช้ในโอกาสที่ต่างกัน รวมทั้ง
ความพยายามหาวธิ กี ารถา่ ยทอดความรู้ และประสบการณใ์ หแ้ กค่ นในครอบครวั หรอื เพือ่ นบา้ น ทัง้ ในลกั ษณะ
ของกิริยาอาการ หรือท่าทาง การส่งเสียง การขีดเขียนเป็นสัญลักษณ์ต่างๆ จนสามารถใช้เป็นรูปแบบใน
การสื่อสาร ถ่ายทอดความรู้ ความเข้าใจกัน ซึ่งในปัจจุบันเรียกการเรียนรู้แบบนี้ว่า การศึกษาตามอัธยาศัย
(Informal Education) และตอ่ มาไดม้ กี ารพฒั นาเปน็ วธิ กี ารจดั การเรยี นการสอนทีเ่ ปน็ รปู แบบและเปน็ ระบบ
มากขึ้น ใช้ระยะเวลาสั้นๆ ไม่มีสาระที่ซับซ้อนมากนัก เช่น วิธีการล่าสัตว์ วิธีการปลูกพืช วิธีการเลี้ยงสัตว์
วิธีการดูแลรักษาสุขภาพ การเขียนการอ่าน การคิดเลข ดังเช่น การประดิษฐ์สัญลักษณ์ และตัวอักษรของ
ชาวโรมนั ชาวกรซี ชาวจนี หรอื ชาวอนิ เดยี เปน็ ตน้ เรยี กการเรยี นรแู้ บบนวี้ า่ การศกึ ษานอกระบบ (Non-formal
Education) และได้มีการพัฒนาเรื่องราวหรือเนื้อหาสาระที่ซับซ้อน ลึกซึ้ง เป็นระบบ และเป็นมาตรฐาน
ยิ่งขึ้น มีอาคารสถานที่เฉพาะ มีครูผู้สอน มีการรับสมัครและขึ้นทะเบียนผู้เรียน มีการกำ�หนดระยะเวลา มี
หลักสูตรสาระความรู้ที่เป็นมาตรฐาน มีการทดสอบและมีหลักฐานรับรองความรู้ หรือที่เรียกว่า การศึกษา
ในระบบโรงเรียน (Formal Education) ในปัจจุบัน ดังนั้น อาจสรุปความได้ว่า การศึกษาตามอัธยาศัย เป็น
รปู แบบของการเรยี นรู้ หรอื การศกึ ษาทีม่ มี าตัง้ แตอ่ ดตี กาล และพฒั นาขึน้ มากอ่ นการศกึ ษารปู แบบอืน่ ใด และ
เปน็ รากฐานของการพฒั นาใหม้ คี ุณภาพและศกั ยภาพของการเรียนรู้ทีส่ ูงขึน้ มีความซบั ซ้อนมากขึ้น จนกลาย
เป็นการศึกษานอกระบบ ซึ่งการศึกษาทั้งสองรูปแบบนี้ ส่วนมากเน้นการจัดให้แก่กลุ่มเป้าหมายนอกระบบ
โรงเรียน หรืออาจเรียกว่า “การศึกษานอกโรงเรียน” ต่อมาได้มีการจัดและพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ที่มีระดับ
   13   14   15   16   17   18   19   20   21   22   23