Page 30 - หลักการและแนวคิดทางการปฐมวัยศึกษา หน่วยที่ 4
P. 30
4-20 หลักการและแนวคิดทางการปฐมวัยศึกษา
การศึกษาที่บุคคลได้รับความรู้ประสบการณ์ ได้เสริมสร้างเจตคติ ค่านิยม และทักษะต่างๆ จากครอบครัว
สังคม สิ่งแวดล้อม และจากประสบการณ์ในการดำ�รงชีวิตประจำ�วัน การได้รับความรู้อาจจะได้จากการ
พูดคุย สนทนา การสังเกต การเข้าร่วมในกิจกรรม การประกอบอาชีพการงาน โดยที่กิจกรรมเหล่านี้อาจ
ไม่ได้เกิดขึ้นหรือมีการจัดขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์อย่างใดอย่างหนึ่งทางการศึกษา แต่จัดขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์
อื่น แต่กลับทำ�ให้บุคคลได้รับความรู้โดยบังเอิญหรือไม่ตั้งใจ เช่น การที่บุคคลไปเที่ยวสวนสาธารณะหรือ
สวนสัตว์แล้วบังเอิญได้รับความรู้เกี่ยวกับสัตว์และพรรณไม้ต่างๆ หรือเด็กๆ เรียนรู้คำ�ศัพท์ใหม่ๆ จากการ
พูดคุยกับเพื่อน กับคนในครอบครัว ได้เรียนรู้การทำ�อาหาร การดูแลบ้านเรือนจากการสังเกต และการช่วย
พ่อแม่ทำ�งานบ้าน หรืออาจเรียนรู้เรื่องของธรรมชาติ เรื่องราวทางประวัติศาสตร์จากการฟังเพลง หรือจาก
การชมภาพยนตร์ เป็นต้น จากตัวอย่างดังกล่าวจะเห็นได้ว่า กิจกรรมที่ยกมาเป็นตัวอย่างไม่ว่าจะเป็นสวน
สาธารณะ สวนสัตว์ การทำ�งานบ้าน เพลง ภาพยนตร์ หรือสื่อมวลชนชนิดอื่นๆ เหล่านั้นไม่ได้ถูกจัดทำ�หรือ
จดั สรา้ งขึน้ เพือ่ วตั ถปุ ระสงคใ์ นการศกึ ษา แตบ่ างอยา่ งเกดิ ขึน้ ตามธรรมชาติ เชน่ การท�ำ งานบา้ น หรอื พกั ผอ่ น
เพื่อการบันเทิง การได้รับความรู้จากสื่อประเภทต่างๆ แต่สิ่งเหล่านี้ไปทำ�ให้บุคคลเกิดความรู้โดยอัตโนมัติ
หรือโดยบังเอิญ การที่บุคคลได้รับความรู้โดยวิธีการดังกล่าวนี้เรียกว่า การศึกษาตามอัธยาศัย
ชัยยศ อิ่มสุวรรณ (2544: 3) กล่าวถึงความหมายของรูปแบบการจัดการศึกษาตามอัธยาศัยว่า คือ
การจัดสภาพแวดล้อม สถานการณ์ ปัจจัยเกื้อหนุน สื่อ แหล่งเรียนรู้ และบุคคล เพื่อส่งเสริมให้บุคคลได้
เรียนรู้ตามความสนใจ ศักยภาพ ความพร้อมและโอกาส เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตทั้งของตนเอง ครอบครัว
ชุมชนและสังคม
สำ�นักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (2553: 21) สรุปความหมายของรูปแบบการจัดการศึกษาตาม
อัธยาศัยว่า การศึกษาตามอัธยาศัย เป็นกระบวนการเรียนรู้ตลอดชีวิตที่เกิดขึ้น จากการประสมประสานจาก
การจัดการศึกษาและกระบวนการเรียนรู้ในวิถีชีวิตตามธรรมชาติ จากแรงจูงใจภายในของบุคคล ทำ�ให้เกิด
การพัฒนาทั้งโดยรู้ตัวและไม่รู้ตัว เป็นการเรียนรู้ที่มีคุณค่าต่อชีวิตมนุษย์ เพราะทุกคนสามารถแสวงหาและ
สะสมได้จากประสบการณ์การทำ�งาน สิ่งแวดล้อม เป็นกระบวนการปฏิบัติจริง ทำ�ให้เกิดการพัฒนาเจตคติ
ความรู้และทักษะได้อย่างแท้จริง และมักเกิดขึ้นอย่างยั่งยืน โดยไม่มีการจัดอย่างเป็นระบบ ไม่มีรูปแบบ
กระบวนการที่แน่นอน วัดได้ยาก เป็นการศึกษาที่มีหลากหลายมิติ
จากความหมายของรูปแบบการจัดการศึกษาตามอัธยาศัยที่กล่าวมา สามารถสรุปได้ว่า รูปแบบการ
จดั การศกึ ษาปฐมวยั ตามอธั ยาศยั หมายถงึ การทเี่ ดก็ ปฐมวยั อายุ 3-6 ปี ไดร้ บั ความรปู้ ระสบการณ์ ไดเ้ สรมิ สรา้ ง
พัฒนาการด้านต่างๆ ทั้งทางร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญา รวมทั้งความสามารถต่างๆ จาก
ครอบครัว สังคม สิ่งแวดล้อม และจากประสบการณ์ในการดำ�รงชีวิตประจำ�วัน การได้รับประสบการณ์อาจ
จะได้จากการเล่น การสนทนา การสังเกต การเข้าร่วมในกิจกรรม โดยที่กิจกรรมเหล่านี้อาจไม่ได้เกิดขึ้นหรือ
มีการจัดขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์อย่างใดอย่างหนึ่งทางการศึกษา แต่จัดขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์อื่น แต่กลับทำ�ให้
เด็กปฐมวัยได้รับประสบการณ์โดยบังเอิญหรือไม่ตั้งใจ การศึกษาปฐมวัยตามอัธยาศัยไม่มีการจัดอย่างเป็น
ระบบ ไม่มีรูปแบบกระบวนการที่แน่นอน เป็นกระบวนการเรียนรู้ตลอดชีวิต