Page 21 - การพัฒนาระบบการจัดการเรียนรู้
P. 21
การประเมินหลักสูตร 7-11
เร่ืองที่ 7.1.2 ประเภทของการประเมนิ หลักสูตร
การประเมินหลักสูตรมีหลายประเภทขึ้นอยู่กับเกณฑ์ที่ใช้ในการจำ�แนกประเภท ดังนี้
1. การจำ�แนกตามวัตถุประสงค์ของการประเมิน แบ่งการประเมินหลักสูตรออกเป็น 2 ประเภท
คือ
1.1 การประเมินความก้าวหน้า (formative evaluation) เป็นการประเมินขณะกำ�ลังดำ�เนิน
การใช้หลักสูตร โดยมุ่งตรวจสอบ กำ�กับดูแลการบริหารหลักสูตร การจัดการเรียนการสอนในแต่ละขั้นตอน
ของแผนการบริหารหลักสูตรและแผนการจัดการเรียนการสอน ตลอดจนการศึกษาความก้าวหน้า ปัญหา
อุปสรรค และข้อบกพร่องต่างๆ ในระหว่างการดำ�เนินการใช้หลักสูตร เพื่อให้ได้สารสนเทศสำ�หรับปรับปรุง
กระบวนการบริหารและการใช้หลักสูตรให้เป็นไปด้วยความราบรื่น สอดคล้องกับแผนหรือมาตรฐานการ
ดำ�เนินการใช้หลักสูตรที่กำ�หนดไว้
1.2 การประเมินผลสรุปรวม (summative evaluation) หรือประเมินผลสัมฤทธิ์ของหลักสูตร
เป็นการประเมินผลสรุปรวมของหลักสูตรหลังจากดำ�เนินการใช้หลักสูตรครบวงจรแล้ว เพื่อให้ได้สารสนเทศ
ส�ำ หรบั ตดั สนิ ผลส�ำ เรจ็ ของหลกั สตู ร ผลการประเมนิ จะเปน็ ประโยชนต์ อ่ การตดั สนิ ใจวา่ ควรปรบั ปรงุ พฒั นา
เปลี่ยนแปลงหลักสูตรหรือไม่ อย่างไร
2. การจำ�แนกตามหลักที่ยึดในการประเมิน แบ่งการประเมินหลักสูตรออกเป็น 2 ประเภท คือ
2.1 การประเมินแบบอิงวัตถุประสงค์ของหลักสูตร (goal based evaluation) เป็นการประเมิน
ที่ตัดสินคุณค่าของหลักสูตร โดยการเปรียบเทียบผลผลิตของหลักสูตรกับผลที่คาดหวังตามวัตถุประสงค์
ของหลักสูตรว่า บรรลุผลสำ�เร็จตามวัตถุประสงค์ที่กำ�หนดไว้หรือไม่ เพียงใด
2.2 การประเมนิ แบบไมอ่ งิ วตั ถปุ ระสงค์ (goal-free evaluation) เปน็ การประเมนิ ผลทัง้ หมดที่
เกิดขึ้นจากการใช้หลักสูตร ไม่จำ�เป็นต้องกำ�หนดวัตถุประสงค์ของการประเมินให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
ของหลักสูตร กล่าวคือ การตัดสินคุณค่าของหลักสูตรควรเน้นที่การตีค่าของผลที่เกิดขึ้นทั้งหมด (actual
outcomes) ของหลักสูตร ซึ่งประกอบด้วยผลทางตรง ผลทางอ้อม หรือผลกระทบ โดยไม่ยึดเฉพาะการ
ประเมินผลที่คาดหวังตามวัตถุประสงค์ของหลักสูตร
3. การจำ�แนกตามลักษณะของผู้ประเมิน แบ่งการประเมินหลักสูตรออกเป็น 2 ประเภท คือ
3.1 การประเมินโดยผู้ประเมินภายนอก (external evaluator) เป็นการประเมินที่ใช้บุคคล
ภายนอกองค์กรหรือนอกสังกัดหน่วยงานหรือสถานศึกษาเป็นผู้ประเมิน ส่วนใหญ่เป็นนักประเมินที่มีความ
เชี่ยวชาญและมีประสบการณ์สูงที่มีความเป็นกลาง ในการประเมินหลักสูตรอาจมีการทำ�ข้อตกลงสัญญาใน
การประเมินหรือเป็นนักประเมินที่ได้รับเชิญเพื่อการขอความช่วยเหลือทางวิชาการ
3.2 การประเมินโดยผู้ประเมินภายใน (internal evaluator) เป็นการประเมินโดยใช้บุคคล
ภายใน สังกัดหน่วยงานหรือสถานศึกษาเป็นผู้ประเมิน ซึ่งเป็นผู้ใกล้ชิดหรือรับรู้เกี่ยวข้องกับการพัฒนา