Page 25 - หลักการและแนวคิดทางการปฐมวัยศึกษา หน่วยที่ 4
P. 25

รูปแบบของการจัดการศึกษาปฐมวัย 4-15

คุณภาพดังกล่าว และเป็นผู้ส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนของครูและสถานศึกษา
ให้เข้าสู่มาตรฐานที่กำ�หนด มีการกำ�หนดให้มีการตรวจสอบการจัดการศึกษา ตรวจสอบคุณภาพมาตรฐาน
การศึกษา เพื่อเป็นหลักในการประกันคุณภาพการศึกษาโดยหน่วยงานภายในสถานศึกษาเอง และหน่วยงาน
ภายนอกที่รัฐกำ�หนดขึ้น

       สรุปได้ว่า รูปแบบการจัดการศึกษาปฐมวัยในระบบเป็นการศึกษาที่มุ่งพัฒนาเด็กปฐมวัยให้มี
คุณภาพชีวิตที่ดี สามารถพัฒนาไปสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ เกิดคุณค่าต่อตนเองและสังคม สร้างเสริม
ให้เด็กปฐมวัยได้เติบโตมีพัฒนาการ ทุกด้านอย่างสมดุล เหมาะสมกับวัย เป็นคนดี คนเก่ง มีความสุขและ
เติบโตเป็นพลเมืองที่ดีมีคุณภาพ เป็นรูปแบบการศึกษาที่เป็นแกนหลักสำ�คัญในการพัฒนาเด็กปฐมวัย ผลิต
พลเมืองดีให้กับประเทศชาติในอนาคต เป็นกระบวนการในการถ่ายทอดวัฒนธรรม ความรู้ ความชำ�นาญ
ค่านิยมและประสบการณ์จากคนรุ่นหนึ่งไปสู่คนอีกรุ่นหนึ่ง ให้ความสำ�คัญต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษา
และให้ทุกคนมีสิทธิเสมอภาคเท่าเทียมกันในการได้รับบริการการศึกษา

เร่อื งที่ 4.1.3 	แนวคดิ เกยี่ วกบั รปู แบบการจัดการศึกษา
	 ปฐมวัยนอกระบบ

       เพื่อทำ�ความเข้าใจกับแนวคิดของรูปแบบการจัดการศึกษาปฐมวัยนอกระบบ ในที่นี้จะขอกล่าวถึง
ความหมาย ลักษณะสำ�คัญ และความสำ�คัญของรูปแบบการจัดการศึกษาปฐมวัยนอกระบบ ดังต่อไปนี้

ความหมายของรปู แบบการจดั การศกึ ษาปฐมวัยนอกระบบ

       เพือ่ ใหเ้ ขา้ ใจความหมายของรปู แบบการจดั การศกึ ษาปฐมวยั นอกระบบ ในทีน่ จี้ ะขอเสนอความหมาย
ของการศกึ ษานอกระบบโดยภาพรวมกอ่ น ดงั พระราชบญั ญตั สิ ง่ เสรมิ การศกึ ษานอกระบบและการศกึ ษาตาม
อธั ยาศยั พ.ศ. 2551 (กลุ่มวิจยั พัฒนากฎหมายคดคี วามและนติ กิ าร 2554) ก�ำ หนดความหมายของการศึกษา
นอกระบบว่า เป็นกิจกรรมการศึกษาที่มีกลุ่มเป้าหมายผู้รับบริการและวัตถุประสงค์ของการเรียนรู้ที่ชัดเจน
มีรูปแบบ หลักสูตร วิธีการจัดและระยะเวลาเรียนหรือฝึกอบรมที่ยืดหยุ่นและหลากหลายตามสภาพความ
ต้องการและศักยภาพในการเรียนรู้ของกลุ่มเป้าหมายนั้นและมีวิธีการวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้ที่มี
มาตรฐานเพื่อรับคุณวุฒิทางการศึกษา หรือเพื่อจัดระดับผลการเรียนรู้

       เจริญผล สุวรรณโชติ (2551: 85) ให้ความหมายของการศึกษานอกระบบว่า เป็นการศึกษาที่จัดขึ้น
เพื่อสนองความต้องการของผู้เรียนตามสถานภาพ สถานการณ์ และตามโอกาสที่เหมาะสมที่ผู้เรียนสามารถ
   20   21   22   23   24   25   26   27   28   29   30