Page 22 - การพัฒนาระบบการจัดการเรียนรู้
P. 22
7-12 การพัฒนาระบบการจัดการเรียนรู้
หลักสูตร กระบวนการใช้หลักสูตรมาโดยตลอด ในกรณีสถานศึกษาการศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ประเมินอาจเป็น
ครูในสถานศึกษา ศึกษานิเทศก์หรือบุคลากรจากสำ�นักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหรือมัธยมศึกษา
(สพป/สพม) หรือบุคลากรจากสำ�นักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ) ในกรณีของสถาบัน
อุดมศึกษา ผู้ประเมินอาจเป็นอาจารย์ในแต่ละคณะหรือระหว่างคณะ หรือระหว่างสถาบัน รวมทั้งบุคลากร
จากสำ�นักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ)
4. การจำ�แนกตามช่วงเวลาของการดำ�เนินการหลักสูตร แบ่งการประเมินหลักสูตรออกเป็น 5
ประเภท คือ
4.1 การประเมินก่อนพัฒนาหลักสูตร เป็นการประเมินในขั้นตอนของการวางแผนหลักสูตร
โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อการศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานที่จำ�เป็นสำ�หรับการพัฒนาหลักสูตร เป็นการศึกษา
ความเหมาะสมของหลกั สตู รทีจ่ ะพฒั นา โดยการพจิ ารณาสภาพปญั หาและความจ�ำ เปน็ ในการพฒั นาหลกั สตู ร
ว่าหลักสูตรที่จะพัฒนานั้นมีความสอดคล้องกับนโยบายทางการศึกษา สภาพสังคม เศรษฐกิจ การเมือง และ
การเปลีย่ นแปลงทางวทิ ยาศาสตรแ์ ละเทคโนโลยหี รอื ไม่ ซึง่ อาจใชเ้ ทคนคิ ของการประเมนิ ความตอ้ งการจ�ำ เปน็
(needs assessment) หรือใช้เทคนิคของการศึกษาความเป็นไปได้ (feasibility study)
4.2 การประเมินร่างหลักสูตรหรือการวิเคราะห์หลักสูตร (curriculum appraisal or analysis)
เป็นการตรวจสอบความเหมาะสม ความชัดเจนและความสมบูรณ์ของตัวหลักสูตรและเอกสารประกอบ
หลักสูตร รวมทั้งตรวจสอบความสอดคล้องระหว่างองค์ประกอบของหลักสูตร เช่น ปรัชญา วัตถุประสงค์
หรือจุดหมาย โครงสร้างของหลักสูตร การบริหารหลักสูตร การจัดการเรียนการสอน การวัดและประเมินผล
การเรียน เป็นต้น ทั้งนี้ เพื่อจะได้ปรับปรุงหลักสูตรฉบับร่างให้มีความสมบูรณ์มากที่สุดและพร้อมที่จะนำ�ไป
ใช้ดำ�เนินการจัดการศึกษาต่อไป
4.3 การประเมินก่อนการใช้หลักสูตร (intrinsic evaluation) เป็นการประเมินความพร้อม
ก่อนนำ�หลักสูตรไปใช้ โดยมุ่งเน้นประเมินความพร้อมและความพอเพียงด้านปัจจัยหรือทรัพยากรในการใช้
หลักสูตร เช่น ความพร้อมด้านบุคลากรทั้งจำ�นวนและคุณลักษณะ ความพร้อมด้านเอกสารหลักสูตร ความ
พร้อมด้านระบบการบริหารหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอน รวมทั้งสิ่งอำ�นวยความสะดวกและปัจจัย
สนับสนุนการใช้หลักสูตร และการจัดการเรียนการสอน เป็นต้น
4.4 การประเมนิ ระหวา่ งการใชห้ ลกั สตู ร (on going evaluation) เปน็ การประเมนิ กระบวนการ
ใช้หลักสูตรเกี่ยวกับการบริหารหลักสูตร การจัดการเรียนการสอน และการสนับสนุนส่งเสริมการใช้หลักสูตร
โดยมจี ดุ มุง่ หมายเพือ่ การศึกษาความก้าวหน้าของการใชห้ ลกั สตู รเปน็ ช่วงๆ (formative evaluation) ว่าการ
ด�ำ เนนิ การใชห้ ลกั สตู รเปน็ ไปตามแผนด�ำ เนนิ การใชท้ ีก่ �ำ หนดไวห้ รอื ไม่ มปี ญั หาหรอื อปุ สรรคอยา่ งไรในแตล่ ะ
ชว่ งของการด�ำ เนนิ งาน ประเดน็ การประเมนิ ทีเ่ กีย่ วกบั การบรหิ ารหลกั สตู ร ไดแ้ ก่ การวางแผนการใชห้ ลกั สตู ร
การเตรยี มความพรอ้ มของบคุ ลากรก่อนการใช้หลักสูตร การนเิ ทศ การฝกึ อบรมและพัฒนาบุคลากรเพิ่มเติม
ระหว่างการใช้หลักสูตร การจัดปัจจัยและสิ่งสนับสนุนการใช้หลักสูตร ประเด็นการประเมินเกี่ยวกับการจัด
การเรียนการสอน ได้แก่ ความรู้ ความสามารถของครู การจัดกิจกรรม/พฤติกรรมการจัดการเรียนรู้ การจัด
การชั้นเรียน การวัดและประเมินผลการเรียน สารสนเทศที่ได้จากการประเมินจะนำ�มาใช้เพื่อการปรับปรุง
การบริหารหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น