Page 19 - หลักการและแนวคิดทางการปฐมวัยศึกษา หน่วยที่ 4
P. 19

รูปแบบของการจัดการศึกษาปฐมวัย 4-9

ขั้นตอน แบ่งเป็นเนื้อหาเฉพาะเรื่อง เฉพาะทาง มีข้อกำ�หนดการเรียน การสอน มีอาคารสถานที่เป็นระบบ
และสัดส่วน และเป็นมาตรฐาน จึงเรียกว่า การศึกษาในระบบโรงเรียน และแพร่กระจายไปอย่างกว้างขวาง

       การศึกษาในระบบ ที่แพร่กระจายออกไปอย่างกว้างขวางได้กลายเป็นการจัดการศึกษาที่เป็น
กระแสหลกั ของการจดั การศกึ ษา อยา่ งไรกด็ ี ประยรู ศรปี ระสาธน์ (2551: 17-18) ไดเ้ สนอแนวคดิ ใหมท่ างการ
ศึกษา ซึ่งกล่าวถึงรูปแบบทางการศึกษาสรุปได้ว่า ความคิดเดิมทางการศึกษาคือ การเล่าเรียนในโรงเรียน
ผู้คนเคยชินกับระบบโรงเรียนซึ่งเริ่มเรียนตั้งแต่อนุบาล ไปจนถึงอุดมศึกษา เป็นการเล่าเรียนที่วัดผลได้เป็น
ปีๆ เมื่อเรียนจบแต่ละระดับประเภท จะได้รับประกาศนียบัตรตอบแทน การศึกษาผูกพันกับสถาบัน วัยและ
เกณฑ์อายุอันนำ�ไปสู่ความคิดที่ว่าโรงเรียนเป็นสถาบันเดียวเท่านั้นที่สามารถให้การศึกษาแก่ผู้เรียนได้อย่าง
สมบูรณ์ จะเรียนรู้จากที่อื่นไม่ได้ การศึกษาของผู้เรียนจะเป็นผลสำ�เร็จในวัยเรียนวัยเดียวเท่านั้น เมื่อเรียน
สำ�เร็จก็เลิกกันไป ใครก็ตามที่ไม่ได้เรียนในโรงเรียนต้องเป็นคนไร้การศึกษา ซึ่งทัศนะดังกล่าวคับแคบ ไม่
สอดคล้องกับชีวิตคน เป็นการขัดขวางการเรียนรู้แบบอื่น แนวคิดใหม่ทางการศึกษาเห็นว่าการศึกษาคือ
การเรียนรู้ไม่ว่าจะเรียนจากไหน อย่างไร และวัยไหน ถือว่าการศึกษา คือกระบวนการเรียนรู้ตลอดชีวิต ไม่
ว่าจะเรียนรู้ในระบบโรงเรียน นอกระบบโรงเรียน หรือการศึกษาตามอัธยาศัย

       ในส่วนของการจัดการศึกษาปฐมวัย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2500 เป็นต้นมา หลังจากประเทศที่พัฒนาแล้ว
เช่น ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้พัฒนารูปแบบการจัดการศึกษาปฐมวัย เพื่อแก้ปัญหาระยะยาวของการศึกษา
เบื้องต้นของเด็กด้อยโอกาส ประเทศต่างๆ ก็ได้พยายามศึกษาค้นคว้าและพัฒนาการจัดการศึกษาปฐมวัย
ในรูปแบบต่างๆ เช่นกัน การจัดบริการการพัฒนาเด็กและการศึกษาปฐมวัยโดยทั่วๆ ไปในหลายๆ ประเทศ
จะจัดในสองลักษณะ คือ ลักษณะแรกเป็นรูปแบบที่เกิดจากความต้องการของครอบครัวและชุมชนอันเป็น
ผลเนื่องมาจากสภาพปัญหาด้านการพัฒนาเด็กในครอบครัวและชุมชนนั้น เป็นการจัดเพื่อตอบสนองความ
ต้องการของเด็ก ครอบครัว และชุมชน รูปแบบการจัดมักจะเป็นลักษณะการจัดแบบบูรณาการบริการ อีก
ลักษณะหนึ่งเป็นการจัดตามแนวคิดที่ผู้เชี่ยวชาญกำ�หนดเป็นหลักสูตร และรัฐจะให้ความสนับสนุน รูปแบบ
การจัดมักจะเป็นลักษณะของโรงเรียน

       ในสังคมหนึ่งๆ ควรมีการจัดบริการพัฒนาเด็กและการศึกษาปฐมวัย ทั้ง 2 รูปแบบ อย่างต่อเนื่อง
และมีเป้าหมายร่วมกันคือ การจัดแบบบูรณาการบริการ และการจัดแบบโรงเรียน แต่ในสภาพเป็นจริง โดย
ทั่วไปมักจะพบว่า การจัดทั้ง 2 แบบ ไม่มีความต่อเนื่องกัน ที่เป็นดังนี้เป็นผลมาจากการขาดแคลนการจัด
แบบบูรณาการบริการ หรือหากมีก็จะเป็นเรื่องแยกกันระหว่างบริการของชุมชนที่ต้องช่วยตนเอง หรือบริการ
ของรัฐที่สนับสนุนทั้งเรื่องงบประมาณ วิธีการ และบุคลากร และปัญหาที่สำ�คัญคือ ครอบครัวของเด็กใน
ปัจจุบนั มคี วามอ่อนแอลง เดก็ ปฐมวัยจงึ ยังไมไ่ ดร้ บั บรกิ ารการพัฒนาและการศึกษาปฐมวยั จากทัง้ 2 รปู แบบ
อย่างครอบคลุมเท่าที่ควรจะเป็น

       ในด้านเป้าหมายและวัตถุประสงค์ พบว่าการจัดการศึกษาปฐมวัยรูปแบบบูรณาการบริการ และ
รูปแบบโรงเรียนล้วนมีเป้าหมายและวัตถุประสงค์ร่วมกันคือ มุ่งพัฒนาเด็กซึ่งเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่เป็น
องค์ประกอบที่สำ�คัญที่สุดในการพัฒนาประเทศต่อไปในอนาคต ทั้งนี้ เพราะเด็กที่ได้รับการดูแลเอาใจใส่
ส่งเสริมให้มีสุขภาพอนามัยดี มีพัฒนาการสมดุลกันทั้งด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ และสังคม ย่อมมี
   14   15   16   17   18   19   20   21   22   23   24