Page 31 - การจัดและบริหารองค์การทางการศึกษา หน่วยที่ 7
P. 31

การบริหารกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน 7-21

เรอื่ งท่ี 7.2.1 ค วามหมาย ความส�ำ คญั และขอบเขตของกิจกรรม
          แนะแนว

ความหมายของกจิ กรรมแนะแนว

       กิจกรรมแนะแนวมีบทบาทสำ�คัญที่จะช่วยเหลือผู้เรียนให้พัฒนาตนเองทางด้านสังคมและจิตใจ
ควบคู่ไปกับการให้ความรู้ทางด้านวิชาการ มีผู้ให้ความหมายไว้ดังนี้

       รวีวรรณ ชินะตระกูล (2537: 26) ให้ความหมายการแนะแนวว่าเป็นกระบวนการช่วยเหลือบุคคล
ใหเ้ ขา้ ใจตนเอง เพราะการเข้าใจตนเองนั้นจะส่งผลกระทบไปถงึ การด�ำ รงชีวติ ของนักเรียนในอนาคต การรูจ้ กั
เข้าใจตนเองจะช่วยให้นักเรียนสามารถตัดสินใจในการเลือกเรียนต่อ เลือกประกอบอาชีพ หรือรู้จักปรับตัว
ที่จะอยู่ในสังคม และรู้จักดำ�รงชีวิตของตนให้ดีและมีคุณภาพดียิ่งขึ้น

       คอทแมน อาชบาย และเดอร์กราฟ (สมร ทองดี และปราณี รามสูตร 2545: 11, อ้างอิงจาก Kott-
man, Ashby; & De Groaf, 2001: 3) ให้ความหมายว่า กิจกรรมแนะแนว (guidance activities) เป็น
มวลประสบการณ์ทุกรูปแบบที่จัดให้หรือสนับสนุนให้ผู้รับบริการแนะแนวแต่ละคนแต่ละกลุ่มได้ปฏิบัติหรือ
ได้มีส่วนร่วม เพื่อให้ผู้รับบริการบรรลุเป้าหมายในการพัฒนา สร้างเสริมป้องกันปัญหา และแก้ปัญหาทั้งด้าน
การศึกษา อาชีพ ส่วนตัวและสังคม

       อาร์บัคเคิล (Arbuckle, 1953: 122) ให้ความหมายการบริการแนะแนวหมายถึงการช่วยเหลือ
ผู้เรียนให้เข้าใจตนเอง สังคม งานวิชาการ และงานอาชีพที่เหมาะสมกับตนเอง

       กู๊ด (Good 1973: 194) ให้ความหมายของการแนะแนวไว้ดังนี้
            1. 	การแนะแนวเป็นการช่วยเหลือนักเรียนอย่างมีระบบแบบแผนที่นอกเหนือจากการเรียน

การสอน ทั้งนี้เพื่อช่วยให้เขารู้จักตนเองอย่างถ่องแท้
            2. 	การแนะแนวเป็นวิธีที่จะนำ�ผู้เรียนไปถึงจุดหมายปลายทางโดยจัดสิ่งแวดล้อมให้ตอบ

สนองความต้องการขั้นพื้นฐานจะช่วยให้ผู้เรียนประสบความสำ�เร็จตามจุดหมายปลายทางนั้น
            3. 	การแนะแนวเป็นวิธีการสอนแบบวิวัฒนาการโดยครูเป็นผู้นำ�ผู้เรียนให้รู้จักค้นคว้าและ

ช่วยให้ผู้เรียนบรรลุตามความต้องการของตนเอง
       กระทรวงศึกษาธิการ (2551: 21) กล่าวถึงกิจกรรมแนะแนวว่าเป็นกิจกรรมมุ่งส่งเสริมพัฒนา

ผู้เรียนให้พัฒนาตนเองอย่างเต็มตามศักยภาพ รักและเห็นคุณค่าในตนเองและผู้อื่น พึ่งตนเอง มีทักษะใน
การเลือกแนวทางการศกึ ษา การงานอาชีพ ชีวติ และสังคม มสี ขุ ภาพจติ ที่ดี และมจี ติ ส�ำ นกึ ในการท�ำ ประโยชน์
ต่อครอบครัว สังคม และประเทศชาติ มีวัตถุประสงค์ในการจัดกิจกรรม ดังนี้

            1. 	 กิจกรรมรู้จักและเข้าใจตนเอง มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ผู้เรียนรู้จัก เข้าใจ และเห็นคุณค่าใน
ตนเองและผู้อื่น เป็นกิจกรรมที่ช่วยให้ผู้เรียนสามารถรู้จักตนเองและเข้าใจตนเอง ทั้งด้านความถนัด ความ
สนใจ ความสามารถ จุดเด่น จุดด้อย นิสัย อารมณ์ ความภูมิใจ และเห็นคุณค่าในตนเองและผู้อื่น
   26   27   28   29   30   31   32   33   34   35   36