Page 17 - หลักการและแนวคิดทางการปฐมวัยศึกษา หน่วยที่ 4
P. 17
รูปแบบของการจัดการศึกษาปฐมวัย 4-7
เร่ืองท่ี 4.1.1 แนวคดิ เกย่ี วกบั รูปแบบการจัดการศึกษาปฐมวัย
การจัดการศึกษาสำ�หรับเด็กปฐมวัยมีรูปแบบการจัดที่หลากหลายแตกต่างกันออกไปตามสภาพ
และความเหมาะสมของชุมชนและสังคมที่จัด เพื่อทำ�ความเข้าใจแนวคิดเกี่ยวกับรูปแบบการจัดการศึกษา
ปฐมวัย ในที่นี้จะขอกล่าวถึง ความหมายของรูปแบบการจัดการศึกษาปฐมวัย และรูปแบบการจัดการศึกษา
ปฐมวัย ดังต่อไปนี้
ความหมายของรปู แบบการจดั การศกึ ษาปฐมวัย
ราชบัณฑิตยสถาน (2546: 965) ให้ความหมายของรูปแบบว่า หมายถึง รูปที่กำ�หนดขึ้นเป็นหลัก
หรือเป็นแนวซึ่งเป็นที่ยอมรับ ทั้งนี้ ทิศนา แขมมณี (2545: 218-219) กล่าวถึงความหมายของรูปแบบว่า
รูปแบบเป็นรูปธรรมของความคิดซึ่งบุคคลแสดงออกมาในลักษณะใดลักษณะหนึ่ง เช่น เป็นคำ�อธิบาย เป็น
แผนผัง ไดอะแกรม หรือแผนภาพ เพื่อช่วยให้ตนเองและบุคคลอื่นสามารถเข้าใจได้ชัดเจนขึ้น รูปแบบทาง
ด้านศึกษาศาสตร์มักจะเป็นรูปแบบเชิงสาเหตุ อันได้แก่ความคิดที่แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ
ระหว่างตัวแปรต่างๆ ของสภาพการณ์หรือปัญหาใดๆ รูปแบบการศึกษามีความหมายในลักษณะเดียวกับ
ระบบการศึกษา เป็นลักษณะของการศึกษาที่จัดขึ้นอย่างเป็นระบบระเบียบตามปรัชญา ทฤษฎี หลักการ หรือ
ความเชือ่ ตา่ งๆ โดยครอบคลมุ องคป์ ระกอบทีส่ �ำ คญั ๆ ของระบบนัน้ และไดร้ บั การยอมรบั หรอื พสิ จู น์ ทดสอบ
ถึงประสิทธิภาพของระบบนั้นๆ มาแล้ว แต่ตามความหมายแล้วนักการศึกษาโดยทั่วไป นิยมใช้คำ�ว่า “ระบบ”
ในความหมายที่เป็นระบบใหญ่ ครอบคลุมองค์ประกอบสำ�คัญๆ ของการศึกษาหรือการเรียนการสอนใน
ภาพรวมและนิยมใช้คำ�ว่า “รูปแบบ” กับระบบที่ย่อยกว่า
ความหมายการศึกษาปฐมวัย หรือการศึกษาระดับก่อนประถมศึกษา ตามกฎกระทรวง ว่าด้วยการ
แบ่งระดับและประเภทของการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2546 (กลุ่มวิจัยพัฒนากฎหมายคดีความและนิติการ
2554) เป็นการจัดการศึกษาใหแ้ ก่เด็กที่มีอายุสามปถี ึงหกปี เพื่อเป็นการวางรากฐานชวี ิตและการเตรียมความ
พร้อมของเด็กทั้งร่างกายและจิตใจ สติปัญญา อารมณ์ บุคลิกภาพ และการอยู่ร่วมในสังคม กรมวิชาการ
(2546: 3-5) ให้ความหมายของการศึกษาปฐมวัยว่าเป็นการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาเด็ก บนพื้นฐานการ
อบรมเลี้ยงดูและการส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ที่สนองต่อธรรมชาติ และพัฒนาการของเด็กแต่ละคน ตาม
ศักยภาพ ภายใต้บริบทสังคม-วัฒนธรรม ที่เด็กอาศัยอยู่ ด้วยความรัก ความเอื้ออาทร และความเข้าใจของ
ทุกคน เพื่อสร้างรากฐานคุณภาพชีวิต เด็กทุกคนมีสิทธิที่จะได้รับการอบรมเลี้ยงดูและส่งเสริมพัฒนาการ
ตลอดจนการเรียนรู้อย่างเหมาะสม ด้วยปฏิสัมพันธ์ที่ดีระหว่างเด็กกับพ่อแม่ เด็กกับผู้เลี้ยงดูหรือบุคลากร
ที่มีความรู้ความสามารถในการอบรมเลี้ยงดูและให้การศึกษาเด็กปฐมวัย เพื่อให้เด็กมีโอกาสพัฒนาตนเอง
ตามลำ�ดับขั้นของพัฒนาการทุกด้าน อย่างสมดุลและเต็มตามศักยภาพ เป็นการส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้
และพัฒนาการที่ครอบคลุมเด็กปฐมวัยทุกประเภท ยึดหลักการอบรมเลี้ยงดูและให้การศึกษาที่เน้นเด็ก