Page 16 - หลักการและทฤษฎีการศึกษาเกี่ยวกับวิชาชีพครู
P. 16

1-6 หลักการและทฤษฎีการศึกษาเกี่ยวกับวิชาชีพครู

       ค�ำนิยามดังกล่าวเน้นการคิดอย่างมีระบบเพ่ือแสวงหาค�ำตอบที่ดีท่ีสุด ซ่ึงเป็นวิธีการที่นักปรัชญาใช้
ในการแสวงหาความจริงเกี่ยวกับสรรพสิ่งท้ังมวลในจักรวาล

       1.3 	ความหมายตามจุดมงุ่ หมาย ปรัชญามีความหมายตามจุดมุ่งหมาย ดังนี้
       “ปรัชญา แสดงให้เห็นถึงความพยายามของมนุษย์ ในการก�ำหนดความหมายและทิศทางของชีวิต
(Neff’s Philosophy and American Education)”
       “ปรัชญา คือ การศึกษาคุณค่าของชีวิตท่ีขัดแย้งกัน เพ่ือที่จะแสวงหาแนวทางที่ดีที่สุดส�ำหรับการ
ด�ำเนินชีวิตในสภาพการขัดแย้งท่ีมีอยู่ (Kilpatrick’s Philosophy of Education)”
       นิยามดังกล่าวเป็นจุดมุ่งหมายส�ำคัญประการหน่ึงของปรัชญาในอันท่ีจะก�ำหนดความหมายและ
คุณค่าของชีวิตและสรรพส่ิงในจักรวาล
       ส่วน ธ�ำรง บัวศรี (2542: 44) ได้สรุปความหมายของปรัชญาไว้ว่า “ปรัชญา หมายถึง การศึกษา
หาความจริงหรือแก่นแท้ของสรรพสิ่งท่ีมีอยู่ในโลกและจักรวาลอย่างมีระบบและมีระเบียบแบบแผน” และ
ได้อธิบายว่า การศึกษาหาความจริงดังกล่าวมีตัวอย่าง เช่น ศึกษาว่า ธรรมชาติของมนุษย์คืออะไร มนุษย์เป็น
อินทรียวัตถุหรือเป็นเพียงสสารอย่างหน่ึง มนุษย์มีแต่เพียงร่างกายหรือมีกายกับจิตอยู่ด้วยกัน มนุษย์มีชีวิต
อยู่เพ่ืออะไร โลกและจักรวาลเป็นส่ิงที่เป็นจริงหรือเป็นส่ิงลวงตา สิ่งที่ว่าจริงแท้แน่นอนน้ันมีอยู่หรือไม่ และ
เป็นอย่างไร ที่ว่าสิ่งใดดีหรือไม่ดีนั้นหมายความว่าอย่างไร ความดีหรือไม่ดีวัดกันด้วยอะไร เป็นต้น ผลของ
การศึกษาเร่ืองต่าง ๆ ท�ำให้เกิดความคิดเห็นที่แตกต่างกัน เกิดลัทธิปรัชญาต่าง ๆ มาประยุกต์ใช้กับสังคม
เศรษฐกิจ การเมือง การศึกษา เป็นต้น เกิดเป็นหน่อของปรัชญา เรียกว่า ปรัชญาการเมือง ปรัชญาการศึกษา
เป็นต้น
       ปรัชญา ตามพจนานุกรมไทยฉบับราชบัณฑิตยสถาน (ราชบัณฑิตยสถาน, 2556) ให้ความหมายว่า
เป็นวิชาว่าด้วยหลักแห่งความรู้และความจริง กล่าวคือ ในบรรดาความรู้ทั้งหลายของมนุษยชาตินั้น อาจแบ่ง
ได้เป็นสองเร่ืองใหญ่ ๆ เรื่องท่ีหน่ึง คือ เรื่องเกี่ยวกับธรรมชาติ เช่น ฟิสิกส์ มีเป้าหมายในการศึกษาเพ่ือ
หาความจริงต่าง ๆ และเข้าใจในธรรมชาติมากกว่าส่ิงรอบตัวเพราะรวมไปถึงจักรวาลทั้งหมดอย่างลึกซ้ึง
ชีววิทยา มีเป้าหมายในการศึกษาเกี่ยวกับสิ่งท่ีมีชีวิตท้ังหลาย เคมี มีเป้าหมายในการศึกษาเก่ียวกับธาตุและ
องค์ประกอบของธาตุ เป็นต้น เร่ืองที่สอง คือ เรอ่ื งเกย่ี วกบั สงั คม เช่น เศรษฐศาสตร์ มีเป้าหมายในการศึกษา
เก่ียวกับระบบเศรษฐกิจของสังคม รัฐศาสตร์ มีเป้าหมายในการศึกษาเก่ียวกับระบบการเมืองการปกครอง
ของสังคม นิติศาสตร์ มีเป้าหมายในการศึกษาเก่ียวกับระบบกฎหมายของสังคม เป็นต้น แต่เป้าหมายในการ
ศึกษาของปรัชญานั้น ครอบคลุมความรู้และความจริง ในทุกศาสตร์และในทุกสาขาความรู้ของมนุษย์ดังได้
กล่าวมาแลว้ ข้างต้น ทัง้ ผลจากการศึกษาของปรชั ญา ก็สามารถน�ำไปใชอ้ ้างอิงได้ ในทกุ ศาสตร์และในทกุ สาขา
ความรขู้ องมนษุ ยด์ ว้ ย ดงั นนั้ จงึ กลา่ วไดว้ า่ ปรชั ญา จงึ เปน็ ความรทู้ เ่ี ปน็ หลกั แหง่ ความรู้ และจงึ เปน็ ความรู้
ทเี่ ปน็ หลกั แหง่ ความจรงิ ด้วย ผู้ที่ได้ศึกษาและเข้าใจปรัชญาแล้ว ย่อมสามารถน�ำไปประยุกต์ใช้ได้ในศาสตร์
ท้ังปวง และในทุกเร่ืองรวมท้ังในเรื่องท่ีเกิดข้ึนในชีวิตประจ�ำวันของตนด้วย
       โดยสรุปแล้วปรัชญา คือ การศึกษาที่ว่าด้วยหลักแห่งความรู้และหลักแห่งความจริงที่เป็นแก่นแท้
ของสรรพส่ิงที่มีอยู่ในโลกและจักรวาลอย่างมีระบบและมีระเบียบแบบแผน
   11   12   13   14   15   16   17   18   19   20   21