Page 54 - การจัดประสบการณ์การเรียนรู้คณิตศาสตร์
P. 54
9-44 การจัดประสบการณ์การเรียนรู้คณิตศาสตร์
ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ระดับพื้นฐาน เป็นความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ที่เกิดขึ้นกับผู้คนเกือบตลอด
เวลาเมื่อต้องการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าหรือแก้ปัญหาที่ใช้วิธีการไม่ยุ่งยาก เช่น การเดินป่าหรือเดินทางไกล
ในสมัยก่อนที่ยังไม่มีความสะดวกในการเดินทาง การเตรียมข้าวปลาอาหารไม่อาจนำ�ภาชนะถ้วยชามไปได้
ชาวบ้านจึงมีการหุงข้าวโดยใช้กระบอกไม้ไผ่แทนหม้อข้าว ซึ่งต่อมาได้พัฒนาเป็นข้าวหลามอย่างที่เราคุ้นเคย
กัน สำ�หรับถ้วยชามใส่กับข้าวก็ใช้ใบไม้ตามธรรมชาติ เช่น ใบตอง ใบบัวห่ออาหาร เมื่อเรือหรือหลังคารั่วก็
รู้จักนำ�ชันมาผสมกับนํ้ามันสนหรือนํ้ามันมะกอกเป็นวัสดุอุดรอยรั่ว รู้จักดัดแปลงเครื่องยนต์ขนาดเล็กใส่
เรือหางยาวแทนเครื่องยนต์ติดท้ายที่นำ�เข้าจากต่างประเทศซึ่งมีราคาแพง หรือดัดแปลงสร้างรถอีแต๋นเป็น
รถอเนกประสงค์ทางการเกษตร
สำ�หรับความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ระดับพื้นฐานเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ เช่น ในสมัยโบราณมาตราตวง
ข้าวเปลือกของไทยใช้ทะนาน ซึ่งทำ�จากกะลามะพร้าวเป็นหน่วยเริ่มต้น คือ 25 ทะนานเป็น 1 สัด และ 40
สัดเป็น 1 บั้น ในปัจจุบันคิด 20 ทะนานเป็น 1 ถัง 50 ถังเป็น 1 บั้น ดังนั้น เมื่อคิดถึงบั้นแล้วก็จะได้ความจุ
1,000 ทะนานเทา่ กนั และใชส้ ว่ นตา่ งๆ ของรา่ งกาย เชน่ นิว้ ศอก ของตนเองเปน็ เครือ่ งมอื ในการวดั ความยาว
โดยกำ�หนดให้ 12 นิ้วเป็น 1 คืบ 2 คืบเป็น 1 ศอก 4 ศอกเป็น 1 วา (ความยาว 1 วา คือความยาวที่วัดได้
เมื่อเหยียดแขนทั้งสองข้างออกไป)
ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ระดับสูง เป็นความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ที่ส่งผลกระทบหรือก่อประโยชน์ที่
กวา้ งขวางต่อมวลมนุษย์ เชน่ การคิดสรา้ งเครือ่ งก�ำ เนดิ ไฟฟ้า หลอดไฟฟ้า คอมพวิ เตอร์ และเครื่องเรดาร์ ใน
ปัจจุบันก็มีการคิดสร้างเครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ทันสมัย คิดหาเทคนิควิธีทางการแพทย์ใหม่ๆ
ที่สามารถรักษาโรคเฉพาะทางได้ง่ายและสะดวกขึ้น เช่น การผ่าตัดโดยใช้กล้องจุลทรรศน์ส่องตามสาย การ
ใช้แสงเลเซอร์ในการผ่าตัดตา การผลิตวัสดุนาโนเพื่อใช้ในวงการแพทย์และอุตสาหกรรม การสลายนิ่วโดย
สอดใส่เครื่องมือผ่านผิวหนังเข้าไปในร่างกายที่เรียกว่า เพอร์คูเทเนียส เนโฟรลิโทโทมี (Percutaneous
Nephrolitotomy)
สำ�หรับความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ระดับสูงในทางคณิตศาสตร์ จะเห็นได้จากผลงานของ
นักคณิตศาสตร์ที่เป็นผู้ให้กำ�เนิดวิชาการบางแขนงทางคณิตศาสตร์ เช่น แคลคูลัสซึ่งเป็นวิชาหนึ่งที่มี
ประโยชน์อย่างมากในการศึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ทฤษฎีกราฟที่มีประโยชน์ในการวางผังงานจัด
ระบบการขนส่งหรือลอจิสติกส์
องค์ประกอบของความคดิ รเิ รม่ิ สรา้ งสรรค์
กิลฟอร์ด (Guilford, 1967: 145-151) ซึ่งเป็นนักจิตวิทยาชาวอเมริกันและคณะได้ทำ�การศึกษา
และวิจัยการวิเคราะห์ตัวประกอบ (factor analysis) ของสติปัญญาอย่างต่อเนื่องมานานกว่า 20 ปี โดยเน้น
ศึกษาเรื่องความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ความมีเหตุมีผลและการแก้ปัญหา ซึ่งในการศึกษานั้นกิลฟอร์ดได้เสนอ
แบบจำ�ลองโครงสร้างของสมรรถภาพทางสมอง หรือแบบจำ�ลองโครงสร้างทางสติปัญญา (The structure
of intellect model) ซึ่งเป็นแบบจำ�ลองที่ครอบคลุมสมรรถภาพทางสมองต่างๆ จากแบบจำ�ลองโครงสร้าง
ทางสติปัญญา กิลฟอร์ดได้อธิบายว่า ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์เป็นความสามารถทางสมองที่คิดได้กว้างไกล