Page 16 - การประเมินองค์กรและบุคลากร
P. 16

13-6 การประเมินองค์กรและบุคลากร

ความสามารถเต็มที่หรือสูงสุดของบุคคล ความสามารถที่บุคคลแสดงออกมาเป็นความสามารถที่เกิดขึ้นใน
ปัจจุบันอาจไม่สูงสุดหรือเต็มศักยภาพ บุคคลสามารถทำ�ได้ดีขึ้นกว่าเดิมไปอีกเรื่อย ๆ เมื่อได้แสดงความ
สามารถอยา่ งสงู สดุ แลว้ จงึ จะเรยี กวา่ เตม็ ศกั ยภาพ ดงั นัน้ นยิ ามจงึ กลา่ วมาวา่ ศกั ยภาพเปน็ ความสามารถสงุ
สุดที่แอบแฝง หากบุคคลได้รับการส่งเสริม “พัฒนาสมรรถนะหรือพัฒนาความสามารถ” ความสามารถก็จะ
เข้าไปใกล้ศักยภาพของบุคคลนั้น กระแสของการพัฒนาบคุ คลเพือ่ ให้เตม็ ศักยภาพปรากฏมากขึ้นในองคก์ ร/
หน่วยงานต่าง ๆ โดยการคัดเลือกบุคคลที่มีสัมฤทธิผลสูง (Talent) มีแนวโน้มว่าเป็นบุคคลที่สามารถพัฒนา
ได้สูงสุดเต็มศักยภาพ เพื่อให้ก้าวไปสู่ตำ�แหน่งหน้าที่สำ�คัญในอนาคต

2. 	ผลการปฏิบตั งิ านกับศกั ยภาพของบคุ ลากร

       การสง่ เสรมิ พฒั นาบคุ ลากรใหด้ �ำ รงต�ำ แหนง่ ทีเ่ หมาะกบั การปฏบิ ตั งิ านและศกั ยภาพ เปน็ สิง่ ทีอ่ งคก์ ร
ไม่ควรละเลยโดยเฉพาะตำ�แหน่งผู้นำ�ในระดับต่าง ๆ มีผู้เสนอการจำ�แนกประเภทบุคลากรในองค์การเป็น
2 มิติได้เป็น 9 กลุ่ม ที่เรียกว่า The performance and potential matrix (9 box model) ด้วยมิติผล
การปฏิบัติงาน (performance) และมิติศักยภาพ (potential) ของบุคลากรเป็นเกณฑ์การแบ่ง จัดเป็นรูป
แบบที่เข้าใจง่ายเชื่อมโยงระหว่าง สิ่งที่เกิดขึ้นจริง (actual) กับสิ่งที่เป็นอุดมคติ (ideal) วิลเลี่ยม (Williams.
2002) กล่าวว่า ต้นกำ�เนิดที่มาของรูปนี้ยังไม่ชัดเจน แต่มีแหล่งอ้างอิงได้ว่า Ansoff นำ�มาใช้ในการจัดการ
เชิงกลยุทธ์ในปี 1957 รูปแบบดั้งเดิมชื่อ original 9 Box Model ต่อมากลุ่มที่ปรึกษาบอสตัน (Boston
Consulting Group) ได้นำ�มาดัดแปลงใช้ในการพัฒนาบุคลากรช่วงปี ค.ศ. 1970-1996 และองค์กรต่าง ๆ
ในสหรัฐอเมริกานำ�ไปใช้ในการวางแผนและพัฒนาบุคลากรอย่างกว้างขวางในวงการต่าง ๆ

       ประเภทบุคลากรในองค์การพิจารณาใน 2 มิติ คือ
       2.1 	มิติด้านการปฏิบัติงาน เป็นเรื่องของความสามารถและความรู้ในงานที่ปรากฏในปัจจุบัน
พิจารณาจากทักษะในงาน/ผลิตภัณฑ์/ความรู้ทางเทคนิค ทักษะเชิงเทคนิค ทัศนคติและพฤติกรรม ความ
มุ่งมั่นและมีความยืดหยุ่น ประสิทธิผลและผลผลลัพธ์ (ระมัดระวังอุปสรรคการบรรเทาสถานการณ์) ความ
สัมพันธ์ระหว่างบุคคลในการทำ�งาน แบ่งความสามารถได้เป็น 3 ระดับ คือ ตํ่ายังต้องพัฒนา (Needs
Development) ถัดไปก็คือ ปานกลาง ผลงานได้ตามที่คาดหวัง (Meets Expectation) และดีที่สุดคือ
ผลงานได้เกินกว่าที่คาดหวัง (Exceeds Expectation)
       2.2 	มิติด้านศักยภาพ ความสามารถสูงสุดที่เแฝงอยู่ในตัวบุคคล ต้องเกินบทบาทในปัจจุบันแบ่ง
ออกเป็น 3 ระดับ คือ
       บุคลากรที่มีศักยภาพสูง (High) คือ บุคลากรที่สามารถจะทำ�งานที่ยาก ซับซ้อน หรือในตำ�แหน่งที่
สูงขึ้นได้ในทันที โดยอาจไม่ต้องฝึกหรือเพิ่มอะไรมากนัก
       บุคลากรที่มีศักยภาพปานกลาง เติบโตได้ (Growth) คือบุคลากรที่จะทำ�งานที่ยาก ซับซ้อนหรือใน
ตำ�แหน่งที่สูงขึ้นได้ ต้องใช้เวลาในการพัฒนาความสามารถบางอย่างเพิ่มเติม
       บุคลากรที่มีศักยภาพตํ่าหรือศักยภาพที่จำ�กัด (Limited) คือบุคลากรที่ไม่สามารถที่จะทำ�งานที่
ยากขึ้น หรือไม่สามารถรับผิดชอบงานที่สูงขึ้นได้
   11   12   13   14   15   16   17   18   19   20   21