Page 37 - การจัดและบริหารองค์การทางการศึกษา หน่วยที่ 7
P. 37

การบริหารกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน 7-27

       3. 	จัดกิจกรรมเพื่อให้ผู้เรียนรู้จักเข้าใจและเห็นคุณค่าในตนเองและผู้อื่น กิจกรรมการแสวงหาและ
ใช้ข้อมูลสารสนเทศ กิจกรรมการตัดสินใจและแก้ปัญหา กิจกรรมการปรับตัวและดำ�รงชีวิตที่เน้นผู้เรียนเป็น
สำ�คัญ

       4. จัดกิจกรรมเพื่อให้ผู้เรียนมีอิสระในการคิดและตัดสินใจด้วยตนเอง เรียนรู้ด้วยตนเองโดยการ
ปฏิบัติจนกระทั่งเกิดทักษะชีวิตหรือการเรียนรู้อยู่บนพื้นฐานของแนวคิดที่แท้จริงของผู้เรียน

       5. จัดกิจกรรมเพื่อให้ครูทุกคนมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรม โดยมีครูแนะแนวเป็นพี่เลี้ยงและ
ประสานงานในการจัดกิจกรรมแนะแนวของสถานศึกษา

       6. 	จัดกิจกรรมเพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องกับผู้เรียนทุกฝ่าย ตั้งแต่ผู้บริหาร ครูทุกคน ผู้ปกครอง ชุมชน มี
บทบาทและมีส่วนร่วมในการสนับสนุนการจัดกิจกรรมแนะแนวของสถานศึกษาโดยเป็นพื้นฐานความรับผิด
ชอบของผู้ปกครองในบ้านและในโรงเรียน

       7. 	จัดกิจกรรมแนะแนวต้องเป็นกิจกรรมที่ทำ�ให้ผู้เรียนเกิดกระบวนการเรียนรู้และกระบวนการ
ต่อเนื่อง ไม่ควรจำ�กัดกิจกรรม และควรมีกิจกรรมที่เหมาะสมทั้งรายบุคคลและรายกลุ่ม

       8. 	จัดกิจกรรมแนะแนวต้องมีบุคลากรที่มีความพร้อม มีการเตรียมตัวและมีการฝึกอบรมที่
เพยี งพอ ส�ำ หรบั ท�ำ กจิ กรรมแนะแนว โดยไดร้ บั การสนบั สนนุ และควบคมุ ดแู ลจากฝา่ ยบรหิ ารของสถานศกึ ษา

       แนวทางในการจัดกิจกรรมแนะแนว สถานศึกษาควรมีแนวทางการจัดกิจกรรมแนะแนว ดังนี้
       1. 	ส�ำ รวจสภาพปญั หา ความตอ้ งการ ความสนใจ และธรรมชาตขิ องผูเ้ รยี น โดยการรวบรวมขอ้ มลู
เกี่ยวกับตัวผู้เรียน เพื่อช่วยให้ครูรู้จักผู้เรียนแต่ละคนว่าเป็นอย่างไร ต้องการอะไรและควรให้ความช่วย
เหลือในลักษณะใด โดยใช้เครื่องมือ เทคนิคและวิธีการต่างๆ อย่างหลากหลาย เช่น การสังเกต สัมภาษณ์
แบบสอบถาม แบบทดสอบ การเขยี นอตั ชวี ประวตั ิ สงั คมมติ ิ การเยีย่ มบา้ น โดยมกี ารบนั ทกึ ขอ้ มลู ในระเบยี น
พฤตกิ ารณ์ ระเบยี นสะสม สมดุ รายงานประจ�ำ ตวั ผูเ้ รยี น เพือ่ ใชเ้ ปน็ ขอ้ มลู ในการก�ำ หนดแนวทางและแผนการ
ปฏิบัติกิจกรรมแนะแนว
       2. 	ศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลของผู้เรียนที่ได้จากฐานข้อมูลผู้เรียนรายบุคคล หรือการสำ�รวจเพื่อทราบ
ปัญหา ความต้องการ และความสนใจ เพื่อนำ�ไปกำ�หนดสาระและรายละเอียดของกิจกรรมแนะแนวที่ให้
การปรึกษาโดย มีจุดมุ่งหมายที่จะช่วยให้ผู้เรียนที่รับบริการปรึกษาเกิดการเรียนรู้และเข้าใจตนเอง รู้ว่า
ปัญหาของตนอยู่ที่ตรงไหน ควรจะแก้ไขตนเองอย่างไร การแก้ไขมีกี่ทางและควรเลือกทางใดจึงจะเหมาะสม
กับตนเองมากที่สุด พร้อมทั้งเกิดความรับผิดชอบในการแก้ไขปัญหาของตนเองอย่างจริงจัง
       3. 	กำ�หนดสัดส่วนของกิจกรรมด้านการศึกษา การงานและอาชีพ รวมทั้งชีวิตและสังคมให้ได้
สัดส่วนที่เหมาะสม โดยยึดสภาพปัญหา ความต้องการ ความสนใจ ตลอดจนธรรมชาติของผู้เรียนเป็นหลัก
ทั้งนี้ต้องให้ครูและนักเรียนมีส่วนร่วมในการปฏิบัติกิจกรรม
       4. 	กำ�หนดแผนการปฏิบัติกิจกรรมแนะแนวมีการวางแผนโดยเฉพาะและมีการพัฒนาเพื่อให้เกิด
ประสิทธิภาพ โดยระดับประถมศึกษาจัดเป็นรายปี ระดับมัธยมศึกษาจัดเป็นรายภาค เมื่อกำ�หนดสัดส่วน
ของกิจกรรมในแต่ละด้านแล้ว จะต้องระบุว่าจะจัดกิจกรรมแนะแนวในด้านใด จำ�นวนกี่ชั่วโมง พร้อมทั้งจะ
ต้องกำ�หนดรายละเอียดของแต่ละด้านให้ชัดเจนว่าควรมีเรื่องอะไรบ้าง เพื่อจะได้จัดทำ�เป็นรายละเอียดของ
แต่ละกิจกรรมย่อยต่อไป
   32   33   34   35   36   37   38   39   40   41   42