Page 18 - การพัฒนาระบบการจัดการเรียนรู้
P. 18

7-8 การพัฒนาระบบการจัดการเรียนรู้

       ฟิทซ์แพททริค แซนเดอร์ และวอร์เธน (Fitzpatrick, Sanders and Worthen, 2004: 5) ให้
ความหมายของการประเมินหลักสูตรว่า เป็นวิธีการสืบหาข้อมูลและพิจารณาตัดสินเกี่ยวกับหลักสูตร
3 ประเดน็ คอื (1) การก�ำ หนดมาตรฐานเพือ่ ใชต้ ดั สนิ คณุ ภาพโดยเทยี บกบั มาตรฐานทีก่ �ำ หนด (2) การรวบรวม
ข้อมูลสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับหลักสูตร และ (3) การประยุกต์ใช้มาตรฐานเพื่อตัดสินคุณค่า คุณภาพ
คุณประโยชน์ ประสิทธิผล หรือความสำ�คัญของหลักสูตร ซึ่งจะช่วยให้ได้ข้อเสนอแนะที่จะทำ�ให้บรรลุ
ตามวตั ถปุ ระสงคท์ ีก่ �ำ หนดไว้ หรอื ชว่ ยใหผ้ ูเ้ กีย่ วขอ้ งตดั สนิ ใจไดว้ า่ ควรด�ำ เนนิ การใชห้ ลกั สตู รตอ่ ไป ปรบั ปรงุ
พัฒนา หรือเปลี่ยนแปลงหลักสูตรอย่างไร

       กล่าวโดยสรุป การประเมินหลักสูตร หมายถึงกระบวนการเชิงระบบเพื่อจัดหาสารสนเทศที่เป็น
ประโยชน์ต่อการตัดสินใจเกี่ยวกับการปรับปรุง พัฒนาหลักสูตร การบริหารหลักสูตร การเปลี่ยนแปลง
หลักสูตร จากความหมายดังกล่าวนี้ ชี้ให้เห็นลักษณะของการประเมินหลักสูตร ดังนี้

       1. 	การประเมินหลักสูตรเป็นกระบวนการที่จัดทำ�ขึ้นอย่างเป็นระบบเพื่อให้ได้สารสนเทศที่เชื่อถือ
ได้และเป็นประโยชน์ต่อการตัดสินใจของผู้บริหาร หรือผู้เกี่ยวข้องกับหลักสูตร

       2. 	การประเมินหลักสูตรเป็นกระบวนการในการจัดเตรียมสารสนเทศ เพื่อใช้ในการตัดสินใจ
เกี่ยวกับการพัฒนาหลักสูตร ปรับปรุงการบริหารหลักสูตร การเปลี่ยนแปลงหลักสูตรให้เหมาะสมกับสภาพ
และความต้องการของผู้เรียน ผู้ปกครอง และสังคม

       3. 	จดุ เนน้ ทสี่ �ำ คญั ของการประเมนิ หลกั สตู ร อยทู่ กี่ ารเพมิ่ ประสทิ ธภิ าพ (efficiency) และประสทิ ธผิ ล
(effectiveness) ของการใช้หลักสูตรในการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน

2. 	วัตถุประสงค์ของการประเมินหลักสตู ร

       นกั วชิ าการทางการประเมนิ หลายคน พยายามทจ่ี ะจดั จ�ำ แนกวตั ถปุ ระสงคข์ องการประเมนิ ตวั อยา่ งเชน่
โปรฟี่ โกรทลูสเชน และกูเลอร์ (Brophy, Grotelueschen and Gooler, 1974; cited in Worthen and
Sanders, 1987: 6) กล่าวว่า วัตถุประสงค์ของการประเมินที่สำ�คัญ 3 ประการ คือ (1) เพื่อการวางแผนการ
ดำ�เนินงานและ/หรือผลผลิตของหลักสูตร (2) เพื่อการปรับปรุงกระบวนการและ/หรือผลผลิตของหลักสูตร
และ (3) เพื่อการตัดสินคุณค่าของกระบวนการและ/หรือผลผลิตของหลักสูตร จากแนวคิดของแอนเดอร์สัน
และบอล (Anderson & Ball, 1978; cited in Worthen and Sanders, 1987: 6; รัตนะ บัวสนธ์ 2540:
18-20) ได้ให้แนวคิดเกี่ยวกับวัตถุประสงค์ของการประเมิน สรุปเป็นวัตถุประสงค์ของการประเมินหลักสูตร
ได้ 4 ประการ ดังนี้

       2.1 	เพื่อจัดหาสารสนเทศสำ�หรับการตัดสินใจจัดทำ�หลักสูตร โดยการประเมินว่า มีสภาพปัญหา
หรือความต้องการจำ�เป็นที่จะจัดหลักสูตรนั้นมากน้อยเพียงใด หรือมีความสมเหตุสมผลหรือไม่ มีความเป็น
ไปได้มากน้อยเพียงใดที่จะจัดทำ�และนำ�หลักสูตรนั้นไปใช้ เป็นหลักสูตรที่กลุ่มเป้าหมาย ผู้เรียน ผู้ปกครอง
และสังคมมีความต้องการหรือจะให้การสนับสนุนหรือไม่ เพียงใด สารสนเทศจากการประเมินเหล่านี้จะนำ�
มาใช้ประกอบการตัดสินใจของผู้บริหารที่จะอนุมัติให้ดำ�เนินการจัดทำ�หลักสูตรดังกล่าว
   13   14   15   16   17   18   19   20   21   22   23