Page 20 - หลักการและทฤษฎีการศึกษาเกี่ยวกับวิชาชีพครู
P. 20

1-10 หลักการและทฤษฎีการศึกษาเก่ียวกับวิชาชีพครู

       2) 	ความหมายในแนวแคบ ถือว่าการศึกษาเป็นการถ่ายทอดวัฒนธรรม ความรู้ และค่านิยมจาก
คนรุ่นหนึ่งไปสู่คนอีกรุ่นหน่ึง โดยผ่านสถาบันทางสังคมที่มีหน้าท่ีจัดการศึกษา เช่น โรงเรียน ความหมาย
ตามแนวแคบนี้เป็นความหมายท่ีเราเข้าใจกันโดยทั่วไป

       จากความหมายดังกล่าว การศึกษามีลักษณะส�ำคัญ คือ เป็นการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของบุคคล
ให้เป็นไปในแนวทางที่ปรารถนา มีการก�ำหนดจุดมุ่งหมายซึ่งเป็นส่ิงมีคุณค่าสูงสุดไว้โดยท�ำอย่างเป็นระบบ
มีกระบวนการอันเหมาะสมและผ่านสถาบันทางสังคมท่ีได้รับมอบหมายให้ท�ำหน้าที่ด้านการศึกษา (วิจิตร
ศรีสอ้าน, 2543: 232-233)

       พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และท่ีแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับท่ี 2) พ.ศ. 2545 มาตรา
4 ได้ให้ความหมายของการศึกษา ไว้ดังนี้

       “การศึกษา หมายความว่า กระบวนการเรียนรู้เพ่ือความเจริญงอกงามของบุคคลและสังคมโดยการ
ถ่ายทอดความรู้ การฝึก การอบรม การสืบสานวัฒนธรรม การสร้างสรรค์จรรโลงความก้าวหน้าทางวิชาการ
การสร้างองค์ความรู้อันเกิดจากการจัดสภาพแวดล้อม สังคม การเรียนรู้ และปัจจัยเกื้อหนุนให้บุคคล
เรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต”

       ดังนั้น ความหมายของการศึกษา ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ จึงเป็นความหมายที่
ครอบคลุมทั้งความหมายแนวแคบและความหมายแนวกว้าง

4. 	ความสำ� คัญของการศึกษา

       จากความหมายของการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 จะเห็นได้ว่า ได้
ครอบคลุมความส�ำคัญของการศึกษา คือ เพ่ือความเจริญงอกงามของบุคคลและสังคม ดังน้ัน การศึกษาจึง
มีความส�ำคัญต่อการพัฒนาบุคคลและการพัฒนาสังคม รวมท้ังส่งผลต่อการพัฒนาประเทศชาติโดย
ส่วนรวม

       4.1 	ความส�ำคัญต่อบุคคล การศึกษามีความส�ำคัญต่อการพัฒนาบุคคล เป็นท่ียอมรับกันท่ัวไปว่า
การศึกษาเป็นส่วนหน่ึงของชีวิต และบุคคลต้องเรียนรู้ตลอดชีวิตเพ่ือการด�ำเนินชีวิตได้อย่างปกติสุข
พระธรรมปิฎก (2542: 17) ได้กล่าวถึงความส�ำคัญของการศึกษาไว้ว่า

       “การศึกษานั้น เป็นทั้งตัวการพัฒนาและเป็นเครื่องมือส�ำหรับพัฒนา คือ เป็นการพัฒนาตัวบุคคล
ขึ้นไป โดยพัฒนาตัวคนทั้งคนหรือชีวิตท้ังชีวิต ตัวการพัฒนาน้ันคือการศึกษา เมื่อผู้เรียนมีการศึกษาอย่างน้ี
แล้ว ก็จะเอาคุณสมบัติที่ตัวมีซึ่งเกิดจากการศึกษาน้ีไปเป็นเคร่ืองมือในการด�ำเนินชีวิตและสร้างสรรค์ส่ิง
ต่าง ๆ การศึกษาก็เลยกลายเป็นเคร่ืองมือของการพัฒนา”

       จากข้อความดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า การศึกษาช่วยพัฒนาคน เพื่อการด�ำรงชีวิตและสร้างสรรค์สิ่ง
ต่าง ๆ การศึกษาช่วยตอบสนองความต้องการจ�ำเป็นด้านต่าง ๆ ของมนุษย์ ให้คิดเป็น ท�ำเป็น เรียนรู้ที่จะ
ป้องกันและแก้ไขปัญหาของชีวิต รวมท้ังแสวงหาแนวทางในการด�ำเนินชีวิตท่ีสงบสุข

       4.2 	ความส�ำคญั ต่อสังคม นอกจากจะมีความส�ำคัญต่อการพัฒนาบุคคลแล้ว การศึกษาของแต่ละ
บุคคลยังมีประโยชน์ต่อสังคมด้วย ทั้งน้ี ผู้ท่ีเกี่ยวข้องกับการให้การศึกษาจะต้องหาแนวทางพัฒนาคนไปใน
ทางท่ีถูกต้อง เพ่ือช่วยพัฒนาสังคมให้สงบสุข ดังท่ีพระธรรมปิฎก (2542: 21) ได้กล่าวว่า
   15   16   17   18   19   20   21   22   23   24   25