Page 20 - การพัฒนาระบบการจัดการเรียนรู้
P. 20
7-10 การพัฒนาระบบการจัดการเรียนรู้
คุณภาพทางวิชาการของสถานศึกษาให้ได้มาตรฐาน ทั้งนี้ เพื่อให้การจัดการศึกษาของแต่ละสถานศึกษามี
ประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุดซึ่งจะส่งผลต่อคุณภาพของผู้สำ�เร็จการศึกษา โดยยืนยันต่อประชาชน
และองค์กรภายนอกว่า สถานศึกษามีการควบคุมคุณภาพ ดูแลและติดตามผลการใช้หลักสูตรอย่างใกล้ชิด
ทั้งนี้ เพื่อสร้างความมั่นใจและความศรัทธาต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจากการจัดการศึกษาตามหลักสูตรของ
แต่ละสถานศึกษา
กลา่ วโดยสรปุ การประเมนิ หลกั สตู รจงึ มวี ตั ถปุ ระสงคส์ �ำ คญั เพือ่ การจดั หาสารสนเทศทีจ่ ะน�ำ ไปใชใ้ น
การตัดสินใจเกี่ยวกับหลักสูตรอย่างมีเหตุผลและมีความเชื่อถือได้ เพื่อนำ�ไปสู่การปรับปรุง พัฒนาหลักสูตร
การบริหารหลักสูตรให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล รักษามาตรฐานทางวิชาการและยืนยันการควบคุม
คุณภาพการใช้หลักสูตรเพื่อสร้างความเชื่อมั่น ความศรัทธาต่อประชาชนและสังคม
3. ความสำ�คัญของการประเมินหลกั สูตร
การประเมินหลักสูตรมีความสำ�คัญ ดังนี้
3.1 ช่วยให้ได้สารสนเทศเกี่ยวกับหลักสูตรสำ�หรับผู้บริหารหรือผู้เกี่ยวข้องใช้ประกอบการตัดสินใจ
เพื่อการพัฒนาหลักสูตร การตรวจสอบความพร้อมของหลักสูตรและทรัพยากรในการดำ�เนินการใช้หลักสูตร
3.2 ช่วยให้ทราบความก้าวหน้า ปัญหาและอุปสรรคในระหว่างดำ�เนินการใช้หลักสูตรซึ่งจะนำ�มาใช้
ประกอบการตัดสินใจเพื่อการปรับปรุงการบริหารหลักสูตร หรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขแผนหรือวิธีดำ�เนินการใช้
หลักสูตรให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
3.3 ช่วยให้ได้สารสนเทศเกี่ยวกับสัมฤทธิผลของหลักสูตร จุดเด่น จุดด้อยของหลักสูตรซึ่งจะนำ�
มาใช้ประกอบการตัดสินใจและวินิจฉัยว่าจะปรับปรุง เปลี่ยนแปลงหลักสูตรอย่างไรให้มีความเหมาะสมกับ
สภาพการเปลี่ยนแปลงและแนวโน้มของการศึกษา เศรษฐกิจ สังคม และการเมือง
3.4 ช่วยให้ได้สารสนเทศที่บ่งบอกถึงประสิทธิภาพของหลักสูตรว่าเป็นอย่างไร คุ้มค่ากับการลงทุน
หรือไม่ ซึ่งจะนำ�ไปสู่การตัดสินใจของผู้บริหารและผู้เกี่ยวข้องในการดำ�เนินการใช้หลักสูตรต่อไป ปรับปรุง
เปลี่ยนแปลง หรือยกเลิกหลักสูตร
3.5 ช่วยให้เกิดการเสริมแรง สร้างพลังจูงใจให้กับผู้บริหารหลักสูตรและผู้เกี่ยวข้องกับการใช้
หลักสูตรเมื่อทราบสัมฤทธิผลของหลักสูตร จุดเด่น หรือจุดด้อยของหลักสูตรโดยจะมุ่งมั่นปรับปรุง และ
พัฒนาการบริหารหลักสูตรให้มีประสิทธิภาพและมาตรฐานสูงขึ้น ซึ่งจะเกิดคุณค่าและประโยชน์สูงสุดต่อ
ผู้เรียนหรือสถานศึกษา
กล่าวโดยสรุป การประเมินหลักสูตรจะช่วยให้ได้สารสนเทศเกี่ยวกับหลักสูตรซึ่งจะเป็นประโยชน์
ต่อผู้บริหาร และผู้เกี่ยวข้องได้ใช้ประกอบการตัดสินใจเกี่ยวกับหลักสูตร ทั้งก่อนเริ่มพัฒนาหลักสูตร ก่อน
การใช้หลักสูตรโดยจัดปัจจัยหรือทรัพยากรให้มีความพร้อมหรือความพอเพียง ระหว่างการใช้หลักสูตรโดย
ปรับปรุงและพัฒนากระบวนบริหารหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น และหลัง
การใช้หลักสูตรครบวงจรแล้วการประเมินจะช่วยให้ได้สารสนเทศเกี่ยวกับสัมฤทธิผลของหลักสูตร จุดเด่น
จดุ ดอ้ ยของหลกั สตู รซึง่ จะชว่ ยใหผ้ ูบ้ รหิ ารและผูเ้ กีย่ วขอ้ งตดั สนิ ใจปรบั ปรงุ พฒั นาหรอื เปลีย่ นแปลงหลกั สตู ร
อย่างมีเหตุผลด้วยรอบคอบและเป็นประโยชน์สูงสุดต่อผู้เรียน ผู้ปกครอง และสังคม