Page 21 - หลักการและทฤษฎีการศึกษาเกี่ยวกับวิชาชีพครู
P. 21

ปรัชญา ทฤษฎีและแนวคิดทางการศึกษา 1-11

       “ถ้าเรามีการพัฒนามนุษย์อย่างถูกต้อง มนุษย์ก็จะมีความโน้มเอียงไปในการที่จะก้าวจากตัวเองไป
สู่การอยู่ด้วยดีในหมู่ของตน แล้วก้าวจากกลุ่มหรือหมู่ของตนไปสู่การอยู่กันด้วยดีกับเพ่ือนร่วมโลกท้ังหมด”

       ข้อความดังกล่าวช้ีให้เห็นความส�ำคัญของการศึกษาท่ีมีต่อการพัฒนาคนและการพัฒนาสังคมท้ังใน
กลุ่มเล็กและในสังคมโลก โดยมีเงื่อนไขว่า การพัฒนามนุษย์ต้องเป็นไป “อย่างถูกต้อง” การให้การศึกษาจึง
มิใช่เพียงแต่ให้ความรู้เท่านั้น หากต้องอยู่บนรากฐานแห่งคุณธรรมด้วย

       ความส�ำคัญของการศึกษาทั้งต่อบุคคลและสังคมนั้นมีความเก่ียวข้องสัมพันธ์กัน และไม่ควรแยก
จากกัน พระธรรมปิฎก (2542: 44) ได้สรุปหน้าที่ของการศึกษา ดังนี้

            1) 	ฝึกฝนพัฒนาคนให้รู้จักปฏิบัติต่อชีวิต หรือด�ำเนินชีวิตอย่างถูกต้อง มีความสุข
            2) 	ฝึกฝนให้คนรู้จักแก้ปัญหาชีวิตและหาทางออกจากความทุกข์ได้ด้วยดี โดยไม่ก่อให้เกิด
โทษ พิษภัยแก่ผู้อ่ืนและแก่สังคม
            3) 	พัฒนาคนให้รู้จักแสวงหาและเสพความสุขทางวัตถุอย่างถูกต้อง ปราศจากโทษ พิษภัย
ไร้การเบียดเบียน และพร้อมท่ีจะใช้สิ่งอ�ำนวยความสุขน้ัน ๆ ในทางที่เก้ือกูลแก่ผู้อื่นและแก่สังคม
            4) 	พัฒนาคนให้พร้อมและมีความสามารถบางอย่างในการเอ้ืออ�ำนวยความสุขแก่ผู้อ่ืน และ
แผ่ขยายความสุขออกไปในสังคม
       แนวคิดดังกล่าวเป็นแนวคิดท่ีเน้นท้ังการพัฒนาคนให้มีความสุขส่วนบุคคลและความสุขท่ีเผื่อแผ่
ไปยังผ้อู ่ืนและสงั คม การปฏริ ูปการเรยี นรทู้ ี่เนน้ ให้เป็นคนดี คนเกง่ และมีความสขุ นบั วา่ สอดคลอ้ งกบั หน้าท่ี
ของการศึกษาดังกล่าว การศึกษาสร้างคนให้มีความรู้ความสามารถเพื่อประโยชน์ต่อตนเองและสังคม หากผู้
ได้รับการศึกษามุ่งแต่ประโยชน์ส่วนตน เห็นแก่ตัวและเอาตัวรอดแต่ฝ่ายเดียว ก็จะเป็นการใช้ความรู้ในทาง
ทผี่ ดิ ในสงั คมแหง่ ปญั ญา หากผมู้ คี วามรมู้ งุ่ ใชป้ ญั ญาเพอื่ เอาเปรยี บผอู้ น่ื หรอื เอาเปรยี บประเทศทดี่ อ้ ยพฒั นา
ก็นับว่าใช้การศึกษาไปในทางท่ีไม่ถูกต้อง
       4.3 	ความส�ำคัญต่อประเทศชาติ การศึกษาเป็นรากฐานส�ำคัญของการพัฒนาประเทศ จะเห็นได้ว่า
ประเทศที่พลเมืองส่วนใหญ่มีการศึกษาสูงมักมีความเจริญก้าวหน้า มีความม่ันคงและเศรษฐกิจดี การศึกษา
มีความส�ำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ พัฒนาก�ำลังคนของชาติ สร้างคนให้เป็นพลเมืองดี ปลูก
ฝังความเข้าใจระบอบการปกครองของประเทศ ถ่ายทอดวัฒนธรรมของคนในชาติให้ด�ำรงอยู่อย่างต่อเนื่อง
รวมทั้งสร้างความเข้าใจอันดีต่อนานาชาติ ซึ่งจะช่วยน�ำสันติสุขมาสู่สังคมโลก
       จากความส�ำคัญของการศึกษาดังกล่าว ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง จึงต้องแสวงหาแนวทางในการจัดการ
ศึกษาเพื่อพัฒนาบุคคลซ่ึงส่งผลต่อสังคมและประเทศชาติ โดยค�ำนึงถึงการให้ความรู้ท่ีอยู่บนรากฐานของ
คุณธรรม เพื่อสร้างสังคมท่ีสงบสุขแทนท่ีสังคมที่แก่งแย่งแข่งดีหรือมุ่งแต่ความสุขส่วนตน

5. 	ปรชั ญาการศึกษา

       การจัดการศึกษาต้องมีการด�ำเนินการหลายด้าน เช่น การสร้างหลักสูตร การก�ำหนดเนื้อหา การ
จัดการเรียนการสอน และการบริหารจัดการ เป็นต้น การด�ำเนินการดังกล่าวต้องอาศัยความรู้และความเชื่อ
พื้นฐานในการจัดการศึกษา จะต้องมีเหตุผลว่าจะสอนสิ่งเหล่าน้ีเพื่ออะไร เป้าหมายของการจัดการศึกษาคือ
   16   17   18   19   20   21   22   23   24   25   26