Page 63 - การจัดประสบการณ์การเรียนรู้คณิตศาสตร์
P. 63

กิจกรรมส่งเสริมทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ 9-53

ตวั อย่าง 	 จากปัญหาเลขโดด 5 กบั เครือ่ งหมาย ‘+’ ในตัวอยา่ งความคดิ คล่อง
       ผู้ที่มีความคิดละเอียดลออ นอกจากจะมีความคิดยืดหยุ่นมองเห็นวิธีการแก้ปัญหาที่เหมาะสมกับ

ปัญหาแล้ว ยังสามารถคิดวิเคราะห์ในรายละเอียดของแต่ละวิธีการแก้ปัญหาได้อีก เช่น มองเห็นว่าในการแก้
ปัญหาด้วยการแจกแจงกรณีที่เป็นไปได้ทั้งหมด ถ้าไม่มีระบบในการแจงคำ�ตอบแต่ละกรณี อาจได้คำ�ตอบ
ไม่ครบถ้วนหรือได้คำ�ตอบที่ซํ้ากัน หรือในการแก้ปัญหาด้วยการสร้างตาราง ตัวเลขที่อยู่ในช่องจำ�นวนของ
5 (ตัว) จะลดลงทีละ 11 ในขณะที่ตัวเลขที่อยู่ในช่องจำ�นวนของ 55 (ตัว) จะเพิ่มขึ้นทีละ 1 จนกระทั่งถึง
ตัวเลขที่อยู่ในช่องจำ�นวนของ 5 (ตัว) น้อยกว่า 11

       สำ�หรับการแก้ปัญหาด้วยการเขียนสมการ ถ้าไม่นำ�ตารางเข้ามาช่วย อาจทำ�ให้การแก้สมการ 3
ตัวแปรทำ�ได้ยุ่งยาก ดังนั้น ผู้แก้ปัญหาที่มีความคิดละเอียดลออก็จะมีการคำ�นึงถึงเงื่อนไขของกลยุทธ์การ
แจกแจงกรณีที่เป็นไปได้ทั้งหมด การสร้างตาราง และการเขียนสมการนี้ด้วย

       จากรายละเอียดและตัวอย่างข้างต้น จะเห็นว่า องค์ประกอบทั้ง 4 ประการมีการเสริมซึ่งกันและกัน
อยู่ ซึ่งผู้มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์แต่ละคน ควรมีองค์ประกอบสำ�คัญเหล่านั้นมากน้อยแตกต่างกันไปตาม
ลักษณะของบุคคลนั้นๆ

ลักษณะของผมู้ คี วามคิดรเิ รม่ิ สรา้ งสรรค์

       ดงั ทีเ่ คยกลา่ วมาแลว้ วา่ นกั คณติ ศาสตรแ์ ละนกั วทิ ยาศาสตรท์ กุ คนเปน็ ผูม้ คี วามคดิ รเิ ริม่ สรา้ งสรรค์
และนักวิทยาศาสตร์ในอดีตจำ�นวนไม่น้อยเป็นนักคณิตศาสตร์ด้วย ดังนั้น ลักษณะของผู้มีความคิดริเริ่ม
สร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์ย่อมมีลักษณะเช่นเดียวกันกับของผู้มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์
ณัฏฐพงษ์ เจริญทิพย์ (2542) ได้เสนอแนวคิดเกี่ยวกับลักษณะสำ�คัญของผู้มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
ทางวิทยาศาสตร์ไว้ 7 ประการ ที่พอจะอนุโลมให้เป็นลักษณะสำ�คัญของผู้มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ทาง
คณิตศาสตร์ ดังนี้

       1. 	ความอยากรู้อยากเห็น
       2. 	ความไวต่อปัญหา
       3. 	ความคิดแหวกแนว
       4. 	ชอบทำ�ในสิ่งที่ท้าทายความคิด
       5. 	ชอบการเปลี่ยนแปลง
       6. 	ทำ�งานเพื่อความพอใจ
       7. 	อารมณ์ขัน
       1. 	ความอยากรู้อยากเห็น  หมายถึง อาการหรือพฤติกรรมที่แสดงถึงความต้องการที่จะเรียนรู้ หรือ
เพิ่มเติมจากสิ่งที่รู้แล้วหรือยังไม่รู้ เพื่อปรับปรุงความรู้เดิมหรือเพื่อให้ได้ความรู้ด้านต่างๆ
       2. 	ความไวต่อปัญหา หมายถึง อาการหรือพฤติกรรมที่แสดงถึงการเกิดความคิดอย่างฉับพลัน
สืบเนื่องจากการรับรู้หรือการได้ประสบกับเหตุการณ์ในด้านต่างๆ
   58   59   60   61   62   63   64   65   66   67   68